เรื่องของคำฝรั่ง คำเดียวกัน แต่สื่อในประเทศไทย และ ทางราชการ ใช้กันคนละชื่อ (ลงไว้ใน facebook แต่เห็นสมควรนำมาลงเอาไว้ที่นี่ด้วย)
เอกสารอ้างอิง หรือ เอกสารที่พาดพิงถึง
มติชนสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 12-18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1678 ราคา 40 หน้า 38-39
อนุช อาภาภิรม
วิกฤติศตวรรษที่ 21 ขยะนิวเคลียร์: ระเบิดเวลาลูกใหญ่(3)
.....
สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างปรเทศ (International Atomic Energy Agency-IAEA)
.....
นี่คือตัวอย่างที่เคยกังขาในคราวที่ เคเบิลทีวีในรายการ explorer ที่ออกอากาศมาหนหนึ่ง แล้วเสียงผู้บรรยายท่านก็ใช้คำคำเดียวกันนี้ สำหรับ IAEA
แล้วก็ท้วงว่า สื่อ ไม่ใส่ใจนิยาม หรือ คำศัพท์ที่ทางการใช้อยู่รึยังไงกัน แล้วก็มาถามเพื่อนๆในนี้เอาหนนึง ใน facebook ไปแล้วนั้น ....
งวดนี้ ไม่ต้องรอฟัง ไปซื้อมาอ่านเลย เพราะตีพิมพ์มาแล้ว เปิดอ่านเมื่อไร ได้เจอเมื่อนั้น
ข้อที่ต้องนำมาเขียนไว้ในที่นี้ มิใช่ว่า อัตตาตัวตน จะมากมายขนาดว่าข้าถูกเองผิด(กราบขออนุญาต ดร. อนุช อาภาภิรม ที่ใช้ภาษาของท่านพุทธทาส และ/ หรือ ภาษาไทยเดิม) อะไรถึงขนาดนั้นหรอกครับ
แต่เพราะพอได้ทำงานมาทีแรก เอกสารที่ได้รับมาให้อ่าน รวมทั้งๆเพื่อนร่วมงาน ทั้งสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ปส นั้น
ต่างก็เรียก IAEA ว่า ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ กันทั้งสิ้น แม้กระทั่งศัพทานุกรมนิวเคลียร์ ที่จัดทำโดย สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2547 นั้น ในหน้าที่ 43 ก็ยังเรียก IAEA ว่า ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
มะไฟ ข้องใจ ที่ไปเจอความขัดแย้งกันนี้ถึงสองหน โดยเฉพาะจากงานของ ดร. อนุช อาภาภิรม นั้น นับว่านิ่งๆมิได้ ย่อมต้องขอความกระจ่างให้เกิดขึ้นมาให้ได้
๑) มะไฟ ตามงานของท่าน ดร. อนุช อาภาภิรม มา แม้ไม่ทั้งหมด แต่ก็ อ่านทั้ง จากในมติชนสุดสัปดาห์เอง และ จากหนังสือ ที่ท่านเขียน เช่น นิพพาน ศตวรรษที่ 20 เป็นต้น จึงเคารพในความรอบรู้ของท่าน มาก และให้กังขาว่าโดยแท้แล้ว ภาษาไทยที่ใช้กับคำฝรั่งคำนี้ คือคำไหน
๒) มะไฟ มิได้ทำงานทั้ง ปส. (พ.ศ. ๒๕๔๙) และ สทน. อีกแล้ว นับตั้งแต่น้ำท่วมประเทศครั้งใหญ่ เพราะหมดสัญญาปฏิบัติงาน กอรปด้วย ผู้คนในนั้น (สทน) ทำตัวยิ่งใหญ่เกินไป
ทำนองว่า หากเขาแก้ไขสัญญาให้ ก็จะรับให้ทำงานต่อไป ... จึงผละออกมาเสีย ซึ่งหากมีการแก้ไข เพิ่มเติม คำศัพท์อย่างไร ก็น่าจะประกาศให้ทราบบ้าง
จาก ๒ เหตุดังกล่าวนี่แหละ ทำให้ข้องใจมากว่า อะไรกันแน่ กับคำฝรั่งว่า International Atomic Energy Agency รึจะเอาตามกระแส
ขอบันทึกเอาไว้ ณ ที่นี้ พร้อมกันนี้ ใคร่ขอความเห็นจากเพื่อนๆในกลุ่มด้วย เชิญครับ ศัพท์นิวเคลียร์ ฉบับชาวบ้าน หรือจะเสนอแนะความคิดเห็นข้างล่างนี้ก็ตามสะดวก
วันนี้, เสาร์ที่ ๒๐ ตค ๒๕๕๕, รายการ explorer ของ เคเบิลทีวี นำเสนอเรื่อง นิวเคลียร์ฯ แต่เสียงบรรยายเป็นผู้ชาย
นอกไปจากนั้น IAEA กลับไม่ได้เรียกว่า สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ อีกแล้ว ทว่า กลับเรียกเป็น ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
Saturday, October 20, 2012
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment