Tuesday, September 29, 2009

พรบ. คอมพิวเตอร์ ๒๕๕๐ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ขององค์การมหาชน

พรบ คอมพิวเตอร์ ฉบับ ๒๕๕๐ ที่มีบทลงโทษไว้เพียง ปรับและจำคุก นั้น ดูเหมือนว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ ของ สทน. เกือบจะทั้งหมด ไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรเลย

ความจริงแล้ว กฏหมายทุกฉบับ เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน ต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตาม ก็ต้องหาคำอธิบาย และ/หรือ คำตอบมาให้ได้ว่า เพราะเหตุใดจึงละเลยหน้าที่

ส่วนหนึ่งมักคิดว่า
“คงไม่เป็นไรมั้ง”
ซึ่งความคิดนี้เองแหละ ที่ทำให้ในที่สุดแล้ว กลับกลายเป็นว่า เจ้าหน้าที่ฯเสียเองที่ ละเลยหน้าที่ หรือ ปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ผู้อื่นเสียหายไป

อย่างกับว่า เมื่อไวไวนี้เอง ที่ สทน. ได้เปิดให้บริการ e-สารบัญ หรือพอจะเรียกย่อย่อว่า อีสา ก็คงไม่ผิดนัก ในการนี้ หน่วยคอมพ์ฯ ก็เปิดอบรมให้แก่ผู้ใช้บริการของ อีสา ที่ว่ามานี้ ว่าต้อง ล้อคอิน เข้าใช้งาน โดยมี ไอดี อย่างนี้ พั้สเวิด อย่างนี้ๆๆ โดยบอกให้ทราบว่า ไอดี กับ พั้สเวิด มีรูปแบบทั่วไป อย่างนี้ๆ แม้ไม่ได้บอกให้จับเค้าได้ แต่ผู้เข้ารับการอบรม ส่วนใหญ่ ก็ฉลาดพอจะจับเค้าได้แหละน่า ขนาดว่า เห็นแมวตะปบใบไม้ ยังเอาไปตีเป็นเลขท้าย ๒ ตัวถูกรางวัลมากินส้มตำอิ่มกันหลายคน สำมะหาอะไรกัน กับเรื่องเพียงแค่นี้ จะเดาไม่ได้

ก็เดาได้ถูกต้องเสียด้วยซี

ส่วน มะไฟ นั้นไม่ได้เข้าอบรมด้วย เขาคงเห็นว่า ไม่น่าจะเกี่ยวข้องมั้ง หรืออะไรก็ไม่อยากจะเดา เพราะไม่ชอบเล่นเลขท้ายเหมือนคนอื่นเขาด้วย

มันเป็นธรรมชาติของคน ชอบอวดรู้ ก็ในคราวที่ ที่ปรึกษาฯจัดทำ แผนแม่บทไอที มาสำรวจความต้องการ ความคิดเห็น เมื่อที่ปรึกษาถามถึงเรื่องของ อีสา มะไฟ ก็สงสัย เพราะไม่ได้เข้าอบรมด้วย เลยถามว่า
“มีมาด้วยวัตถุประสงค์อะไร อีสา เนี่ย”
เจ้าหน้าที่ฯ ท่านหนึ่งก็บรรยายสรุปซะ แถมยังบอกเพิ่มเติมให้รู้อีกว่า มะไฟ จะล้อคอินเข้าไปใช้งานอย่างไร ด้วยพั้สเวิด อะไร บอกกัน ต่อหน้า ที่ปรึกษาฯแบบว่า เขาเรียนมาดี ทำนองนี้รึเปล่า หรือ จะเพราะอยากอวดรู้ ก็สุดจะเดา

มะไฟ ได้แต่นิ่ง เฉยเสีย ข้างฝ่ายท่านนั้น เมื่อเห็นอีกฝ่ายนิ่ง ก็นึกว่า ไม่เข้าใจ ก็อธิบายซ้ำ พร้อมกับบอกวิธีคิดออกมาด้วย เท่านั้นยังไม่พอ ถึงกับเขียน login id & password ลงบนกระดาษ ยื่นให้ด้วย

system administrator ถึงกับต้องเอ่ยปากว่ากล่าวตักเตือนไป แม้จะรู้ว่า เจ้าหน้าที่ท่านนั้น มิได้มีเจตนาละเมิดกฏหมายก็ตามที และต่อให้เดาไม่ถูก ก็ต้องตักเตือนไว้ก่อนหละ นี่มิเพียงไม่ผิด กลับถูกเป๋งเลย ทั้ง login id & password

เรื่องนี้ อย่าได้เห็นเป็นขำไป เพราะถึงกับเสียเวลามาชี้แจงเรื่อง พรบ. คอมพิวเตอร์ ปี ๕๐ ให้ฟังในคราวสัมมนาการจัดทำแผนแม่บทไอที เมื่อไวไวนี้เองด้วย นับว่าเสียหายน่ะ

การ forward e-mail ที่ไม่รู้ที่มาที่ไปก็ดี ที่ไม่รู้ว่าจริงเท็จอย่างไรก็ดี ผิดทั้งนั้น

และโทษผิด ก็มีเพียงแค่ ปรับ กับ จำคุก และหากเกี่ยวพันกับกฏหมายอื่น ก็คงไปพิจารณาเพิ่มเติมอีก

คงไหลกระทงแน่


เรื่องนี้ เป็นอุทาหรณ์อย่างดีว่า อย่าได้ละเลยว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยแล้วไม่ระมัดระวังนั้น ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ดูแต่ มะกะโท เป็นตัวอย่างนั้นเถิด หรือแม้กระทั่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านยังตรัสไว้ให้ได้รู้ว่า อย่าเห็นว่าเป็นอกุศลเพียงน้อยนิด แล้วไม่สำรวม ... ประมาณนี้ มะไฟ ไม่สามารถยกคัมภีร์ขึ้นมาอ้างได้ เป็นแต่ทราบว่ามีเรื่องเช่นนี้อยู่ ก็บอกได้แค่นี้


มะไฟ ขออภัย หากจะกระทบกระเทือนกันบ้าง มิได้มีเจตนาจะยกตนข่มท่านแต่ประการใด เพียงแต่ไม่อยากเห็นคนทำผิดตำตา เท่านั้นเอง และขอยุติ เรื่องนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้

Sunday, September 27, 2009

FreeBSD: basic ---> hostname

FreeBSD ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่อง กำหนดว่า ต้องมี ชื่อ คือ ชื่อเครื่อง หรือ hostname ซึ่งนอกจากชื่อเครื่องแล้ว ยังต้องกำหนดเพิ่มต่อไปอีกว่า ต้องมี ชื่อโดเมน หรือ อยู่ในโดเมนใด โดเมนหนึ่ง กล่าวคิอ โดยรวมแล้ว ต้องมีทั้ง ชื่อเครื่อง ชื่อโดเมน สำหรับ ๑ เครื่อง ที่ใช้งาน FreeBSD

ท่านไม่จำเป็นต้องเก่ง ก็กำหนดได้ในคราวเดียวกันกับการกำหนดหมายเลขไอพี ให้กับเครื่องของท่าน ในคราวเดียวกันกับที่กำหนดว่า name server ที่ท่านใช้งานนั้น มีหมายเลขไอพี อะไร ในคราวเดียวกันกับ ที่กำหนดว่า เครื่องของท่านนั้น มี gateway เป็นหมายเลขไอพีใด ทำได้ง่ายๆครับ

# sysinstall tcpMenuSelect


ซึ่งอันนี้เอง ที่ได้เคยบอกไว้ว่า ด้วย sysinstall จะทำให้ท่านสามารถเป็น system administrators ชั้นยอดได้ในพริบตา

ประเด็นที่ถึงกับต้องมาเขียน ไม่ได้อยู่ที่ sysinstall แต่ทว่า กลับอยู่ที่ ส่วนมาก ไม่ได้ตระหนักเลย ว่า ชื่อเครื่อง หมายเลขไอพี ฯลฯ ที่กล่าวมาแต่ต้นนั้น คือพื้นฐานของการใช้งาน ของ FreeBSD ดังนี้แล้ว เมื่อเกิดคำถาม อันสืบเนื่องจากเรื่องพื้นฐาน จึงยากที่จะหาคำตอบได้ หรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นว่า บอกคำตอบไปแล้ว กลับไม่เข้าใจ (นอกเหนือไปจากความจริงที่ว่า ปกติก็พูดกันไม่ค่อยรู้เรื่องอยู่แล้ว แถมมาพูดเรื่องยากเข้าอีก เลยไปกันใหญ่)

อย่างเรื่องของ sendmail นั้น ก็บอกหลายหนว่า ให้ไปอ่านแฟ้ม README ในเครื่อง เพราะเขาบอกไว้แทบหมด ก็ให้แปลกที่ ไม่ค่อยไปอ่านกัน เน้อะ และอีกอย่าง กับที่เราใช้ e-mail เป็น user@hostname.domainname ก็ไม่เห็นว่า จะเสียหายอะไร ตรงไหน กลับพยายามจะใช้ในรูปแบบ user@domainname ซึ่งก็อีกแหละ ไม่เห็นว่า จะดีไปกว่าแบบแรก ตรงไหน และก็ ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย สำหรับ การจะเปลี่ยน ให้มาเป็นแบบหลัง และอีกเช่นกัน มีบอกไว้แล้ว ในแฟ้มดังกล่าว
Happy FreeBSD—ing

Friday, September 25, 2009

FreeBSD: graphics mode

โดยทั่วไป FreeBSD จะทำงานใน text mode และ มะขาม ก็เริ่มใช้งานเขา ใน mode นี้ —เขียนโปรแกรม— ในช่วงนั้น graphic window manager ซึ่งเป็น client ของ X servers ก็มีเพียง twm และ graphic servers หรือ X servers ก็มีเพียง XFree86 ประมาณนั้น

twm เล็ก ดูจืดสนิท แต่ประสิทธิภาพสูงน่ะ คนใช้ ต้องจัดทุกอย่างเอาเอง มันท้าทายดีเหมือนกัน

ต่อมา มะขาม ก็ใช้อันที่เขาทำมาแล้ว —ไม่อยากเปลืองเรี่ยวแรง— blackbox นี่ก็ไวดีดีขึ้นมามากเลย แม้จะมีของที่ดีมากกว่า มะขาม ก็ยังรู้สึกว่า FreeBSD นั้นเหมาะกับงาน servers & programming มากกว่า ถึงกับเคยล้อเพื่อนที่เอา FreeBSD ไปทำ desktop ว่า

นี่ จะนั่งรถถังไปจ่ายตลาดรึไง

ก็เพราะความที่เขาคุยไว้ว่า FreeBSD นั้น rock stable อะไรปานนั้น ก็เปรียบเอากับ รถถัง แต่การใช้งานในลักษณะ desktop ที่เอาแต่ใช้ mouse กดเอาๆ นั้น เปรียบเอากับการไปซื้อสินค้าในตลาดสด

แม้จะแซวเขาอย่างนั้น แต่ก็ยอมหละว่า เพื่อนเขา เยี่ยม ติดตาม นำเสนอ ปรับแต่ง จนน่าใช้ และใช้ได้ดีมากมาก เขาละ อาข่าอาปี ก็ชื่อที่เขาใช้ในแวดวงไซเบอร์ เหมือนกับ มะไฟ ที่ใช้ชื่อ มะขาม นี่แหละ

อนิจฺจํ มันไม่เที่ยง ฉันได ก็ ฉันนั้น ปัจจุบัน X servers ที่ใช้ เป็น xorg และที่สุดมาเลือกเอา gnome2 เป็น desktop ประจำงานไป

