Thursday, March 11, 2010

ไกลปืนเที่ยง: กากกัมมันตรังสี นิยาม และการจัดการ

ขอเพิ่มเติม นำกฏกระทรวงมาลงให้ทั้งหมดเลย
อีกครั้ง ด้วยความจำเป็น และ อีกครั้งเพราะยังไม่สิ้นเรื่องราว

ก็เรื่องของ นิยามของกากกัมมันตรังสี และ การดำเนินงาน ของผู้ที่เกียวข้องนั่นแหละ ไม่ใช่อะไรมากไปกว่านี้หรอก

อืมม ก่อนจะยุ่งเหยิงมากไปกว่านี้ ขอแจ้งเพื่อทราบโดยทั่วกันก่อนว่า ศจ. นั้น ที่แต่เดิมใช้ชื่อภาคภาษาอังกฤษว่า radioactive waste management center นั้น สทน. ท่านเปลี่ยนมาให้ใช้ตัวย่อว่า WMC คงมีเพียง waste management center เท่านั้นมั้ง

ทีแรก ก็เคืองๆ แต่เมื่อมาทราบเรื่องราวขององค์ประกอบต่างๆเข้า เลยทราบว่า สมควรแล้ว และก็บุญแล้ว ที่ได้ทำงานใน สทน.

สืบเนื่องจาก สัมมนาวานนี้ ที่ได้ถามแบบผู้รู้ ถึงนิยามกากกัมมันตรังสีนั่นแหละ ที่ได้สนทนากันระหว่างเดินทางกลับก่อนแยกย้ายกัน, วันนี้ ๑๑ มีค ๒๕๕๓, เลยยกมาเป็นเรื่องโดดๆ จำเพาะของโครงการ ไกลปืนเที่ยง เลยดูจะเหมาะสมกว่า

ไปสืบค้นจาก google ด้วยคำ กฏกระทรวง ว่าด้วยเงื่อนไขการบำบัดกากกัมมันตรังสี ก็ได้มา แล้วคัดลอกเอาแต่ส่วนที่ต้องพูดกันในนี้แหละ น่ะขอตัดทอนมาเพียงเพื่อวิเคราะห์เรื่องราวในทางวิชาการเท่านั้น มิได้มีเจตนาเป็นอย่างอื่น
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 4 วรรคหนึ่ง (3) (4) และวรรคสอง กับ มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติ พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
"กากกัมมันตรังสี" หมายความว่า วัสดุในรูปของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซที่เป็นวัสดุกัมมันตรังสี หรือประกอบหรือปนเปื้อนด้วยวัสดุกัมมันตรังสี ที่มีค่ากัมมันตภาพต่อปริมาณ หรือกัมมันตภาพรวมสูงว่าเกณฑ์ปลอดภัยที่กำหนดโดยคณะกรรมการ และผู้ครอบครองวัสดุนั้นไม่ประสงค์จะใช้งานอีกต่อไป และให้หมายความรวมถึงวัสดุอื่นใดที่คณะกรรมการกำหนดให้เป็นกากกัมมันตรังสี
"การจัดการกากกัมมันตรังสี" หมายความว่า กระบวนการดำเนินการทุกขั้นตอนซึ่งเกี่ยวข้องในการรวบรวม การคัดแยก การจำแนก การจัดเก็บ การบำบัด การแปรสภาพ การทิ้งและการขจัดกากกัมมันตรังสี และให้หมายความรวมถึงการขนส่งกากกัมมันตรังสีด้วย
"เกณฑ์ปลอดภัย" หมายความว่า ค่ากัมมันตภาพต่อปริมาณ หรือกัมมันตภาพรวมที่สามารถปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
"การแปรสภาพ" หมายความว่า กระบวนการแปลงสภาพกากกัมมันตรังสีภายในภาชนะบรรจุกากกัมมันตรังสีให้อยู่ในรูป หรือสถานะที่เหมาะสมต่อการเคลื่อนย้าย การขนส่ง การเก็บพัก หรือการทิ้งกากกัมมันตรังสีโดยถาวร
"ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก" หมายความว่า วัสดุกัมมันตรังสีซึ่งปิดผนึกอย่างถาวรในปลอกหุ้มหรือห่อหุ้มอย่างมิดชิดและอยู่ในรูปของแข็ง โดยปลอกหุ้มหรือวัสดุห่อหุ้มต้องสามารถป้องกันการรั่วของวัสดุกัมมันตรังสีภายใต้สภาวะการใช้งานปกติ และสภาวะที่อาจเกิดเหตุผิดพลาดขึ้นได้
"ครึ่งชีวิต" หมายความว่า ระยะเวลาที่วัสดุกัมมันตรังสีลดกัมมันตภาพลงครึ่งหนึ่ง โดยกระบวนการสลายตัว
"ผู้รับใบอนุญาต" หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตตาม มาตรา 12 และ มาตรา 13 แห่ง พระราชบัญญัติ พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504

ข้อ 2 กากกัมมันตรังสีสามารถจำแนกประเภทตามค่ากัมมันตภาพและค่าครึ่งชีวิต ดังนี้
(1) กากกัมมันตรังสีระดับรังสีต่ำมาก ได้แก่ กากกัมมันตรังสี ที่มีระดับกัมมันตภาพต่อปริมาณ หรือ กัมมันตภาพรวมเท่ากับ หรือ ต่ำกว่าเกณฑ์ปลอดภัย
(2) กากกัมมันตรังสีระดับรังสีต่ำ ครึ่งชีวิตสั้น ได้แก่ กากกัมมันตรังสี ที่มี ค่าครึ่งชีวิต น้อยกว่า หนึ่งร้อยวันการสลายตัว และ ลดระดับ กัมมันตภาพต่อปริมาณ หรือ กัมมันตภาพรวม ต่ำกว่าเกณฑ์ปลอดภัย ภายในเวลาสามปี
(3) กากกัมมันตรังสีระดับรังสีต่ำ และ ปานกลาง ครึ่งชีวิตสั้น ได้แก่ กากกัมมันตรังสี ที่ให้รังสีบีตา หรือ แกมมา มีค่า ครึ่งชีวิต ตั้งแต่หนึ่งร้อยวัน แต่น้อยกว่าสามสิบปี และ เมื่อเก็บไว้สามปี ยังคงมี ระดับกัมมันตภาพต่อปริมาณ หรือ กัมมันตภาพรวมสูงกว่าเกณฑ์ปลอดภัย หรือ กากกัมมันตรังสี ที่ให้รังสีแอลฟา มีระดับกัมมันตภาพต่อปริมาณต่ำกว่า 400 เบ็กเคอเรลต่อกรัม และ มีระดับกัมมันตภาพรวม ในแต่ละหีบห่อต่ำกว่า 4,000 เบ็กเคอเรล
(4) กากกัมมันตรังสีระดับรังสีต่ำและปานกลาง ครึ่งชีวิตยาว ได้แก่ กากกัมมันตรังสี ที่มี ระดับบกัมมันตภาพต่อปริมาณ หรือ กัมมันตภาพรวม สูงกว่ากากกัมมันตรังสีตาม (3) และเป็น กากกัมมันตรังสี ที่ให้ความร้อนไม่เกิน 2 กิโลวัตต์ต่อลูกบาศก์เมตร
(5) กากกัมมันตรังสีระดับรังสีสูง ได้แก่ กากกัมมันตรังสี ที่มี ระดับกัมมันตภาพต่อปริมาณ หรือ กัมมันตภาพรวม สูงกว่า กากกัมมันตรังสีตาม (4) และ เป็นกากกัมมันตรังสี ที่ให้ความร้อนมากกว่า 2 กิโลวัตต์ต่อลูกบาศก์เมตร
ข้อ 3 ผู้รับใบอนุญาต ต้องจัดให้มี เจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการ จัดการกากกัมมันตรังสี อย่างน้อยหนึ่งคน ซึ่งมีคุณสมบัติ และ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม ที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ผู้รับใบอนุญาต ต้องแจ้ง การเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการจัดการกากกัมมันตรังสี ตามความในวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ทราบ ภายในสิบห้าวัน นับแต่ วันที่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ดังกล่าว
ข้อ 4 ผู้รับใบอนุญาต ต้องแจ้งรายละเอียด เกี่ยวกับชนิด ปริมาณ ลักษณะทางกายภาพ และทางเคมี ค่ากัมมันตภาพของกากกัมมันตรังสี และสถานที่เก็บกากกัมมันตรังสี พร้อมทั้งแจ้งวิธีการจัดเก็บ บำบัด ขจัด และขนส่ง ตามแบบ ที่คณะกรรมการกำหนด ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในสามสิบวัน นับแต่ วันที่ได้รับใบอนุญาต และ ต้องแจ้ง รายละเอียดดังกล่าวต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อไปอีกตาม ระยะเวลา ที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ 5 ผู้รับใบอนุญาต ต้องคัดแยก รวบรวม บรรจุกากกัมมันตรังสี ลงในภาชนะและปิดฉลาก ตามหลักเกณฑ์ และ วิธีการ ที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 6 ผู้รับใบอนุญาต ต้อง จัดให้มีสถานที่ สำหรับ จัดเก็บกากกัมมันตรังสี ก่อนการบำบัด พร้อมทั้งอุปกรณ์อื่น ที่จำเป็น ที่สามารถให้ความปลอดภัยทางรังสี โดยคำนึงถึงชนิด ปริมาณ ลักษณะทางกายภาพและทางเคมี และ ค่ากัมมันตภาพ ของ กากกัมมันตรังสี ที่จัดเก็บในสถานที่นั้น ลักษณะ ขนาด และ ที่ตั้งของสถานที่ รวมทั้ง อุปกรณ์ ตามความในวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 7 ผู้รับใบอนุญาต ต้อง บำบัดกากกัมมันตรังสี ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน ดังนี้
(1) กากกัมมันตรังสีตาม ข้อ 2 (1) ให้ ระบายเข้าสู่ระบบระบายน้ำทิ้ง หรือ ขจัดรวมกับมูลฝอยทั่วไป ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(2) กากกัมมันตรังสีตาม ข้อ 2 (2) ให้ เก็บในภาชนะ และ สถานที่ ตามที่คณะกรรมการกำหนดใน ข้อ 5 และ ข้อ 6 เพื่อให้ สลายตัว เป็นระยะเวลาอย่างน้อย สิบเท่า ของค่าครึ่งชีวิตก่อนปฏิบัติตาม (1)
