Monday, February 16, 2009

การจัดการกากกัมมันตรังสี(๔): กำกับ ควบคุม ดูแล การใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคลียร์ ให้ปลอดภัย

ประเด็นที่ฝากไว้ให้คิดในตอนที่แล้ว คือ นอกจาก ใครรับบทบาทอะไรที่ต้องรู้แน่ชัดลงไปแล้ว ก็มีอีกคือ หากจะมีกระบวนการควบคุมกำกับดูแล กากฯ ขั้นตอนต่างๆควรเป็น และ ควรดำเนินไปอย่างไร

ปส. ที่ทำหน้าที่ของ regulatory body หรือ regulator นั้น เบื้องต้น ต้องกำหนด กระบวนการออกใบอนุญาต ให้ครบถ้วน แลหากจะให้มีการกำกับควบคุมกากฯด้วย ปส. จะดำเนินการอย่างไร กับ วัสดุกัมมันตรังสี ก่อนที่จะกลายเป็นกากฯ และ เมื่อเป็นกากฯแล้ว เอาประเด็นนี้ชัดๆ ให้แน่ชัดลงไปเลย สิ่งที่อยากตั้งคำถามไว้คือ
๑) ตัดการควบคุมของวัสดุกัมมันตรังสีนั้นทิ้ง
๒) ให้กากที่เกิดขึ้นนั้นเข้าสู่กระบวนการกำกับควบคุมดูแลโดยทันที
หรือ
๑) ตัดการควบคุมของวัสดุกัมมันตรังสีนั้นทิ้ง ส่วนที่ว่า วัสดุกัมมันรังสีนั้นๆ จะตกไปอยู่กับใคร ในสภาพไหน ยังไม่ต้องรับรู้
๒) ให้ ศจ. หรือ ผู้อื่นใด เป็นผู้ยื่นสิทธิครอบครองกากฯ นั้น
ซึ่งในประเด็นหลังนี้เอง จะมีช่วงเวลาที่ชอบเรียกกันว่าสูญญากาศอยู่ระหว่าง ๑) และ ๒) เพราะ กากฯ ที่เกิดนั้น เกิดมาจากไหน อย่างไร ฯลฯ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้อง สืบเสาะหากันอีก เพราะการได้มานั้น หากไม่ชัดเจน ไยมิใช่เท่ากับว่า ครอบครองโดยมิชอบธรรม หรือเรียกกันว่า รับของโจร นั่นเอง
บทลงโทษ ของการรับของโจร นั้น หนักหนาสาหัสมาก ศจ. หรือ ผู้ใช้สารรังสี คงไม่อยากเจอ ข้อกล่าวหานี้แน่

จริงอยู่ ในตอนแรกที่ยื่นขอสิทธิครอบครองนั้น เมื่อได้สิทธินั้น และได้สิทธิใช้ประโยชน์แล้ว จะระบุไว้ชัดเจนว่า กากฯ ที่เกิดขึ้น จะดำเนินการอย่างไร ก็จริงอยู่ แต่ ใครจะเชื่อได้เล่าว่า ไม่มีการรับกากฯ จากที่อื่นมาด้วย ระหว่างการใช้ประโยชน์สารรังสีที่ได้สิทธิครอบครอง และได้สิทธิใช้ประโยชน์นั้นๆ นอกเหนือไปจาก กากฯที่เกิดขึ้นเป็นปกติแล้ว

จริงอยู่ มีการตรวจสอบเป็นระยะๆ แต่บทเรียน ทำให้ทราบว่า การตรวจสอบที่ว่านี้ ไม่ได้ดำเนินการโดยเข้มงวดกวดขันแต่ประการใด เหตุน่ะหรือ ......ไม่มีคน แม้จะอ้างกันอย่างนั้น ให้รอดพ้นไป แต่ ความจริง ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ คือ คนไม่พอ ให้เกิดการตรวจสอบที่ เข้มแข็งพอเพียง ได้