ที่จำนำเสนอต่อไปนี้ ก็เป็นเรื่องการลง x11 จาก xorg และ gnome2 น่ะ ซึ่งบอกกันตรงนี้เลยว่า ไปลงจากพอร์ท x11/xorg & x11/gnome2 เอาเอง สั้นๆ แต่ส่วนรายละเอียดนั้น ขอแปลจาก handbook มาให้อ่านดีกว่า เน้าะ

อย่าลืม ลง x11/xorg ก่อน และ ปรับแต่งให้เรียบร้อย แล้วถึงไปลง x11/gnome2 ต่อ สงสัยอะไร อ่าน handbook หากไม่เข้าใจ ถึงค่อยมาถาม
Happy X Window — ing

Wednesday, September 23, 2009

ไกลปืนเที่ยง: ทบทวนแผน(๑)


ก็ยังคงห่างจากเป้าหมายอยู่พอสมควร
มือใหม่หัดวางแผนก็งี้แหละน่อ เน้าะ

แต่ เอาเป็นว่า จำเพาะส่วนของการติดตั้งตัว FreeBSD เองนั้น ขอยุติไว้ตรงนี้ก่อน
ส่วนที่เหลือ คือ Desktop,

GRASS, internet servers & servers ต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องของ ports ล้วนๆเลย

ก็ไม่ถึงกับรีบเร่ง แต่จะไม่ช้าจนอืดอาด แน่นอน

Sunday, September 20, 2009

FreeBSD : ports ---> llnlxdir

เคยเขียนไปหนหนึ่งแล้ว ในเรื่องของ filezilla
ไวไวนี้เอง มีเพื่อนท่านหนึงมาถาม เรื่องการ backup แต่ไหงกลายเป็นเรื่อง ftp ไปได้ก็ไม่รู้

อืมมม ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อ จนกว่าพี่ท่านจะอนุญาตน่ะครับ
ก็ท่าน Kernels เองแหละ ใช้ใครอื่นที่ไหน
เจ้าตัว อนุญาตแล้ว


ความจริง filezilla ใน FreeBSD ก็มี แต่ไม่อยากแนะให้พี่เขาใช้ กลับไปแนะ llnlxdir ให้
อยู่ใน ports ครับ หมวด ftp ชื่อก็ชัดๆ llnlxdir ครับ ติดตั้งแล้วก็เรียกใช้งานด้วย

% xdir

ก็อาศัยตัวนี้แหละ ไปดูดเอา RC1 มาทั้งคืนน่ะ ลองดูน่ะ วิธีใช้ก็ง่าย
ขอเพิ่มเติมเรื่องใช้งานสักเล็กน้อย ด้วยรูปภาพสั้นๆน่ะ

เมื่อท่านเรียกมาใช้งานแล้ว ท่านก็จะพบกับ กล่อง ๔ เหลี่ยม ที่มีเมนูให้ใช้งาน และกำลัง get focus อยู่ในขณะนี้ โดยด้านบนสุด ที่เป็นแถบ มีตัวหนังสือนั้น บอกว่า ขณะนี้ ต่ออยู่กับ Local และบรรทัดต่อจากนั้น เป็น แถบเมนู ที่มีคำว่า File Connect .... Goto อยู่นั่นแหละ

ในกรณีที่ท่าน ต้องการต่อไปยัง ftp.freebsd.org โดยต่อแบบ anonymous นั้น ก็เพียงแค่ click ตรง Connect ก็จะมี dropped down menu ลงมา ให้เลือก Connect to Anonymous
เราก็จะพบกับอีก ๑ กล่อง ๔ เหลี่ยมมาให้เห็น ตรง Host Name นั่นแหละ ให้กรอก ftp.freebsd.org แล้วกด connect เลย

ในกรณีของ มะขาม นั้น เคยต่อไปยัง site นั้นมาแล้ว ชื่อดังกล่าว จึงปรากฏให้เห็นอยู่ด้านบนสุด ก็เพียงเอา หนู ไปกดเบาๆ หนเดียว ชื่อนั้น ก็จะมาโผล่ตรงตำแหน่ง Host ทันที

ท่านจะพบกับอีก ๑ กล่อง ๔ เหลี่ยม ที่แถบตัวหนังสือบนสุด
บอกว่า ftp.freebsd.org (anonymou) / ซึ่ง หมายถึง ชื่อ site, ชนิดของการต่อเชื่อม, และ directory ที่กำลังอยู่ ในขณะนั้น และในพื้นที่ว่างๆ ใหญ่ๆ ที่กิน เนื้อที่ส่วนใหญ่ ของกล่อง จะมีรายละเอียดของแฟ้มต่างๆอยู่ ซึ่งขณะนี้ มีเพียง pub เท่านั้น

ไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงนำ หนู ไปกดเบาๆตรง pub ๒ หน แล้วไล่เรียงลงไปยัง FreeBSD ISO-IMAGES-i386 8.0 ตามลำดับ ที่สุด ก็จะพบกับรายชื่อแฟ้มต่างๆ ที่ต้องการ

อ้อ ถ้าท่านมองไม่เห็น ๒ กล่อง เหมือนในรูปที่แสดง ก็เพียงแต่ขยับกล่องล่าสุดออกมาสักเล็กน้อย ก็จะเห็นเอง ว่ามี ๒ กล่อง

ในกล่องล่าสุด, ปลายทาง, นำหนู ไปกดเบาๆ ที่ชื่อแฟ้มที่ต้องการ ๑ แฟ้ม ๑ หน แล้วลากไปยัง กล่องเดิม Local นั้น เท่านั้นเอง

สนุกดีออก ลองดูซี

อืมมม ตรงเมนู Goto นั้น เอาไว้ใช้ เปลี่ยน directory น่ะ ลองดูเองซีครับ
Happy FTP & Backup — ing

FreeBSD 8.0-RC1

เมื่อวานนี้, ๑๙ กย ๕๒, เข้าไปเอา 8.0-BETA4 มา แต่เมื่อตื่น กลับพบว่า ในนั้นมี RC1 อยู่ทั้งนั้นเลย ก็จาก ftp://ftp.freebsd.org/ ละครับ ผมเอา .iso images มา

ก็ถ้าท่านใด อยากนำไปลองดู เชิญครับ ที่ ftp://maifa.homeunix.org/pub/8.0R/8.0-RC1-i386-disc1.iso อีกครั้ง ช้า อย่าว่ากัน


กว่าทาง FreeBSD เขาจะประกาศออกมาได้ ก็ทำเอาใจเสียไปเหมือนกัน วันนี้, Tue Sep 22 09:10:39 ICT 2009, ไปดูที่หน้าหลัก เขาเพิ่งแอ่นน้าวสู้—annouce—ครับ

Thursday, September 17, 2009

FreeBSD: Post-installation (cont-02)


2.10.16 FreeBSD Bootup


2.10.16.1 FreeBSD/i386 Bootup


ถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี, ท่านจะพบกับข้อความที่เขียนจนล้นจอ และที่สุด ก็จะมาถึง login prompt. ท่านสามารถดูข้อความเหล่านั้นได้ โดยการกดปุ่ม Scroll-Lock และใช้ PgUp และ PgDn. กดปุ่ม Scroll-Lock ซ้ำอีกหน จะกลับมายัง prompt ตามเดิม.

ข้อความทั้งหมด อาจจะไม่แสดง (เป็นข้อจำกัดของบัฟเฟอร์) แต่สามารถดูจากคำสั่งได้ในภายหลัง หลังจาก log in แล้ว โดยการพิมพ์ dmesg ที่ prompt.

Login ด้วย username/password ที่ท่านตั้งไว้ ระหว่างการติดตั้ง (rpratt, ในตัวอย่างนี้). ให้หลีกเลี่ยงที่จะ log in เป็น root เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็น.


ตัวอย่าง ข้อความระหว่างบู้ตเครื่อง (ไม่แสดงรายละเอียดของ version ):



Copyright (c) 1992-2002 The FreeBSD Project.
Copyright (c) 1979, 1980, 1983, 1986, 1988, 1989, 1991, 1992, 1993, 1994
The Regents of the University of California. All rights reserved.