(3) เมื่อดำเนินการตาม (1) หรือ (2) แล้ว ให้ รายงาน ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในสามสิบวัน นับแต่ วันที่ดำเนินการตาม (1) และ ต้องเก็บรายงานดังกล่าว ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
ข้อ 8 ผู้รับใบอนุญาต ต้อง จัดเตรียมกากกัมมันตรังสีตาม ข้อ 2 (3) (4) และ (5) เพื่อการนำส่ง กากกัมมันตรังสีดังกล่าว ไปยังสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อดำเนินการบำบัด และขจัดตามวิธีการดังต่อไปนี้
(1) กรอกแบบขอรับบริการตามแบบที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกำหนด
(2) บรรจุกากกัมมันตรังสีลงในภาชนะตามชนิดและขนาดที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(3) ปิดฉลากตาม ข้อ 5
ข้อ 9 ผู้รับใบอนุญาต ต้อง ขนส่ง กากกัมมันตรังสี ที่ได้จัดเตรียมไว้ตาม ข้อ 8 ไปยัง สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อการบำบัดหรือขจัด โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 10 ในกรณีที่เป็นกากกัมมันตรังสี ที่เกิดจากการใช้ หรือ หมดเปลืองไป ของต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก ให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ไม่ถอด ทำลาย หรือ เปลี่ยนแปลงลักษณะการผนึก ของ ภาชนะบรรจุ ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ให้แตกต่างไปจาก สภาพที่เป็นอยู่ เมื่อเริ่ม มีการครอบครอง ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึกนั้น
(2) ห้ามโอน หรือ ส่งมอบการครอบครอง ให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่ บุคคลผู้รับมอบการโอน หรือ การส่งมอบการครอบครอง จะเป็นผู้รับใบอนุญาตให้ใช้ หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึกนั้น ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการก่อน
(3) ทำสัญญากับผู้ขาย ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึกนั้น ในขณะสั่งซื้อ เพื่อส่งคืนกากกัมมันตรังสีตาม ข้อ 2 (4) และ (5) ที่เกิดจาก ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก และ ต้องนำส่ง สำเนาเอกสารสัญญาดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาประกอบ การออกใบอนุญาต ให้นำเข้า ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึกนั้น
(4) แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ถึง การหมดสภาพการใช้งาน ของ ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก ภายใน สามสิบวัน นับแต่ วันที่ ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก นั้น หมดสภาพการใช้งาน
(5) จัดเก็บ กากกัมมันตรังสี ในสถานที่ สามารถให้ความปลอดภัยทางรังสี และให้นำความใน ข้อ 6 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณี ที่ ไม่มีการดำเนินการตาม (2) ต้องส่งกากกัมมันตรังสีนั้น คืนไปยังผู้ผลิตโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งปี นับแต่ วันที่แจ้ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ถึงการหมดสภาพการใช้งาน และ ต้องนำส่ง สำเนา หลักฐานการส่งคืน ดังกล่าว ต่อ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันส่งคืนกากกัมมันตรังสีนั้น
ในกรณี ที่ไม่สามารถ ดำเนินการตาม (3) ได้ ให้ นำส่ง กากกัมมันตรังสี ไปยังสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ดำเนินการบำบัดและขจัด โดยต้องปฏิบัติตาม ข้อ 8 และ ข้อ 9 โดยอนุโลม
ข้อ 11 ในกรณีที่กากกัมมันตรังสีสูญหาย หรือ ถูกลักขโมย หรือ มีเหตุฉุกเฉินทางรังสี เกิดขึ้น กับกากกัมมันตรังสี ให้รายงาน ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่โดยพลัน แล้วจัดทำรายงาน เกี่ยวกับการสูญหาย หรือถูกลักขโมย หรือการเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีดังกล่าว เป็นหนังสือ เสนอ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ทราบเหตุ
ข้อ 12 ผู้รับใบอนุญาต ต้องชำระ ค่าบริการบำบัดและขจัดกากกัมมันตรังสี ตามอัตรา ที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 13 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป


:: ให้ไว้ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2546
:: (ลงชื่อ) พินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

*หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบัน มีการผลิต และ ใช้วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ พลังงานปรมาณู วัสดุพลอยได้ หรือวัสดุต้นกำลัง และ กระทำด้วยประการใดๆ แก่วัสดุต้นกำลัง ให้พ้น จากสภาพที่เป็นอยู่ ตามธรรมชาติ ในทางเคมีมากขึ้น อันเป็นเหตุให้เกิด กากกัมมันตรังสี จำนวนมาก สมควรกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการ จัดการกากกัมมันตรังสี เพื่อเป็นมาตรการควบคุม การจัดการกากกัมมันตรังสี ให้มีประสิทธิภาพ และ เกิดความปลอดภัย ต่อสุขภาพของประชาชน และ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

ซึ่งตามที่ยกมานี้แล้ว ไม่เพียงยังไม่กระจ่างในนิยามเท่านั้น แม้แต่การจัดการกากกัมมันตรังสี ก็ยังมีการเลือกปฏิบัติด้วย เพราะเห็นว่ามี คนเหล็ก อยู่หลายคน ที่ออกหน้าออกตาว่า disposal นั้น ไม่ทำ ซึ่ง ไปดูเอาเถิดว่า การทิ้งและการขจัด นั้นยังจะใช่ disposal หรือไม่

แต่ว่า คน ก็คือ คน ที่ไม่ใช่ ฅน เพราะก็เห็นว่ายังกระสันจะทำ bored hole disposal กันอยู่ยิกยิก แม้จะเลี่ยงบาลีว่า ปรีดิ้สโพ้สซ่อน มันก็คือ disposal นั่นแหละ ก็ลองนึกดูซิว่า การทดลองอยู่ด้วยกันก่อน กับ การอยู่ด้วยกัน เนี่ย มันต่างแค่ตัวหนังสือ แต่พฤติกรรม ไม่ต่างกันหรอกกับการเป็นคู่ผัวตัวเมียที่ต้องสังวาสร่วมเพศกัน

ดูท่าทางว่า จะทำผิกกฏกระทรวงกันไปซะหมดน่ะ ฮึ เพราะแม้กระทั้งการจัดการ ก็ยังไม่ครบนิยามเลย เอ WMC นี่จะพอเพียงหรือเปล่า

ทีแรก ที่กฏกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้ คจ. หรือ กองขจัดกาก เดิมที่อยู่กับ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และที่ต่อมา สำนักงานฯ ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ส่วน กองขจัดกาก ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ที่สุดไปผูกกับ โครงการ ONRC ที่ยังมีปัญหากันอยู่ขณะนี้ แต่ก็ happy กับกฏกระทรวงฉบับนี้ และดูว่า บางคน ก็คนเดียวนั่นแหละ เอาไปปรับตำแหน่งด้วยนา

อีทีนี้ พอมาอยู่ สทน. เข้า แม้จะได้ผลสรุปออกมาว่า สทน. มีสิทธิดำเนินการจัดการกากกัมมันตรังสีได้ แต่ ก็มีเสียงว่า ปส. ไมสามารถควบคุม ศจ. ได้ หากอาศัยกฏกระทรวงฉบับนี้ ก็ให้งงง

นักกฏหมาย ท่านไปจับเอาตรงคำนิยามตรง วัสดุกัมมันตรังสีนั่น และตีความเอาว่า วัสดุพลอยได้ เข้า ท่านก็บอกว่า สามารถควบคุมได้ ...ฯลฯ เอาเหอะ มันวุ่นมากนัก ประดี๋ยวไล่ไปเดินถนนค่ำวันเสาร์อาทิตย์นี้กันให้หมด

เอาล่ะ มาดูนิยาม ตรงหลังคำว่า และ ที่ ๒ นั้นกันให้จะจะอีกทีให้เต็มตากันให้ถ้วนทั่วกันทุกคนในที่นี้เลยดีกว่า เน้าะ ให้หมายความรวมถึงวัสดุอื่นใดที่คณะกรรมการกำหนดให้เป็นกากกัมมันตรังสี

นักกฏหมายท่านชี้แจงว่า คณะกรรมการต้องลงความเห็น ซึ่งเป็นอำนาจของท่าน จะให้ผู้ใดกระทำแทนไม่ได้ในกรณีนี้ ดังนี้แล้ว ก็ใยมิใช่ว่า หาก ศจ. ในนามของ สทน. จะรับกากฯที ก็ต้องเชิญคณะกรรมการมาประชุมที งั้นรึ มิโกลาหลอลหม่านกันไปหมดหรอกหรือ

ในความเป็นจริง ก็ไม่เคยได้พบได้เห็นคณะกรรมการมาพิจารณาเรื่องนี้เลยน่ะ หรือว่า ตัวเล็กเกินไป เลยไม่มีสิทธิที่จะได้เห็นได้รับรู้เรื่องเหล่านี้

หากเป็นดังนี้แล้ว สิ่งที่ ศจ. รับมาดำเนินการนั้นก็ มิใช่กากกัมมันตรังสีสิ เน้าะ
ได้รับแจ้งจาก นิคม ว่า WMC นั้นใช้กับเอกสารคิวเอ เท่านั้น อืมมม ขอบใจ คิวตึ๋ง หรือ คิวนี คงเหมือนเดิม เน้าะ

นี่ขนาดนี้ ยังวุ่นวายเลย เอาแค่นิยาม เอาแค่การปฏิบัติ ก็ยังขาดๆเกินๆ ยังคิดจะเป็น centralized ในเรื่องการจัดการฯ ถ้าไม่คิดว่าจะ monopoly ก็ดำเนินการไป แต่ต้องมีความรับผิดชอบน่ะ total responsibilities ต้องตกอยู่กับผู้ที่ทำตัวเป็น operators ตามกฏหมายนั่น ต้องตระหนักในเรื่องนี้ให้มาก

ต่างประเทศ เท่าที่ไปมา ก็เห็นว่า เขาขอใบอนุญาตดำเนินงาน หลังจากที่ facilities ต่างๆเรียบ้อยแล้ว ซึ่งก็อาศัยกฏเดียวกัน facilities ต่างๆ ก็ต้องได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง และก็อาศัยกฏเดียวกันอีกเช่นกันว่า แบบพิมพ์เขียวของ facilities ทั้งหลาย ต้องได้รับอนุญาต ต้องพิสูจน์แล้วว่า ปลอดภัย ... ลงไปเรื่อยๆ

ขณะเดียวกัน บุคคลากร ที่จะมาปฏิบัติงานก็ต้อง qualified ด้วย

ทั้ง บุคคลากร และ radioactive waste managment facilites รวมๆเรียกว่า operational capabilities น่ะ

ส่วนเรื่องกฏหมายนั้น เรียกว่า regulatory capabilities ซึ่ง ความที่ยังไม่ลงรอยกันนี้แหละ จะเป็นเหตุให้ การจัดการกากกัมมันตรังสีไม่สามารถกระทำให้เกิดขึ้นอย่างปลอดภัยได้

นี่ตั้ง ๒ ขา ไม่ใช่ขาใดขาหนึ่งน่ะ ที่ยังไม่เรียบร้อย ยังริคิดจะเป็น centralized .... อะไรก็ไม่รู้

ขอยุติไว้ชั่วคราว เพื่อเตรียมตัวสอนแทนนิคมวันที่ ๑๒ มีค พรุ่งนี้

No comments:


View My Stats