เอ้า ตัวอย่างน่ะ สมมุติว่า หน่วยงานกำกับควบคุมดูแลให้ปลอดภัย ชื่อว่า สะเปะ และมี ๒ หน่วยงานที่ได้สิทธิใช้ประโยชน์สารรังสี หน่วยงาน ๒ หน่วยงาน ชื่อว่า หน่วยงานคว่ำ และ หน่วยงานหงาย โดยที่
  1. หน่วยงานหงาย ได้สิทธิกับสารรังสีชื่อ ซน โดยการใช้งาน เป็นการตัก ตวง ซน แล้วนำไปใช้งาน กากฯ ที่เกิดขึ้น จึงเป็นเพียง contaminated materails เท่านั้น กล่าวคือ กากฯ เป็นเพียงข้าวของทั่วไปที่ปนเปื้อน ไปด้วย ซน เท่านั้นเอง และ
  2. หน่วยงานคว่ำ ได้สิทธิกับสารรังสีชื่อ ซุก โดย สารรังสี ซุก นี้เป็น sealed sources และ ระหว่างการใช้งาน ไม่มีกากอื่นใดเกิดขึ้นเลย แม้แต่น้อย มีแต่สารรังสี ซุก ที่ความแรงลดลงไปโดยปกติของเขา เท่านั้นเอง
ทั้งคว่ำ และ หงาย ต่างอยู่ภายใต้อานัติการกำกับควบคุมดูแลให้ปลอดภัยโดย สะเปะ

คำถามที่เกิดขึ้นคือ

๑) สะเปะ มีความถี่ในการเข้าไปตรวจสอบหน่วยงาน คว่ำ และ หน่วยงาน หงาย มากน้อย เท่าไร
๒) หากสารรังสี ซุก มี ๑ ชิ้น ก็ง่ายแก่การกำกับควบคุมดูแล ให้ปลอดภัย แต่หาก สารรังสี ซุก มี ๕ ชิ้น คือ ซก๑ ซุก๒ ซุก๓ ซุก๔ ซุก๕ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ระหว่างการปฏิบัติงาน หน่วยงานคว่ำ จะไม่นำสารรังสี ซุก๔, ตัวอย่างน่ะ, ไปฝากทิ้งไว้กับ หน่วยงาน หงาย หรือแม้กระทั้งว่า ไปแอบทิ้งไว้ที่ หงาย เพราะเป็นการยาก ที่ สะเปะ จะเข้าไปรื้อค้นขยะ หงาย เพื่อดูว่า หงาย ไม่ได้รับ สารรังสีโจร , เรียกว่าอย่างงั้นก็แล้วกันเถิด ง่ายดี, จาก คว่ำ มาไว้ในครอบครอง

พูดตรงๆคือ ไม่เชื่อหรอกว่า สะเปะ จะกำกับ ควบคุม ดูแล ให้ ทั้ง หงายและคว่ำ ดำเนินกิจการด้าน การใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ ให้ปลอดภัยได้

ถ้ายังยุ่งไม่พอ ลองคิดต่อไปว่า มีอีกหน่วยงานหนึ่ง ชื่อ จุกจิก , จะเป็นศูนย์หรือเปล่า อันนี้ ไม่แน่ใจ, ที่มีภาระกิจหลักคือ รับให้บริการ เก็บรวบรวมกากกัมมันตรังสี จาก หงาย และ คว่ำ มาเพื่อดำเนอนการ บำบัด ดังนี้แล้ว สะเปะ ยังกำหนดไว้เพิ่มเติมอีกว่า จุกจิก นั้น ต้องดีแคลว่า ตนเองมีกากฯ อะไร ครอบครองอยู่อีก ซึ่งถ้าพิจารณาดูแล้ว จะพบว่า การที่ จุกจิก มีกากฯไว้ครอบครองนั้น ขั้นตอนนี้ ได้ผ่านไปแล้ว ได้รับสิทธิครอบครอง มาจากไหน ใครอนุญาต แม้ขั้นตอนนี้ ได้ผ่านไปแล้ว เพราะความจริงก็คือ ได้ครอบครองแล้วนี่ ก็ตาม จุกจิก เป็นเทวดามาจากไหน ที่ได้ครอบครอง โดยไม่ต้องขออนุญาต เมื่อเทียบกับ ทั้ง หงาย และ คว่ำ ที่กว่าจะได้สิทธิครอบครอง ต้องทำรายงานตั้งมากมาย เพื่อนำเสนอให้ สะเปะ พิจารณา