Timecounter "i8254" frequency 1193182 Hz
CPU: AMD-K6(tm) 3D processor (300.68-MHz 586-class CPU)
Origin = "AuthenticAMD" Id = 0x580 Stepping = 0
Features=0x8001bf<FPU,VME,DE,PSE,TSC,MSR,MCE,CX8,MMX>
AMD Features=0x80000800<SYSCALL,3DNow!>
real memory = 268435456 (262144K bytes)
config> di sn0
config> di lnc0
config> di le0
config> di ie0
config> di fe0
config> di cs0
config> di bt0
config> di aic0
config> di aha0
config> di adv0
config> q
avail memory = 256311296 (250304K bytes)
Preloaded elf kernel "kernel" at 0xc0491000.
Preloaded userconfig_script "/boot/kernel.conf" at 0xc049109c.
md0: Malloc disk
Using $PIR table, 4 entries at 0xc00fde60
npx0: <math processor> on motherboard
npx0: INT 16 interface
pcib0: <Host to PCI bridge> on motherboard
pci0: <PCI bus> on pcib0
pcib1: <VIA 82C598MVP (Apollo MVP3) PCI-PCI (AGP) bridge> at device 1.0 on pci0
pci1: <PCI bus> on pcib1
pci1: <Matrox MGA G200 AGP graphics accelerator> at 0.0 irq 11
isab0: <VIA 82C586 PCI-ISA bridge> at device 7.0 on pci0
isa0: <ISA bus> on isab0
atapci0: <VIA 82C586 ATA33 controller> port 0xe000-0xe00f at device 7.1 on pci0
ata0: at 0x1f0 irq 14 on atapci0
ata1: at 0x170 irq 15 on atapci0
uhci0: <VIA 83C572 USB controller> port 0xe400-0xe41f irq 10 at device 7.2 on pci0
usb0: <VIA 83C572 USB controller> on uhci0
usb0: USB revision 1.0
uhub0: VIA UHCI root hub, class 9/0, rev 1.00/1.00, addr 1
uhub0: 2 ports with 2 removable, self powered
chip1: <VIA 82C586B ACPI interface> at device 7.3 on pci0
ed0: <NE2000 PCI Ethernet (RealTek 8029)> port 0xe800-0xe81f irq 9 at
device 10.0 on pci0
ed0: address 52:54:05:de:73:1b, type NE2000 (16 bit)
isa0: too many dependant configs (8)
isa0: unexpected small tag 14
fdc0: <NEC 72065B or clone> at port 0x3f0-0x3f5,0x3f7 irq 6 drq 2 on isa0
fdc0: FIFO enabled, 8 bytes threshold
fd0: <1440-KB 3.5" drive> on fdc0 drive 0
atkbdc0: <keyboard controller (i8042)> at port 0x60-0x64 on isa0
atkbd0: <AT Keyboard> flags 0x1 irq 1 on atkbdc0
kbd0 at atkbd0
psm0: <PS/2 Mouse> irq 12 on atkbdc0
psm0: model Generic PS/2 mouse, device ID 0
vga0: <Generic ISA VGA> at port 0x3c0-0x3df iomem 0xa0000-0xbffff on isa0
sc0: <System console> at flags 0x1 on isa0
sc0: VGA <16 virtual consoles, flags=0x300>
sio0 at port 0x3f8-0x3ff irq 4 flags 0x10 on isa0
sio0: type 16550A
sio1 at port 0x2f8-0x2ff irq 3 on isa0
sio1: type 16550A
ppc0: <Parallel port> at port 0x378-0x37f irq 7 on isa0
ppc0: SMC-like chipset (ECP/EPP/PS2/NIBBLE) in COMPATIBLE mode
ppc0: FIFO with 16/16/15 bytes threshold
ppbus0: IEEE1284 device found /NIBBLE
Probing for PnP devices on ppbus0:
plip0: <PLIP network interface> on ppbus0
lpt0: <Printer> on ppbus0
lpt0: Interrupt-driven port
ppi0: <Parallel I/O> on ppbus0
ad0: 8063MB <IBM-DHEA-38451> [16383/16/63] at ata0-master using UDMA33
ad2: 8063MB <IBM-DHEA-38451> [16383/16/63] at ata1-master using UDMA33
acd0: CDROM <DELTA OTC-H101/ST3 F/W by OIPD> at ata0-slave using PIO4
Mounting root from ufs:/dev/ad0s1a
swapon: adding /dev/ad0s1b as swap device
Automatic boot in progress...
/dev/ad0s1a: FILESYSTEM CLEAN; SKIPPING CHECKS
/dev/ad0s1a: clean, 48752 free (552 frags, 6025 blocks, 0.9% fragmentation)
/dev/ad0s1f: FILESYSTEM CLEAN; SKIPPING CHECKS
/dev/ad0s1f: clean, 128997 free (21 frags, 16122 blocks, 0.0% fragmentation)
/dev/ad0s1g: FILESYSTEM CLEAN; SKIPPING CHECKS
/dev/ad0s1g: clean, 3036299 free (43175 frags, 374073 blocks, 1.3% fragmentation)
/dev/ad0s1e: filesystem CLEAN; SKIPPING CHECKS
/dev/ad0s1e: clean, 128193 free (17 frags, 16022 blocks, 0.0% fragmentation)
Doing initial network setup: hostname.
ed0: flags=8843<UP,BROADCAST,RUNNING,SIMPLEX,MULTICAST> mtu 1500
inet 192.168.0.1 netmask 0xffffff00 broadcast 192.168.0.255
inet6 fe80::5054::5ff::fede:731b%ed0 prefixlen 64 tentative scopeid 0x1
ether 52:54:05:de:73:1b
lo0: flags=8049<UP,LOOPBACK,RUNNING,MULTICAST> mtu 16384
inet6 fe80::1%lo0 prefixlen 64 scopeid 0x8
inet6 ::1 prefixlen 128
inet 127.0.0.1 netmask 0xff000000
Additional routing options: IP gateway=YES TCP keepalive=YES
routing daemons:.
additional daemons: syslogd.
Doing additional network setup:.
Starting final network daemons: creating ssh RSA host key
Generating public/private rsa1 key pair.
Your identification has been saved in /etc/ssh/ssh_host_key.
Your public key has been saved in /etc/ssh/ssh_host_key.pub.
The key fingerprint is:
cd:76:89:16:69:0e:d0:6e:f8:66:d0:07:26:3c:7e:2d root@k6-2.example.com
creating ssh DSA host key
Generating public/private dsa key pair.
Your identification has been saved in /etc/ssh/ssh_host_dsa_key.
Your public key has been saved in /etc/ssh/ssh_host_dsa_key.pub.
The key fingerprint is:
f9:a1:a9:47:c4:ad:f9:8d:52:b8:b8:ff:8c:ad:2d:e6 root@k6-2.example.com.
setting ELF ldconfig path: /usr/lib /usr/lib/compat /usr/X11R6/lib
/usr/local/lib
a.out ldconfig path: /usr/lib/aout /usr/lib/compat/aout /usr/X11R6/lib/aout
starting standard daemons: inetd cron sshd usbd sendmail.
Initial rc.i386 initialization:.
rc.i386 configuring syscons: blank_time screensaver moused.
Additional ABI support: linux.
Local package initialization:.
Additional TCP options:.

FreeBSD/i386 (k6-2.example.com) (ttyv0)

login: rpratt
Password:

RSA และ DSA keys ที่สร้างขึ้น อาจจะเสียเวลาไปบ้าง สำหรับเครื่องที่ช้า. สิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นปกติของการบู้ตขึ้นมา ของการติดตั้งใหม่ ในครั้งแรกเท่านั้น. การบู้ตครั้งต่อไปจะเร็วขึ้นมาก.

ถ้าท่านติดตั้ง X server และ Default Desktop ได้เลือกไว้แล้ว , มันสามารถเริ่มได้เลย ด้วยการพิมพ์ startx ที่ prompt.




2.10.17 FreeBSD Shutdown


การปิดการทำงานของ ระบบปฏิบัติการ อย่างถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญมาก. โปรดอย่าเพียงทำแค่ ปิดสวิชต์ไฟฟ้า. เบื้องต้น, ให้เป็น superuser โดยการสั่ง su ที่จอ และใส่ระหัสผ่าน ของ root. ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ใช้งาน อยู่ใน wheel group. ไม่เช่นนั้น, login เป็น root และใช้คำสั่ง shutdown -h now.




The operating system has halted.
Please press any key to reboot.


คราวนี้ก็ปลอดภัย ที่จะปิดสวิชต์ไฟฟ้า ภายหลังที่คำสั่ง shutdown ได้สั่งไปแล้ว และข้อความ“Please press any key to reboot” ปรากฏขึ้น. ถ้าท่านกดปุ่มใดใดแทนที่จะปิดสวิชต์ไฟฟ้า, ระบบก็จะ reboot.


ท่านสามารถใช้ ๓ ปุ่ม Ctrl+Alt+Del นี้ร่วมกันได้ เพื่อ reboot ระบบ, อย่างไรก็ตาม ไม่ขอแนะนำให้กระทำ ในการปฏิบัติงานปกติทั่วไป.


Sunday, September 13, 2009

FreeBSD: Post-installation(cont-01)

2.10.11 Install Packages

Packages เป็นเอกสาร ที่ คอมไพล์ มาเรียบร้อย พร้อมที่จะติดตั้ง เพื่อเรียกใช้งานได้ทันที .

การติดตั้ง ๑ package ได้แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง ว่า จะทำได้อย่างไร. แต่ในครั้งนี้ เราก็สามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้ ถ้าต้องการ. ภายหลังการติดตั้ง sysinstall สามารถใช้ลง packages เพิ่มเติมได้.

                     User Confirmation Requested
The FreeBSD package collection is a collection of hundreds of
ready-to-run applications, from text editors to games to WEB servers
and more. Would you like to browse the collection now?

[ Yes ] No

เลือก [ Yes ] และกดปุ่ม Enter ซึ่งหน้าจอแสดงรายการ pacakage มาให้เลือก ก็จะปรากฏขึ้น:


รูป 2-47. เลือกหมวด (หรือ ประเภท) ของ Package


ในขณะใด ขณะหนึ่ง ท่านสามารถเลือก packages จาก media ที่ท่านติดตั้งเท่านั้น — ซึ่งครั้งนี้ได้แก่ cdrom มะฃาม —.


packages ที่มีทั้งหมด จะแสดงให้เห็น ถ้า All ถูกเลือก หรือ ท่านสามารถเลือก หมวดใด หมวดหนึ่ง มาเป็นกรณีพิเศษ ก็ได้. วางแถบสว่าง หัวข้อที่ท่านเลือก ด้วยลูกศร และกดปุ่ม Enter.

เมนู ก็จะโผล่มาให้เห็น และ แสดง ให้ท่านทราบถึง packages ที่ท่านสามารถเลือกได้:


รูป 2-48. Select Packages



ในนี้ bash shell ได้รับการเลือกให้ลง. เลือกให้มากที่สุด ที่ท่านต้องการ โดยการวางแถบไว้บน package นั้นๆ แล้วกดแป้น Space. รายละเอียดสั้นๆเกี่ยวกับ แต่ละ package จะปรากฏให้เห็นตรงบริเวณมุมล่างซ้ายของจอภาพ

โดยการกดปุ่ม Tab จะกระโดดไปมาระหว่าง package สุดท้ายที่เลือก, [ OK ], และ [ Cancel ].


เมื่อท่านจบการ หมายหัว package เหล่านั้นแล้ว, กด Tab ครั้งหนึ่ง เพื่อกระโดดไปยัง [ OK ] และกดปุ่ม Enter เพื่อกลับไปยัง เมนูของ Package Selection.


ปุ่มลูกศรซ้าย และ ขวา ก็ใช้กระโดดไปมาระหว่าง [ OK ] และ [ Cancel ]. วิธีนี้ สามารถใช้เพื่อเลือก [ OK ] ด้วยเช่นกัน และกดปุ่ม Enter เพื่อ กลับไปยังเมนูของ Package Selection.


รูป 2-49. Install Packages

ใช้ปุ่ม Tab และ ลูกศร เพื่อเลือก [ Install ] และกดปุ่ม Enter. จากนี้ ท่านต้องยืนยันว่า ท่านต้องการลง packages:


รูป 2-50. Confirm Package Installation



เลือก [ OK ] และกดปุ่ม Enter จะทำให้ การติดตั้ง packages เริ่มต้นขึ้น. ข่าวสารการติดตั้งที่กำลังดำเนินไป จะปรากฏให้เห็นไปเรื่อยจนกว่า การติดตั้งจะสิ้นสุด. และ ให้บันทึกข่าวสารต่างๆที่เกิดขึ้น หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นเอาไว้ด้วย.

การกำหนดค่าสุดท้าย ดำเนินไปหลังจาก package ได้รับการติดตั้ลงในเครื่องของท่าน. ถ้าท่านจบโดยการ ไม่เลือกสัก package เลย และประสงค์จะกลับไปที่หน้ากำหนดค่าสุดท้าย, เลือก Install แม้จะไม่ได้เลือกลงอะไรก็ตาม.




2.10.12 Add Users/Groups


ท่านควรเพิ่ม หรือ เติม ผู้ใช้งานอย่างน้อย ๑ ชื่อ ระหว่างการติดตั้ง เพื่อว่า ท่านสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้อง logged in เข้ามาในฐานะ root. ทั้งนี้ เพราะ root partition นั้นมีขนาดน้อย การเรียกใช้โปรแกรม ในฐานะของ root สามารถทำให้เนื้อที่เต็มได้เร็ว. อันตรายที่มากกว่านั้นได้บันทึกไว้ข้างล่างนี้:



User Confirmation Requested Would you like to add any initial user accounts to the system? Adding at least one account for yourself at this stage is suggested since working as the "root" user is dangerous (it is easy to do things which adversely affect the entire system). [ Yes ] No

เลือก [ Yes ] และกดปุ่ม Enter เพื่อดำเนินงานเพิ่มผู้ใช้งานต่อไป.


รูป 2-51. Select User



เลือก User ด้วยลูกศร และกด Enter.


รูป 2-52. รายละเอียดของการ Add User



คำบรรยายต่อไปนี้ จะปราฏกในส่วนล่างของจอภาพ ในขณะที่ หัวข้อ ถูกเลือกด้วยปุ่ม Tab ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้การกรอกรายละเอียดได้ง่ายขึ้น:




Login ID

ชื่อ ที่ต้องการใช้ สำหรับผู้ใช้งานใหม่ (จำเป็นต้องมี).

UID

ค่า ID ที่เป็นตัวเลขของผู้ใช้งานนี้ (ว่างไว้ สำหรับการใส่ให้อัตโนมัติ โดยระบบ).


Group

ชื่อของ login group ของผู้ใช้งานนี้ (ว่างไว้ สำหรับการใส่ให้อัตโนมัติ โดยระบบ).


Password

ระหัสผ่านของผู้ใช้งานนี้ (ใส่ด้วยความระมัดระวัง!).


Full name

ชื่อเต็มของผู้ใช้งาน (คำบอกเล่าเพิ่มเติม).


Member groups

groups ที่ผู้ใช้งานนี้ เป็นสมาชิกอยู่ด้วย (เช่น สามารถเข้าไปดู เข้าไปอ่าน ได้).


Home directory

home directory ของผู้ใช้งานนี้ (ว่างไว้ สำหรับค่าปริยาย).


Login shell

login shell ของผู้ใช้งานนี้ (ว่างไว้สำหรับค่าปริยาย, เช่น /bin/sh).




login shell เปลี่ยนจาก /bin/sh เป็น /usr/local/bin/bash เพื่อใช้ bash
ซึ่งได้ลงไปแล้ว ในตอนลง package นั้น กรุณาอย่าพยายามใช้ shell ที่ไม่มี มิเช่นนั้น ท่านย่อมไม่สามารถ login เข้าใช้งานได้ shell ที่ใช้งาน แพร่หลายมากที่สุดในแวดวงของ BSD คือ C shell ซึ่งดูได้จากที่เห็นเป็น /bin/tcsh


ผู้ใช้งาน ก็ถูกเพิ่มไว้ใน กรุ้ป wheel ด้วย ทั้งนี้ เพื่อว่าจะให้สามารถเป็น superuser ได้ด้วยสิทธิพิเศษของ root.


เมื่อท่านพอใจแล้ว, กด [ OK ] ซึ่งเมนู การจัดการ User and Group จะกลับมาแสดงให้เห็นอีกครั้ง:


รูป 2-53. Exit User and Group Management



Group สามารถเพิ่มในตอนนี้ก็ได้เช่นกัน ถ้ามีความจำเป็นพิเศษขึ้นมา. หรืออีกทางหนึ่ง การเพิ่ม group ย่อมกระทำได้ผ่าน sysinstall ภายหลังที่การติดตั้งได้เสร็จสิ้นไปแล้ว.


เมื่อท่านเสร็จสิ้นการเพิ่มผู้ใช้งานเข้าในระบบ, เลือก Exit ด้วยปุ่มลูกศร และกดปุ่ม Enter เพื่อดำเนินงานการติดตั้งต่อไป.



2.10.13 ใส่ระหัสผ่านให้ root


Message Now you must set the system manager's password. This is the password you'll use to log in as "root". [ OK ] [ Press enter or space ]

กดปุ่ม Enter เพื่อใสค่าระหัสผ่านให้กับ root

ระหัสผ่าน จำเป็นต้องกรอกซ้ำ ๒ หนอย่างถูกต้อง. ก็คงไม่ต้องพูดมาก, ให้ท่านแน่ใจเอาเองว่า ท่านมีวิธีหาระหัสผ่านได้ ในกรณีที่ท่าน ลืม. ขอให้สังเกตุว่า ระหัสผ่าน ที่ท่านกรอกลงไปนั้น จะไม่ปราฏกให้เห็น ไม่มีแม้กระทั่งตัวดอกจันทร์แสดงออกมา.


New password:
Retype new password :

การติดตั้ง จะดำเนินต่อไป ภายหลังที่ระหัสผ่านได้ใส่ลงไปสำเร็จ.



2.10.14 Exiting Install


ถ้าท่านต้องการกำหนดค่าให้กับ additional network services หรือกำหนดค่าอื่นๆ, ท่าน สามารถกระทำได้ จากตรงนี้ หรือ ภายหลังการติดตั้งด้วย sysinstall.



User Confirmation Requested Visit the general configuration menu for a chance to set any last options? Yes [ No ]

เลือก [ No ] ด้วยปุ่มลูกศร และกดปุ่ม Enter เพื่อกลับสู่เมนูหลักการติดตั้ง.


รูป 2-54. Exit Install


เลือก [X Exit Install] ด้วยปุ่มลูกศร และกดปุ่ม Enter. ท่านจะได้รับคำถามเพื่อยืนยันว่า ท่านต้องการออกจากการติดตั้ง:


User Confirmation Requested Are you sure you wish to exit? The system will reboot (be sure to remove any floppies/CDs/DVDs from the drives). [ Yes ] No

เลือก [ Yes ] และนำแผ่น floppy ออก ถ้าบู้ตจากแผ่น floppy. CDROM drive จะถูกล้อคไว้ จนกว่าเครื่องจะเริ่ม reboot. CDROM drive ถึงจะไม่ถูกล้อค ก็ให้เอาแผ่น CDROM ออกในช่วงสั้นๆนั้นโดยเร็ว.

ระบบจะ reboot ดังนั้น ให้สังเกตุดูว่ามี error messages อะไรบ้าง ที่อาจจะเกิดมีขึ้น, กรุณาดู หัวข้อ 2.10.16 สำหรับรายละเอียดมากกว่านี้.

Tue Sep 15 15:14:35 ICT 2009

Friday, September 11, 2009

FreeBSD: Post-installation(cont.)

2.10.6 การกำหนดค่า Network FileSystem

Network File System (NFS) ทำให้แฟ้มระหว่างเครือข่าย สามารถแบ่งปันกันได้. เครื่อง สามารถกำหนดให้เป็น server, client หรือ ทั้งสองกรณี. อ้างถึง หัวข้อ 29.3 (ยังแปลไม่ถึง) สำหรับรายละเอียดมากกว่านี้.

2.10.6.1 NFS Server

                       User Confirmation Requested
Do you want to configure this machine as an NFS server?
Yes [ No ]

ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องมี Network File System server, เลือก [ No ] และกด Enter.

ถ้า [ Yes ] ถูกเลือก, ก็จะมีข้อความโผล่ออกมา บอกว่าแฟ้ม exports ต้องสร้างขึ้น.

                               Message
Operating as an NFS server means that you must first configure an
/etc/exports file to indicate which hosts are allowed certain kinds of
access to your local filesystems.
Press [Enter] now to invoke an editor on /etc/exports
[ OK ]

กด Enter เพื่อทำงานต่อไป. text editor จะถูกเรียกขึ้นมาเพื่อ สร้าง/แก้ไขแฟ้ม exports.

รูป 2-33. แก้ไขแฟ้ม exports

ใช้คำสั่ง เพิ่ม fiesystem ที่จะ export จริงๆในปัจจุบัน หรือ กระทำในภายหลังด้วย editor ที่ท่านชอบ. โปรดสังเกตุ ชื่อแฟ้ม/ตำแหน่ง ที่ด้านล่างสุดของ editor ในจอภาพนั้นด้วย.

กดปุ่ม Esc และ เมนู จะโผล่ออกมา ด้วยค่าปริยายตั้งไว้ที่ a) leave editor. กดปุ่ม Enter เพื่อออก และดำเนินงานต่อ.





2.10.6.2 NFS Client

NFS client ทำให้เครื่องของท่าน สามารถเข้าถึง NFS servers ได้.

  User Confirmation Requested
Do you want to configure this machine as an NFS client?
Yes [ No ]

ด้วยการใช้ปุ่มลูกศร, เลือก [ Yes ] หรือ [ No ] ตามแต่ท่านจะเลือก และกด Enter.

2.10.7 การตั้ง System Console

ในการปรับ system console มีทางเลือกให้ใช้หลายค่า.

                      User Confirmation Requested
Would you like to customize your system console settings?
[ Yes ] No

เพื่อที่จะตรวจ ดู ทบทวน และตั้งค่าทางเลือกเหล่านั้น, เลือก [ Yes ] และกดปุ่ม Enter.

รูป 2-34. การตั้งค่าเลือกต่างๆให้กับ System Console

อ้อบชั่น ที่ใช้บ่อยกันแพร่หลาย คือ screen saver. ใช้ปุ่มลูกศรเพื่อเลือก Saver และกดปุ่ม Enter.



รูป 2-35. Screen Saver Options

เลือก screen saver ที่ต้องการด้วยปุ่มลูกศร และกดปุ่ม Enter. เมนูการติดตั้ง System Console จะปรากฏให้เห็นอีกครั้ง.

ช่วงเวลาที่ตั้งไว้โดยปริยายคือ 300 วินาฑี. เพื่อเปลี่ยนช่วงเวลา, เลือก Saver อีกครั้งหนึ่ง. ที่เมนู Screen Saver Options, เลือก Timeout ด้วยปุ่มลูกศร แล้วกด Enter. จะมีเมนูโผล่มาให้เห็น:

รูป 2-36. Screen Saver Timeout

จากนี้ สามารถเปลี่ยนค่าได้, แล้วเลือก [ OK ]และกดปุ่ม Enter เพื่อกลับไปยัง เมนูการตั้งค่า System Console .




รูป 2-37. System Console Configuration Exit

เลือก Exit และกดปุ่ม Enter เพื่อดำเนินงานในส่วนของการตั้งค่า หลังการติดตั้ง ต่อไป.




2.10.8 การกำหนด Time Zone

การกำหนด time zone สำหรับเครื่องของท่านจะอนุญาตให้แกค่าความแตกต่างของเวลาท้องถิ่นโดยอัตโนมัติ และดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างของเวลา อย่างถูกต้อง.

ตัวอย่างที่แสดงนี้ เป็นเครื่องที่อยู่ใน ภาคตะวันออก(เวลา) ของสหรัฐอเมริกา. การเลือกของท่าน ย่อมแตกต่างไปจากนี้ ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ของที่ตั้งของท่าน.

                      User Confirmation Requested
Would you like to set this machine's time zone now?
[ Yes ] No

เลือก [ Yes ] และกดปุ่ม Enter เพื่อเริ่มตั้ง time zone.

                       User Confirmation Requested
Is this machine's CMOS clock set to UTC? If it is set to local time
or you don't know, please choose NO here!
Yes [ No ]

ดลือก [ Yes ] หรือ [ No ] ก็เป็นไปตามการตั้งค่าเวลา องเครื่องนั้นๆ และกดปุ่ม Enter.

รูป 2-38. เลือก ภูมิภาคของท่าน

ภูมิภาค ที่สอดคล้องกับท้องถิ่นท่านถูกเลือกด้วยปุ่มลูกศร และกดปุ่ม Enter.



รูป 2-39. เลือกประเทศของท่าน

เลือกประเทศด้วยปุ่มลูกศร และกดปุ่ม Enter.




รูป 2-40. เลือก Time Zone ของท่าน

time zone สำหรับท่านจะถูกเลือกมาด้วยปุ่มลูกศร และกดปุ่ม Enter.




                   Confirmation
Does the abbreviation 'EDT' look reasonable?
[ Yes ] No

ให้ยืนยันว่า ตัวย่อของ time zone ของท่าน ถูกต้อง. ถ้ามันถูกต้อง ก็กดปุ่ม Enter เพื่อดำเนินการต่อกับ การตั้งค่าหลังการติดตั้ง.

(ประเทศไทย ใช้ ICT ครับ — มะขาม)

2.10.9 Linux Compatibility

        User Confirmation Requested
Would you like to enable Linux binary compatibility?
[ Yes ] No

เลือก [ Yes ] และกดปุ่ม Enter จะทำให้สามารถใช้งาน Linux software บน FreeBSD ได้. การติดตั้งนี้ จะเพิ่มเติม packages ที่เหมาะสม ที่จำเป็นสำหรับ Linux compatibility.