ลักลั่นดีไหม นอกจากข้อเคลือบแคลงสงสัยในประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานแล้ว ยังดูเหมือนว่า สะเปะ จะใช้ มาตรฐานคนละอย่าง กับหน่วยงานที่ตนเอง กำกับควบคุมดูแลให้ปลอดภัย อยู่

แต่จะไปตำหนิ สะเปะ แต่ถ่ายเดียวคงไม่เหมาะสมนักหรอก เพราะมองอีกด้านหนึ่ง ก็จะพบว่า จุกจิก เอง ก็ทำผิดกฏธรรมยุติ อันเป็นข้อตกลงกันไว้แล้วนั้นด้วย ตรงที่ว่า การจะได้ครอบครองนั้น ต้องได้รับ สิทธิครอบครอง นั้นนั้นเสียก่อน แต่นี่ กลับครอบครองโดยไม่ต้องขออนุญาต เป็นแต่ยื่นว่า บัดนี้ ได้ครอบครองกากกัมมัมนตรังสีนี้ๆ อยู่ ก็เป็นอันพอเพียงแล้ว

เมื่อเป็นอย่างนี้ ไยมิใช่เท่ากับกรณี ซุก๔ ในตัวอย่างแรกนั้นเล่า เป็นแต่ว่า บัดนี้ จุกจิก กลับรับ ซุก๔ มาไว้เสียเองอย่างหน้าชื่นตาบาน

นี่ยังนับว่าดี ตรงที่อย่างน้อย ซุก๔ ยังมาอยู่กับ จุกจิก ที่เป็นผู้ดำเนินการด้านรังสีอยู่ หากเป็นว่า ซุก๔ ถูก ขโมยออกไปเล่า โดยที่ขโมย ก็ไม่ได้มีความรู้พอที่จะจำแนกแยกแยะออกว่า สิ่งที่ตนเองครอบครองนั้น คืออะไร ผลที่เกิดขึ้น คงคาดเดาได้

จุดจบของเรื่องราว หรือ เรื่องราวจะยุติอย่างไร คงต้องร่างข้อยุติ อันเป็นที่ยอมรับของชุมชนเรา ไว้ก่อน ก่อนที่เรื่องราวอันวุ่นวายที่ได้ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ จักได้เกิดขึ้นมาจริงๆ , อืมม หรือว่า มันได้เกิดขึ้น แล้วหว่า

บทเรียนอันเจ็บปวด สมควรที่เราจะไม่ลืมเลือนละเลยทิ้งไปเสีย บทเรียนจาก หลายชีวิต ที่ได้ตกสิ้นไป จากอุบัติเหตุ โคบอลต์ หกสิบ ที่สมุทรปราการในปี ๒๕๔๓ นั้น ในเดือนกุมภาพันธฺ์นั้นด้วย บทเรียนนี้ ควรที่จะนำไปใช้อ้างอิง ในการพิจารณาหาข้อยุติในย่อหน้าที่ผ่านมานั้นด้วย

2 comments:

dekdar said...

ไม่ได้เข้ามาอ่าน เสียนมนานเชียว
เป็นไงบ้างสะบายดีหรือป่าว

วุ้นๆ กันงานราษฎรนิดหน่อย
(งานของตัวเองไม่ได้ทำเลยอะคับ)
ซุกอะไรก้อขอให้ปลอดภัย
แต่ซุก(...หุ้น..เมียอีกคน..)อืมตัวครายตัวมันแ้ย้วละ
เหอๆๆๆ

มะขาม said...

ขอบคุณมากครับ
:)


View My Stats