ถ้า ท่านติดตั้งโดย FTP, เครื่องจำเป็นต้องการการเชื่อมต่อกับ Internet. บางครั้ง site ปลายทาง อาจจะ ไม่มี distribution ครบ แต่ ท่านสามารถติดตั้งในภายหลังได้ ถ้าจำเป็น.

2.10.10 Mouse Settings

ด้วยอ้อบชั่นนี้ ทำให้ท่านสามารถ ตุด แปะ ข้อความตัวหนังสือ จาก console ในโปรแกรมของผู้ใช้ได้ โดยสะดวก ด้วย mouse ชนิด ๓ ปุ่ม. ถ้าท่านใช้ mouse ชนืด ๒ ปุ่ม โปรดอ้างถึง คู่มือ , moused(8), ภายหลังจากการติดตั้ง สำหรับรายละเอียด ของการจำลอง ๓ ปุ่ม. ตัวอย่างนี้ พรรณา การจัดตั้งค่าให้กับ non-USB mouse (เช่น PS/2 หรือ COM port mouse):

                      User Confirmation Requested
Does this system have a PS/2, serial, or bus mouse?

[ Yes ] No

เลือก [ Yes ] สำหรับ PS/2, serial หรือ bus mouse, หรือ [ No ] สำหรับ USB mouse และกดปุ่ม Enter.

รูป 2-41. Select Mouse Protocol Type

ใช้ปุ่มลูกศร เพื่อเลือก Type และกดผุ่ม Enter.




รูป 2-42. Set Mouse Protocol

mouse ที่ใช้ในตัวอย่างนี้ คือ PS/2, ดังนั้น ค่าปริยายจึงตั้งให้เป็น Auto จึงสมควรแล้ว. ถ้าจะเปลี่ยน protocol, ใช้ปุุ่มลูกศร เพื่อเลือกอ้อบชั่นอื่น. ให้แน่ใจว่า [ OK ] ถูกเลือก ถูกวางให้สว่าง แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อออกจากจากเมนูนี้.



รูป 2-43. กำหนด port ให้กับ Mouse

ใช้ปุ่มลูกศรเพื่อเลือก Port และกดปุ่ม Enter.




รูป 2-44. ใส่หมายเลข port ให้กับ Mouse

ระบบนี้ มี PS/2 mouse, ดังนั้นค่าปริยาย PS/2 จึงเหมาะสมแล้ว. เพื่อที่จะเปลี่ยน port, ใช้ปุ่มลูกศร และกด Enter.




รูป 2-45. Enable the Mouse Daemon

ที่สุด, ใช้ลูกศรเพื่อเลือก Enable, และกดปุ่มEnter เพื่อให้ mouse daemon เริ่มทำงงาน และทดสอบ.





รูป 2-46. ทดสอบ Mouse Daemon

ขยับ mouse ไปรอบๆจอ และตรวจดูว่า cursor ที่แสดงนั้น ตอบสนอง อย่างสอดคล้องกับการขยับมือหรือไม่. ถ้ามันขยับตาม, เลือก [ Yes ] และกดปุ่ม Enter. ถ้าไม่, mouse ไม่ได้ถูกกำหนดไว้อย่างถูกต้อง -- เลือก [ No ] และ ทดลองเปลี่ยนการกำหนดอ้อบชั่นอื่น ให้กับ mouse.

เลือก Exit ด้วยลูกศร และกดปุ่ม Enter เพื่อกลับมายังการดำเนินการกับ การกำหนดค่า post-installation ต่อไป.

Sun Sep 13 18:19:00 ICT 2009

Thursday, September 10, 2009

บ่นด่วน บ่นดังดัง

เพิ่งได้ยินกับหู จาก เกตุ เพื่อนร่วมห้องทำงาน ว่า ไปอบรม open office มา
ก็ เกตุ เล่นหายหน้าไป จากจันทร์ยันพุธ ที่ผ่านมานี้, ๗ - ๙ กย, พอเจอหน้ากัน ก็รีบถามแกมถากถาง

“ว่าไง ไปอบรมอะไรกันนักหนา ฮึ”
`ไปอบรม ไอ้นั่นมาพี่'
`อะไรล่ะ ที่ว่า ไอ้นั่น น่ะ'
`คือ ต่อนี้ไป เขาไม่ให้ใช้แล้ว เขาให้ใช้ ไอ้แคนแคน อิมเหมดเหมดๆอะไรนั่นแทน อันที่ใช้ๆอยู่ มันผิด เสียตัง'
`เย้ open office'

แล้วก็ คลิก ออกมาให้ เกตุ ดู

`ใช่ๆๆๆๆ ช่ายเลยพี่ อันนี้แหละ'
`ดี'

พูดได้แค่นี้จิงๆ ให้ ตายชักแหง็กซีเอ้า

นิมิตรหมายที่ดี สำหรับ สทน.

หลายวันก่อน หลังจากที่นั่ง ตบยุง มานานมาก มีคนเข้ามาลากจากเก้าอี้ไปประชุม แผนแม่บด เอ้ย แผนแม่บท ไอซีที หรือ แผนแม่บท ไอที ก็ไม่แน่ใจ แต่ ในนั้น ท้วงอยู่ ๒ เรื่อง อีสารบาญ กับ open source softwares ซึ่ง เจ้าหน้าที่จากภายนอก ที่มารับฟังมาขอความเห็น ก็บอกว่า

“อันนี้ กระทรวงก็ได้ผลักดันอยู่....”
“ไม่ต้องผลักดัน เพราะถ้าผลักดัน มันก็ออกไป ไม่ได้ใช้งาน ให้เอามาใช้ครับ” มะขาม บอก เขาไปอย่างนั้น พร้อมกับบอกชื่อไปว่า ชื่อ มะไฟ พร้อมกับแนบนามบัตรไปด้วย ซึ่ง ในนั้นมี URL ของที่นี่ด้วยแหละ

ป่านนี้ พี่ทั้ง ๓ ท่านคงนั่งอ่านอยู่มั้ง ขอบคุณมากน่ะครับ

Wednesday, September 9, 2009

FreeBSD: Post-installation

2.10 Post-installation

การกำหนดต่าอ้อปชั่นต่างๆ เกิดขึ้นได้ หลัง การติดตั้งที่สำเร็จ. อ้อปชั่น สามารถกำหรดค่า โดยการใส่อ้อปชั่น ก่อนการ บูต ระบบขึ้นมาใหม่ หรือ ภายหลังการติดตั้งด้วยการใช้คำสั่ง sysinstall และเลือก Configure

2.10.1 การตั้งค่าอุปกรณ์เครือข่าย

ถ้าท่านกำหนดค่าให้กับ PPP เพื่อใช้สำหรับการติดตั้งด้วย FTP มาแล้ว หน้าจอต่อไปนี้ จะไม่แสดงออกมา และ สามารถ กำหนดค่าให้ในภายหลังได้ ดังได้กล่าวมาแล้ว.

สำหรับข้อมูลที่ละเอียดของ LAN และ การกำหนดให้ FreeBSD ทำหน้าที่เป็น gateway/router กรุณา ดูที่บท Advanced Networking (ยังแปลไม่ถึง).

                      User Confirmation Requested 
   Would you like to configure any Ethernet or SLIP/PPP network devices?

                             [ Yes ]   No

เพื่อที่จะกำหนดค่าให้กับ อุปกรณ์เครือข่าย เลือก [ Yes ] แล้วกด Enter. ไม่เช่นนั้น เลือก [ No ] เพื่อทำงานต่อ.

รูป 2-28. เลือกอุปกรณ์ Ethernet

เลือก interface ที่จะกำหนดค่าด้วยปุ่มลูกศร แล้วกด Enter.

                      User Confirmation Requested 
       Do you want to try IPv6 configuration of the interface?

                              Yes   [ No ]

ใน LAN จำเพาะนี้ Internet protocol ที่ใช้งานปัจจุบัน (IPv4) นั้น พอเพียงแล้ว และเลือก [ No ] ด้วยปุ่มลูกศร แล้วกด Enter.

ถ้า ท่านต่ออยู่กับเครือข่าย IPv6 ที่มีอยู่ กับผู้ให้บริการ RA, ก็ให้เลือก [ Yes ] และกดปุ่ม Enter. ก็ใช้เวลาหลายวินาฑีอยู่ สำหรับการมองหาผู้ให้บริการ RA.

                             User Confirmation Requested 
        Do you want to try DHCP configuration of the interface?

                              Yes   [ No ]

ถ้า ท่านไม่ต้องการ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) ก็ให้กด [ No ] ด้วยปุ่มลูกศร แล้วกด Enter.

เลือก [ Yes ] ก็จะมีผลให้โปรแกรม dhclient ทำงาน, ซึ่งถ้าสำเร็จ, ข้อมูลของเครือข่าย ก็จะได้รับการเติมค่าให้โดยอัตโนมัติ. กรุณาดู หัวข้อ 29.5 (ยังแปลไม่ถึง) สำหรับรายละเอียดมากกว่านี้.

หน้าจอ การกำหนดค่าให้กับเครือข่ายต่อไปนี้ แสดงการใส่ค่าให้กับ อุปกรณ์ Ethernet สำหรับระบบที่จะทำหน้าที่เป็น gateway สำหรับ LAN.

รูป 2-29. Set Network Configuration for ed0

ใช้ปุ่ม Tab เพื่อเลือกกระโดดไปยัง field ที่ท่านสนใจ แล้วกรอกรายละเอียดลงไป:

Host

ชื่อเครื่อง ที่เป็นชื่อจริง จดทะเบียน และปรากฏใน DNS แล้ว, เช่น k6-2.example.com ในตัวอย่างนี้.

Domain

ชื่อของ domain ที่เครื่องนี้ต่ออยู่, เช่น example.com ในตัวอย่างนี้ใช้.

IPv4 Gateway

หมายเลข IP ของเครื่อง ที่ส่ง packets ไปยังปลายทาง ที่อยู่นอกเครือข่ายนี้. ท่าน ต้องกรอกค่นี้ลงไป ถ้าเครื่องท่านเป็น node ของเครือข่าย. ปล่อยให้ว่าง ถ้า เครื่องนี้ เป็น gateway ไปยัง Internet ของเครือข่ายท่าน. IPv4 Gateway รู้จักกันในอีกชื่อว่า default gateway หรือ default route.

Name server

หมายเลข IP ของ DNS server ภายในของท่าน. ในตัวอย่างจำเพาะนี้ ไม่มี DNS server ภายใน ดังนั้น หมายเลข IP ของผู้ให้บริการ DNS server (208.163.10.2) จึงนำมาใช้งานแทน.

IPv4 address

หมายเลข IP ที่จะใช้ สำหรับ interface นี้คือ 192.168.0.1

Netmask

กลุ่มหมายเลข IP ที่จะใช้สำหรับ เครื่อข่ายภายในวงนี้ คือ 192.168.0.0 - 192.168.0.255 ซึ่งมีค่า netmask เป็น 255.255.255.0.

Extra options to ifconfig

ค่าจำเพาะ สำหรับ interface นี้ ค่าอื่นๆที่ต้องกำหนดให้กับ ifconfig เขาซึึ่ง ไม่มี ในกรณีนี้.

ใช้ปุ่ม Tab เพื่อเลือก [ OK ] เมื่อกรอกค่าเสร็จสิ้นแล้ว และที่สุด กด Enter.

                      User Confirmation Requested 
        Would you like to Bring Up the ed0 interface right now?

                             [ Yes ]   No

ก็เลือก [ Yes ] และกด Enter จะทำให้เครื่องของท่านสามารถใช้งานเครือข่ายได้. อย่างไรก็ดี ก็ไม่ได้สะท้อนความจริงอะไรมากนักระหว่างการติดตั้ง เพราะ เครื่องของท่าน ยังต้องการการ reboot.

2.10.2 การกำหนด Gateway

                       User Confirmation Requested 
       Do you want this machine to function as a network gateway?

                              [ Yes ]    No

ในกรณี ที่เครื่องจะทำหน้าที่เป็น gateway สำหรับเครือข่ายภายใน และ ส่ง packets ระหว่างเครื่องแล้ว ก็ให้เลือก [ Yes ] แล้วก็กด Enter. แต่ถ้าเครื่องเป็นเพียง node ของเครือข่าย ก็ให้เลือก [ No ] และกด Enter เพื่อดำเนินการต่อไป.

2.10.3 การกำหนดให้ทำหน้าที่เป็น Internet Services

                      User Confirmation Requested
Do you want to configure inetd and the network services that it provides?

                               Yes   [ No ]

ถ้าท่านเลือก [ No ], บริการต่างๆ เช่น telnetd จะไมาทำงาน. ซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้งานจากภายนอก จะไม่สามารถ telnet มายังเครื่องนี้ได้. ผู้ใช้ภายใน ยังคงสามารถเข้าถึงเครื่องภายนอกได้ ด้วย telnet.

บริการเหล่านี้ สามารถกำหนดให้ ทำงานได้ ในภายหลังจากการติดตั้งนี้แล้วเสร็จได้ โดยการแก้ไขแฟ้ม /etc/inetd.conf ด้วย editor ยอดนิยมของท่าน. กรุณาดู หัวข้อ 29.2.1 (ยังแปลไม่ถึง) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม.

เลือก [ Yes ] ถ้าท่านต้องการ กำหนดค่าบริการเหล่านี้ ระหว่างการติดตั้ง. ท่านต้องยืนยันเพิ่มเติม และจะมีข้อความ แสดงมาให้เห็น:

                      User Confirmation Requested
The Internet Super Server (inetd) allows a number of simple Internet
services to be enabled, including finger, ftp and telnetd.  Enabling
these services may increase risk of security problems by increasing
the exposure of your system.

With this in mind, do you wish to enable inetd?

                             [ Yes ]   No

เลือก [ Yes ] เพื่อทำงานต่อไป.

                      User Confirmation Requested
inetd(8) relies on its configuration file, /etc/inetd.conf, to determine
which of its Internet services will be available.  The default FreeBSD
inetd.conf(5) leaves all services disabled by default, so they must be
specifically enabled in the configuration file before they will
function, even once inetd(8) is enabled.  Note that services for
IPv6 must be separately enabled from IPv4 services.

Select [Yes] now to invoke an editor on /etc/inetd.conf, or [No] to
use the current settings.

                             [ Yes ]   No

เลือก [ Yes ] จะอนุญาตให้ บริการอื่น กำหนดเพิ่มเติมขึ้นได้ โดยการลบ # ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดนั้นๆ.

รูป 2-30. การแก้ไขแฟ้ม inetd.conf

เมื่อท่านแก้ไขจนเรียบร้อยแล้ว ให้กด Esc จะมีเมนูแสดงมาให้ท่านเห็น เก็บแฟ้ม แล้วออกจาก editor นั้นเสีย.

2.10.4 สามารถทำให้ SSH login


                      User Confirmation Requested
                  Would you like to enable SSH login?
                           Yes        [  No  ]

เลือก [ Yes ] จะทำให้ sshd(8) ทำงานขึ้นมา, ซึ่งมันเป็นโปรแกรม daemon ของ OpenSSH. อันนี้ จะอนุญาตให้ การเชื่อมต่อจากระยะไกล มายังเครื่องของท่านอย่างปลอดภัย เกิดขึ้นได้. สำหรับรายละเอียดเกี่ยกับ OpenSSH ดู หัวข้อ 14.11 (ยังแปลไม่ถึง).

2.10.5 Anonymous FTP

                      User Confirmation Requested
 Do you want to have anonymous FTP access to this machine? 

                              Yes    [ No ]

2.10.5.1 ปฏิเสธ ไม่ติดตั้ง Anonymous FTP

เลือกค่าปริยาย [ No ] และกด Enter จะทำให้ผู้ใช้ที่่มีบัญชีอยู่และมีระหัสผ่าน สามารถใช้ FTP เพื่อเข้าถึงเครื่องได้อยู่เช่นกัน.

2.10.5.2 อนุญาตให้ใช้ Anonymous FTP

ใคร ก็ได้ สามารถเข้าถึงเครื่องของท่าน ถ้า ท่านเลือกทีจะอนุญาตให้มีการเชื่อมต่อโดย anonymous FTP. ควรคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ด้วย ในกรณีที่ ให้ใช้ option นี้. สำหรับรายละเอียดมากว่านี้ ในเรื่องของ ความปลอดภัย โปรดดู บทที่ 14 (ยังแปลไม่ถึง).

เพื่อให้ใช้งาน anonymous FTP, ใช้ปุ่มลูกศรเลือก [ Yes ] และกด Enter. ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ท่านยืนยันซ้ำ จะปรากฏขึ้น:

                       User Confirmation Requested
 Anonymous FTP permits un-authenticated users to connect to the system
 FTP server, if FTP service is enabled.  Anonymous users are
 restricted to a specific subset of the file system, and the default
 configuration provides a drop-box incoming directory to which uploads
 are permitted.  You must separately enable both inetd(8), and enable
 ftpd(8) in inetd.conf(5) for FTP services to be available.  If you
 did not do so earlier, you will have the opportunity to enable inetd(8)
 again later.

 If you want the server to be read-only you should leave the upload
 directory option empty and add the -r command-line option to ftpd(8)
 in inetd.conf(5)

 Do you wish to continue configuring anonymous FTP?

                          [ Yes ]         No

ข่าวสารที่สื่อมานี้ แจ้งให้ท่านทราบว่า งานบริการ FTP นั้นต้องกระตุ้นให้เกิดขึ้นในแฟ้ม /etc/inetd.conf ด้วยถ้าท่านต้องการให้งานบริการ anonymous FTP เกิดขึ้นได้, กรุณาดู ข้อ 2.10.3 เลือก [ Yes ] และกด Enter เพื่อดำเนินการต่อ และหน้าจอต่อไปนี้ จะแสดงให้ท่านเห็น:

รูป 2-31. การกำหนดค่า Anonymous FTP โดยปริยาย

ใช้ปุ่ม Tab เพื่อเลือกข้อมูลที่ต้องการจะกรอก และ กรอกลงไป:

UID

ค่า user ID ที่ท่านต้องการกำหนดให้กับผู้ใช้บริการ anonymous FTP. แฟ้ม ทั้งหมดที่ uploaded จะเป็นเจ้าของโดย ID นี้.

Group

กรุ้บไหน ที่ ท่านต้องการให้ผู้ใช้บริการ anonymous FTP อยู่.

Comment

ตัวหนังสือ หรือ ข้อความที่บอกเกี่ยวกับผู้ใช้บริการนี้ใน /etc/passwd.

FTP Root Directory

ที่ซึ่งแฟ้มต่างๆ ที่จะให้ผู้ใช้บริการ anonymous FTP มาเอาไปไว้ยังเครื่องของเขา เก็บไว้.

Upload Subdirectory

ที่ซึ่งแฟ้มที่ผู้ใช้บริการ anonymous FTP จะ upload ขึ้นไปไว้.

สาระบบแฟ้มที่เป็น root ของ FTP นั้นจะอยู่ที่ /var โดยปริยาย. ถ้า ท่านมีเนื้อที่ ที่นั้นไม่พอสำหรับ FTP ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น, ที่ สาระบบแฟ้ม /usr ก็สามารถใช้ได้ โดยการตั้งให้ สาระบบแฟ้ม ที่เป็น root ของ FTP เป็น /usr/ftp.

เมื่อท่านพอใจกับค่าที่กรอกลงไปแล้ว, กด Enter เพื่อทำงานต่อไป.

                          User Confirmation Requested
          Create a welcome message file for anonymous FTP users?
                              [ Yes ]    No

ถ้าท่านเลือก [ Yes ] และกด Enter, editor ก็จะปรากฏมาให้เห้น เพื่อให้ท่านใส่ข้อความต้อนรับ ทักทาย ฯลฯ.

รูป 2-32. แก้ไข เติมข้อความต้อนรับให้กับ FTP Welcome Message

นี่เป็น text editor ชื่อ ee. ใช้คำสั่งเพื่อ เปลี่ยนข้อความ หรือ เปลี่ยนข้อความ ด้วย editor ที่ท่านขอบเอาในภายหลังได้. โปรดสังเกตุ ชื่อแฟ้ม/ตำแหน่ง ที่ส่วนล่างของ editor ในจอภาพนั้นด้วย.

กด Esc แล้ว เมนู จะโผล่มา โดยมีค่าปริยายเป็น a) ออกจาก editor. กด Enter เพื่อออกไป และดำเนินงานต่อ. กด Enter ซ้ำอีกหน เพื่อ เก็บแฟ้มที่อาจจะเปลี่ยนโดยตัวท่านเอง.

Fri Sep 11 15:46:56, 09:44:33 ICT 2009
ขอยกยอดขึ้นไปข้างบนน่ะครับ

FreeBSD: Commiting to Installation

ตกลงปลงใจที่จะติดตั้ง

ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น จะไม่มีผลอะไรเลยทั้งสิ้น ถ้าท่านเลือกที่จะ ไม่ทำ ในตอนนี้ และก็ ดังที่ได้แจ้งให้ทราบด้วยแต่ต้น เช่นกัน ว่า ตราบเท่าที่ไม่เห็นข้อความต่อไปนี้ มันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

                       User Confirmation Requested
 Last Chance! Are you SURE you want to continue the installation? 

 If you're running this on a disk with data you wish to save then WE
 STRONGLY ENCOURAGE YOU TO MAKE PROPER BACKUPS before proceeding! 

 We can take no responsibility for lost disk contents!  

                             [ Yes ]    No

ดังนั้น เมื่อเห็นแล้ว ก็ให้เลือก [ Yes ] และกดปุ่ม Enter เพื่อรีบๆติดตั้งให้เสร็จกิจไป

จากนั้น ไม่นานเกินรอ จริงจริ้ง ท่านก็จะพบกับข้อความ ที่ท่านสุดแสนจะดีใจ นั่นคือ

                               Message 

Congratulations! You now have FreeBSD installed on your system. 

We will now move on to the final configuration questions. 
For any option you do not wish to configure, simply select No. 

If you wish to re-enter this utility after the system is up, you may
do so by typing: /usr/sbin/sysinstall.  

                                 [ OK ] 

                      [  Press enter or space  ]

ก็กดปุ่ม Enter เพื่อดำเนินการกับกิจกรรม อันหนักหน่วงภายหลังการติดตั้ง ต่อไป.

ก็เป็นอันว่า ในส่วนของการติดตั้ง ได้จบสิ้นลงแล้ว
แต่ งานยังไม่สิ้น ยังมีส่วนของ post-installation อยู่อีก ๑๗ ตอนสั้นๆ แต่รวมๆแล้ว ยาว

FreeBSD: Installation Media

เลือก media ที่จะใช้สำหรับติดตั้ง

ตามที่ได้ตกลงกันไว้แต่ต้นเรื่องแล้วว่า เราจะเลือก cd/dvd เป็น media สำหรับการติดตั้ง ดังนั้น เมื่อเจอรูป 2-27 แล้ว

รูป 2-27 Choose Installation Media

ใช้ปุ่มลูกศร เลือก Install from a FreeBSD CD/DVD และให้แน่ใจว่า [ OK ] นั้นถูกเลือกอยู่ ก็ให้กดปุ่ม Enter เพื่อดำเนินการติดตั้งจริงๆจังๆต่อไป

Wed Sep  9 14:45:00 ICT 2009
ตอนนี้ ขอรวบรัดเอาสั้นๆน่ะ อย่าว่ากัน
 แต่จะแปลแน่นอน เพราะต้องส่งไปให้ FDP

ปรับ template เพื่อความสบายตา

เพื่อนบอกมาว่า scribe template นั้น ทำให้อ่านยาก เลยเปลี่ยนให้ดูสบายตาขึ้นมาบ้าง
แต่จะเอาอะไรแน่นอนกับ แมวริมรั้ว อย่าง มะขาม เน้าะ หากมันจืดไป ก็นั่นแหละ สายตาแมว ล่ะ คิกคิก

ขอบคุณมาก กับคำแนะนำ


มิน่า ถึงขัดสนเงินๆทองๆ เพราะหัวข้อเรื่อง ตกตัว M money ไปนี่เอง
เอาล่ะ คงคล่องตัวมากขึ้นแล้วหละ งวดนี้
Sun Sep 20 19:30:06 ICT 2009

Tuesday, September 8, 2009

FreeBSD: Choosing What to Install

เลือก distribution ที่จะลง

ตามที่ตกลงแต่แรกน่ะว่า ลงทั้งหมด ทุกอย่าง ตามรูป 2-25 พอเห็น ให้เลือก All

รูป 2-25. เลือก Distributions

เมื่อเลือก distribution แล้ว ก็ตามที่บอกแต่ต้นไว้เช่นกันด้วยว่า ต้องลง ports collection มันเป็นเพียงที่ช่วยให้ท่านสามารถ สร้าง applications ต่างๆ และใช้งานกับเครื่องของท่านได้

มีเนื้อที่สักประมาณ 500 MB สำหรับ ports collection ก็พอเพียงแล้ว และเมื่อท่านพบข้อความนี้

                         User Confirmation Requested
 Would you like to install the FreeBSD ports collection? 

 This will give you ready access to over 20,000 ported software packages,
 at a cost of around 417 MB of disk space when "clean" and possibly much
 more than that if a lot of the distribution tarballs are loaded
 (unless you have the extra CDs from a FreeBSD CD/DVD distribution
 available and can mount it on /cdrom, in which case this is far less
 of a problem). 

 The Ports Collection is a very valuable resource and well worth having
 on your /usr partition, so it is advisable to say Yes to this option. 

 For more information on the Ports Collection & the latest ports, visit: 
     http://www.FreeBSD.org/ports  
                              [ Yes ]     No

เลือก [ Yes ] ด้วยปุ่มลูกศร เพื่อติดตั้ง Ports Collection . กดปุ่ม Enter เพื่อทำงานต่อไป.

เมนู เลือก distribution ก็จะกลับมาให้เห็นอีกครั้ง

รูป 2-26 เลือก distribution

เลือก Exit ด้วยปุ่มลูกศร และให้แน่ใจด้วยว่า [ OK ] นั้นถูกเลือกอยู่ ก็ดูเอาง่ายๆว่า ปุ่มนั้นมัน highlighted อยู่นั่นแหละ แล้วก็กดปุ่ม Enter เพื่อทำต่อในลำดับถัดไป

Wed Sep  9 14:20:00 ICT 2009
ตอนนี้ ขอรวบรัดเอาสั้นๆน่ะ อย่าว่ากัน
 แต่จะแปลแน่นอน เพราะต้องส่งไปให้ FDP

Monday, September 7, 2009

ไกลปืนเที่ยง: ทบทวนแผนงาน

จาก จุดเริ่มต้น ที่ได้วงผังงานเอาไว้คร่าวๆ มาทบทวนดูแล้ว ปรากฏว่า เราช้ากว่่าแผนอยู่บ้าง ผลกระทบ ก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากบางเรื่องที่สมควร ลัด ตัดทอน ก็จะต้องทำแล้ว

ตามที่วางไว้ สิ้น สค การติดตั้ง FreeBSD สมควรจบสิ้น แต่ความเปนจริง ยังไปไม่ถึงครึ่ง ขอขยายเวลาสักนี้ด ก็แล้วกัน เป็น negative slag เน้าะ สำหรับส่วนนี้

ports & open source softwares ก็ค่อยมาพิจารณากันอีกเตาหนึง

เรื่องของการ siting นั้น มันน่า exsite มาก อาจจะควันตระลบ ฝุ่นฟุ้งกระจุยกระจาย ไหง่ง้อง กันตรงนั้นก็ว่าได้

น่ะ ก็แค่ทบทวนแผน

Friday, September 4, 2009

FreeBSD: FDP

ก่อนจะลืมไปเลย เพราะเดี๋ยวหน้าหนาวแล้วไป เลย ไม่ได้ มันจะหนาวจนชักแหง็กๆๆๆ อะไรปานนั้น
ผท ดูด documents ของ freebsd จำเพาะที่เป็นภาษาอังกฤษ มาไว้ที่เครื่อง ในฐานะ ผู้ใช้งาน ด้วยคำสั่ง

% cvsup -g -L 2 -h cvsup.sg.freebsd.org -b /home/zulu/db /home/zulu/doc-supfile

จากนั้น ก็ import ไปเก็บไว้ใน repository ส่วนตัว ตามนี้เลยน่ะ

% cd doc
% cvs import doc zulu start

พอ safe แฟ้มแล้วก็

% cd ..
% rm -rf /home/zulu/doc
% cvs checkout doc

เพียงเท่านี้ เราก็ได้ เอกสารที่สามารถยำเอาได้ตามใจ
อ้อ สำหรับ /home/zulu/db นั้น ถ้าเพื่อนๆพี่ๆทุกคน จะ import เข้าไปเก็บไว้ด้วย ก็ทำได้น่ะ แบบเดียวกันเด้ะเลย กับที่ทำกับ doc น่ะ
อ้ออีกอ้อ คือ doc-supfile นั้น มีสั้นๆแค่นี้เอง

*default host=cvsup.de.FreeBSD.org
*default base=/var/db
*default prefix=/home/zulu
*default release=cvs tag=.
*default delete use-rel-suffix

*default compress

doc-all

ส่วนของ base นั้นผมใช้ command option แทนที่เอา
อืมมม ลืมไปเลยอีกแล้ว มัวแต่เพลินอยู่แถวๆโคราช ให้เอา refuse ไว้ที่ /home/zulu/db/sup ด้วยน่ะ ไม่งั้น ทุกภาษาแหละ พวกจะดูดมาให้หมด ซึ่งรายละเอียดของ refuse ก็สั้นๆ ตามนี้น่ะ ไม่งั้นยัยเอียดเคืองแย่

doc/bn_*
doc/da_*
doc/de_*
doc/el_*
doc/es_*
doc/fr_*
doc/hu_*
doc/id_*
doc/it_*
doc/ja_*
doc/mn_*
doc/nl_*
doc/no_*
doc/pl_*
doc/pt_*
doc/ro_*
doc/ru_*
doc/sr_*
doc/tr_*
doc/zh_*
ports/arabic
ports/chinese
ports/french
ports/german
ports/hebrew
ports/hungarian
ports/japanese
ports/korean
ports/polish
ports/portuguese
ports/russian
ports/ukrainian
ports/vietnamese

ประเดี๋ยวถ้ายัยเอียดเคือง เธอจะเอาภาษาอื่นมาให้อีก แย่แน่เลย

Thursday, September 3, 2009

FreeBSD: sysinstall ---> Allocating Disk Space(cont.)

สร้าง partition ด้วย disklabel

มาถึงตอนนี้ ท่านต้องสร้าง partiton ขึ้นมาบ้างหละ ก็ สร้างขึ้นใน slice ที่ เพิ่งจะสร้าง มาแล้ว หยกๆนั่นแหละ และขอให้จำไว้ว่า แต่ละ partition นั้นใช้อักขระ จาก a ถึง h และก็ partition b c d นั้น มี ความหมาย ลึกซึ้ง เชิงประวัติศาสตร์ แอบแฝงอยู่ ที่ท่านควรจะคำนึงไว้ด้วย

บางโปรแกรม สามารถใช้ประโยชน์ จากการจัดระบบ partition โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อท่านวาง partition ข้าม disk มากกว่า ๑ ก้อน อย่างไรก็ตาม สำหรับหรณีนี้ ที่ท่านติดตั้ง FreeBSD เป็นครั้งแรก ท่าน ก็ไม่จำเป็น ต้องครุ่นคิดอะไรมากนัก เพื่อที่จะวาง partition ในครั้งนี้ สิ่งที่สำคัญกว่า ก็คือ ท่านควรติดตั้ง FreeBSD และ เริ่มต้น ใช้งานมันมากกว่า ท่านสามารถ ติดตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง และ เปลี่ยนผัง partition เมื่อ ท่านคุ้นเคย กับ ระบบปฏิบัติการ ดีแล้ว

ผัง partition นี้ แสดงให้เห็น ๔ partition คือ — ๑ swap และ ๓ filesystem

ตาราง ผัง Partition สำหรับ Disk ก้อนแรก

PartitionFilesystemขนาดคำบรรยาย
a/512 MBนี่คือ root filesystem ซึ่งทุกๆ filesystem จะแขวนไว้ที่นี่ ไม่ในที่ใด ก็ที่หนึ่งแหละ ขนาด 512 MB ก็สมเหตุสมผลแล้ว สำหรับ filesystem นี้ เพราะท่าน ไม่ต้อง เก็บข้อมูล อะไรมากนัก โดยปกติ การติดตั้ง FreeBSD จะกินเนื้อที่ ประมาณ 128 MB. เนื้อที่ที่เหลือ จะเอาไว้ สำหรับ ใช้งานทั่วไป และ เผื่อไว้ ถ้าในอนาคต FreeBSD ต้องการเนื้อที่ใน /.
    
bN/A2-3 x RAM

เนื้อที่สำหรับ swap ของระบบ จะถูกเก็บไว้ใน partition b. การกำหนดขนาด ของเนื้อที่นี้ ออกจาก ไม่มีหลักอะไรนัก นอกจาก ประสาทสัมผัส จากการ คร่ำหวอดในงาน. แต่ก็มีกฏทื่อๆอยู่ คือว่า เนื้อที่ของ swap นั้น ควรมีขนาด ประมาณ ๒ หรือ ๓ เท่าของ ปริมาณหน่วยความจำ(RAM) ที่มีอยู่. แต่อย่างน้อย swap ควรเริ่มตั้งแต่ 64 MB, ดังนี้แล้ว ก็ถ้า เครื่องของท่าน มีหน่วยความจำน้อยกว่า 32 MB ก็สามารถกำหนดให้ swap มีขนาด 64 MB.

ในกรณีที่ ท่านมี hard disk มากกว่า ๑ ก้อน ท่านสามารถกำหนดให้แต่ละก้อน มีเนื้อที่ swap ได้. กิจกรรมการ swap ก็จะรวดเร็วขึ้น เพราะ FreeBSD เขาจะใช้ swap ในแต่ละก้อนนั้นแหละ ทำงานในหน้าที่นี้. ในกรณีเช่นนี้ ก็กะขนาดของ swap ที่ต้องการ, 128 MB, แล้วแบ่งเกลี่ย ให้กับ hard disk แต่ละก้อนเท่าๆกัน ซึ่งถ้ามี ๒ ก้อน ก็ได้ก้อนละ 64 MB.

e/var256 MB to 1024 MBสาระบบแฟ้ม /var จะเก็บแฟ้ม ที่แปรเปลี่ยนสม่ำเสมอ เช่น log และ แฟ้มงานบริหารระบบ. แฟ้มเหล่านี้ จะอ่านจาก หรือ เขียนลง ยังงานประจำวันที่ FreeBSD ทำทั่วๆไปนั่นเอง. ซึ่งการนำแฟ้มเหล่านี้ ไปไว้ยัง filesystem อื่น ทำให้ เข้าหาแฟ้มดังกล่าว ได้รวดเร็ว โดย ไม่กระทบกระเทือน ต่อแฟ้มอื่นๆ ในสาระบบแฟ้มอื่น ที่ไม่มี pattern การเข้าถึงเหมือนกัน.
f/usrเนื้อที่ ที่เหลือ (อย่างน้อย 2 GB)แฟ้ม ที่เหลืออื่นๆของท่าน จะถูกนำมาเก็บไว้ที่ /usr และ สาระบบแฟ้มย่อย ของมัน.

คำเตือน: ค่าตัวเลข ที่ยกมานั้น เป็นเพียงตัวอย่าง และเหมาะสำหรับ ผู้ที่มีประสบการณ์เท่านั้น สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ใคร่ขอแนะให้ใช้ การวางผัง partition ที่เรียกว่า Auto Defaults ซึ่งมีให้โดย FreeBSD partition editor.

ข้างบน เป็นข้อความจาก handbook ขนาดของแต่ละ partition นั้น ได้กล่าวไว้ในตอนแรกแล้ว

ถ้าท่านจะต้องติดตั้ง FreeBSD บน disk มากกว่า ๑ ก้อนแล้ว ท่านต้องสร้าง partition บน slice อื่นที่ท่าน กำหนดไว้แล้วนั้น ด้วย. วิธีที่ง่ายที่สุด คือ สร้าง ๒ partiton บน disk แต่ละก้อน คือ ๑ partition สำหรับ swap และอีก ๑ partition สำหรับ filesystem.

ตาราง 2-3 ผัง Partition สำหรับ Disks ก้อนในลำดับถัดๆไป

PartitionFilesystemขนาดคำบรรยาย รายละเอียด
bN/Aดูรายละเอียดใน คำบรรยายก็อย่างที่บอกไว้ ท่านสามารถ แยกเนื้อที่สำหรับ swap ข้าม disk แต่ละก้อน. แม้ว่าจะดูเหมือนว่า partition a จะว่างไม่ได้ใช้, แต่โดยประเพณีนิยม กำหนดไว้ว่า เนื้อที่ของ swap นั้นต้องอยู่บน partition b.
    
e/disknพื้นที่ ที่เหลือของ diskพื้นที่ ที่เหลือของ disk จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ชิ้นเดียว ซึ่งสามารถเอาไว้ใน partition a ก็ได้ แทนที่ที่จะเอามาไว้ที่ partition e. อย่างไรก็ดี ประเพณีนิยม บอกว่า partition a ในแต่ละ slice นั้น สำรองไว้จำเพาะ filesystem ที่จะใช้เป็น root (/)เท่านั้น. ท่าน ไม่จำเป็น ต้อง ดำเนินรอยตาม จารีต นี้ก็ได้ แต่ sysinstall เขาทำตาม ปฏิบัติตาม, ดังนั้น การ ยอมตาม ในกรณีนี้ ทำให้การติดตั้ง ราบรื่น เรียบง่ายขึ้น. ขณะเดียวกัน ท่านสามารถ เลือกที่จะ วาง filesystem นี้ไว้ที่ไหนก็ได้; แต่ตัวอย่างนี้ ใคร่ขอแนะให้วางไว้ที่ สาระบบแฟ้ม /diskn, เมื่อ n แทนหมายเลขของ disk ก้อนนั้นๆ. เอาเถอะ ยังไง ท่านก็สามารถ กำหนดเอาได้ ตามใจชอบ.

เมื่อท่านเลือกผัง partition ได้แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่จะสร้างมัน โดย sysinstall. ซึ่งท่านจะเห็นข้อความนี้:

                                 Message
 Now, you need to create BSD partitions inside of the fdisk
 partition(s) just created. If you have a reasonable amount of disk
 space (200MB or more) and don't have any special requirements, simply
 use the (A)uto command to allocate space automatically. If you have
 more specific needs or just don't care for the layout chosen by
 (A)uto, press F1 for more information on manual layout.

                                [  OK  ]
                          [ Press enter or space ]

ก็ให้กดปุ่ม Enter เพื่อเริ่มต้นเรียก partition editor ของ FreeBSD ที่มีชื่อว่า Disklabel มาทำงาน.

รูป 2-18 แสดงหน้าจอ เมื่อท่านเริ่มเรียก Disklabel มาเป็นครั้งแรก. ซึ่งหน้าจอ จะถูกแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน.

สองสามบรรทัดแรก แสดงให้เห็นถึง ชื่อ ของ disk ที่ท่านกำลังทำงานอยู่ ในขณะนี้ และ slice ที่มี partition ที่ท่านกำลังสร้าง (ซึ่ง Disklabel เรียกมันว่า Partition nameมากกว่า ที่จะเรียกว่า ชื่อของ slice). หน้าจอภาพนี้ ก็แสดง เนื้อที่ว่าง ภายใน slice กล่าวคือ เนื้อที่ ที่จัดแยกไว้ต่างหาก แต่ยังไม่ได้กำหนดว่า เป็นส่วนของ partition ใด.

ตรงส่วนกลางของ หน้าจอภาพ แสดงถึง partition ที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว, ชื่อของ filesystem ที่แต่ละ partition มีอยู่, ขนาดของมัน และ อ้อฝชั่น อื่นๆบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง filesystem.

ส่วนล่างสุด ซึ่งเป็นส่วนที่ ๓ นั้น แสดงให้ทราบถึง ปุ่มต่างๆ ที่สามารถใช้ร่วมกับ Disklabel ในงานนี้ได้.

รูป 2-18. Sysinstall Disklabel Editor

Disklabel สามารถสร้าง partition ให้กับท่าน พร้อมกันนั้น ก็กำหนดขนาด ให้ด้วย โดยอัตโมัติ. ขนาดที่กำหนดมาให้นั้น คำนวณโดย algorithm ภายใน ในการหาขนาดของ partition ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ ขนาดของ disk. ก็ลองดู ตอนนี้เลยก็ได้นี่ โดยการกัดปุ่มตัว A. ท่านจะเห็นภาพที่แสดง คล้ายๆกันกับ รูป 2-19. ขึ้นอยู่กับขนาดของ disk ที่ท่านกำลังใช้งานอยู่ ค่าปริยาย อาจจะ หรือ อาจจะไม่พอเพียง. แต่ก็ไม่สลักสำคัญอะไร ในเมื่อท่านไม่จำเป็นต้องยอมใช้ ค่าปริยาย ที่ให้มานี้.

บันทึกช่วยจำ: การวางผัง partition โดยปริยายนั้น กำหนด partition ให้กับ สาระบบแฟ้มของ /tmp เป็นเอกเทศ แทนที่จะเป็น ส่วนหนึ่งของ / partition. ซึ่งจะช่วยให้ หลีกเลี่ยง การใช้เนื่อที่ของ / partition กับแฟ้มชั่วคราว.

รูป 2-19. Sysinstall Disklabel Editor เมื่อใช้ค่าปริยาย Auto

ถ้า ท่านเลือกที่จะไม่ใช้ค่าโดยปริยาย และปราถนา ที่จะกำหนดค่าเอง, ให้ใช้ปุ่มลูกศร เพื่อเลือก partition แรก และกัดปุ่มตัว D เพื่อลบมันออกไป ก็ทำซ้ำๆเช่นนี้ เพื่อลบส่วนที่เหลือ.

เพื่อที่จะสร้าง partition แรก (a, วางไว้ที่ / — root), ก็ให้แน่ใจว่า เลือก slice จากด้านบนของจอ ได้ถูกต้อง แล้วกดปุ่มตัว C. หน้าต่างโต้ตอบจะ ปรากฏขึ้น ถามท่าน ขนาดของ partition ที่จะสร้างขึ้นใหม่ (ตามที่แสดงใน รูป 2-20). ตัวเลขของขนาดนี้ ท่านสามารถ กรอกเป็น จำนวน block ของ disk ที่ต้องการใช้ หรือ ตัวเลขตามด้วย M สำหรับ megabytes, G สำหรับ gigabytes, หรือ C สำหรับ cylinders.

รูป 2-20. เนื้อที่ว่าง สำหรับ Root Partition

ค่าปริยาย ที่แสดงนี้ จะสร้าง partition ที่กินเนื้อที่ ทั้งหมดของ slice เลย. ถ้าท่านใช้ ขนาดของ partition ตามตัวอย่างก่อนหน้านี้ ก็ลบตัวเลขที่ปรากฏอยู่ ด้วยปุ่ม Backspace, แล้วพิมพ์ลงไป 512M, ตามที่เห็นใน รูป 2-21. จากนั้น กด [ OK ].

รูป 2-21. แก้ไขขนาดของ Root Partition

เมื่อเลือกขนาดของ partition แล้ว ท่านก็จะถูกถามต่อไปอีก ว่า partition นี้จะใช้เป็น filesystem หรือ swap. หน้าต่างโต้ตอบ ก็แสดงให้ดูใน รูป 2-22. สำหรับ partition แรกนี้ จะใช้เป็น filesystem ดังนั้น ก็เลือก FS และกด Enter.

รูป 2-22. เลือกชนิดของ Root Partition

ที่สุดแล้ว เนื่องจากว่าท่านกำลัง สร้าง filesystem ดังนั้น ท่านต้องบอกกับ Disklabel ว่า จะเอา filesystem นี้ วางไว้ ที่ไหน. หน้าต่างโต้ตอบ แสดงประกอบ เพื่อความกระจ่าง ใน รูป 2-23. rootfilesystem ปกติ จะวางไว้ที่ /, ดังนี้แล้ว ก็ขอให้พิมพ์ลงไปว่า / แล้วกด Enter.

รูป 2-23. เลือกจุดที่จะใช้วาง Root

หน้าจอภาพ ก็จะปรับให้ทันกับ ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง เพื่อแสดง parttion ที่สร้างขึ้นมาใหม่. ท่านก็ทำซ้ำ เช่นนี้ ไปเรื่อยๆกับ partition อื่นที่เหลือ. เมื่อท่านสร้าง swap partiton ท่านจะ ไม่ได้รับคำถามว่า จะเอาไปวางไว้ที่ไหน เพราะ swap partition จะไม่มีการ วาง หรือ แขวนไว้ เลย. เมื่อท่านสร้าง partiton สุดท้าย , /usr, ท่าน สามารถรับค่าของ ขนาด ของ partition ได้เลย.

หน้าจอภาพแสดงการแก้ไข DiskLabel ของท่าน จะดูคล้ายๆกับ รูป 2-24, แม้ว่า ค่าต่างๆที่ท่านใช้ จะไม่เท่ากัน ที่สุด กดปุ่ม Q เพื่อจบงาน.

รูป 2-24. Sysinstall Disklabel Editor

Sat Sep 5 14:38:33 ICT 2009

View My Stats