เหตุผลง่ายๆพื้นๆคือ ต้องการให้ท่าน ช่วยตัวเองเป็น เพราะท่านที่เริ่มจากไม่รู้อะไรนั้น สิ่งแรก ที่ควรรู้คือ unix เขามีวิธีให้ผู้ใช้ ช่วยตัวเอง อยู่โดยยังไม่ต้องไปพึ่งคนอื่น ซึ่งก็อาศัยเหตุนี้ ปัจจัยนี้แล เป็นผลให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อท่านเริ่มจากศูนย์ คำสั่งแรก ที่ช่วยท่านได้ คือการให้ออกจากระบบไปก่อน เรื่องราวอื่นๆ ไปศึกษาเอาจากหนังสือหนังหาข้างนอกได้ ทั้งนี้เพราะ unix โดยเฉพาะ FreeBSD นั้น เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับหลายผู้ใช้ การที่เรามานั่งเปิดหนังสือคาหน้าจอ โดยนานนาน เคาะแป้นพิมพ์ทีนั้น นับว่าเป็นการ ใช้งานอย่างไม่คุ้มค่า เลยทีเดียว นอกเหนือไปจาก เป็นการ ปิดโอกาส หรือถึงขั้น ขัดขวางการทำงานของผู้อื่น
หวังว่า คงเข้าใจ และได้รับการให้อภัย จากเพื่อนรักนักอ่านโดยทั่วกัน
ในเหตุผลที่ยกมานั้น มิได้หมายความว่า การศึกษาคู่มือแบบ on line จะเป็นไปไม่ได้ สามารถดำเนินการได้อยู่ จึงใคร่ขอให้ท่านผู้เริ่มต้น ได้เริ่มศึกษาเอาเอง จากเครื่องของท่าน ในขณะนี้
คำสั่งที่ว่านี้คือ man
% man name
เมื่อ name คือหัวข้อที่เราตั้งใจจะศึกษา ไม่มียกเว้นแม้กระทั่งคำสั่ง man ด้วยเช่นกัน ลองดูน่ะ
% man man
นี่เป็นคำสั่งที่ ๒ ที่ผมขอแนะนำให้ท่านศึกษาโดยละเอียด เพราะ จะช่วยแก้ปัญหา การทำงาน ของท่านได้เป็นอย่างดี จากคำสั่งนี้ ท่านจะพบข้อความคล้ายๆกับที่ผมยกมาให้ดู ดังนี้
MAN(1) FreeBSD General Commands Manual MAN(1)
NAME
man -- format and display the on-line manual pages
SYNOPSIS
man [-adfhkotw] [-m arch[:machine]] [-p string] [-M path] [-P pager]
[-S list] [section] name ...
DESCRIPTION
ขอให้สังเกตุที่มุมบนซ้ายให้ดี จะมีคำว่า MAN(1) อยู่ MAN คือหัวข้อของหน้าคู่มือ ที่ท่านกำลังศึกษา (1) คือ section ของหน้าคู่มือของคำสั่งที่ท่านกำลังศึกษา เบื้องต้น ให้จำไว้ก่อน
คำแนะนำเพิ่มเติมก็คือ ขอให้ศึกษาโครงสร้างของ รายละเอียด ที่อธิบายในแต่ละหัวข้อๆ ของแต่ละคำสั่งนั้นๆ, ที่ยกมาข้างบนก็ได้แก่ SYNOPSIS และ DESCRIPTION, โดยเฉพาะ SEE ALSO หรือ EXAMPLE ถ้ามี
อ้อ หากที่กล่าวมา ท่านยังไม่พบ ท่านสามารเลื่อนไป หน้าถัดไป ได้ด้วยการเคาะ space bar เบาๆทีหนึ่งจนพบ ขณะเดียวกัน ท่านสามารถใช้ปุ่ม PgUp/PgDn เพื่อ เลื่อนย้อนกลับไป หรือ เลื่อนไปข้างหน้า ถ้าพบว่า ยังอยากอ่านข้อความ ที่อ่านผ่านไปนั้นแล้ว อีกครั้งหนึ่ง
ในย่อหน้าก่อนนี้ ได้บอกให้ทราบถึง section ก็ขออธิบายเพิ่มพอได้ความย่อย่อว่า หน้าคู่มือ นี้เขาแบ่ง คำสั่ง ออกเป็นกลุ่มๆ เช่น สำหรับผู้ใช้ทั่วไป สำหรับการเขียนโปรแกม สำหรับผู้จัดการระบบ เป็นต้น เขาแยกออกจากกันด้วยตัวเลข เช่น (1) ก็หมายถึงคำสั่งที่ผู้ใช้ สามารถเรียกใช้ได้ทุกคน
แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า แต่ละ section นั้นมีเรื่อง หรือ คำสั่งกลุ่มใดอยู่บ้าง และที่สุดคือ มีกี่ section กันแน่ คำตอบ ท่านสามารถหาได้จาก
% man 1 intro
ขอให้อ่านให้ละเอียด หน้านี้ ไม่มากนัก จากนั้น ให้แทนเลข 1 ด้วยเลขลำดับถัดไป จนกระทั่งถึง section สุดท้าย ก็คงพอให้ทุกท่าน ได้สาระมาบ้าง จากคำสั่งที่ ๒ นี้
ก่อนจาก ขอให้เพื่อนรักนักอ่าน ศึกษาเรื่องของ C shell และ Born shell ให้ละเอียด จากหน้าคู่มือ
% man csh
% man sh
ขอร้องให้ท่านสละเวลาตรงนี้ให้มากมาก ไม่ใช่ สักนิด ล่ะครับ แต่ให้ศึกษาให้กระจ่างเถิด การใช้ชีวิตในโลกของ FreeBSD ของท่านจะสดใสราบรื่น อาจจะถึงขั้นร่ำรวย มีเงินไหลมาเทมาเลยก็ว่าได้
ขอถวายความดีจากข้อเขียนนี้ แด่พระสยามเทวาธิราช เนื่องในวันจักรี
4 comments:
เคยสังเกตุเลข ในวงเล็บ เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ไปหาสักทีว่าคืออะไรทั้ง ๆ ที่ก็แอบสงสัยอยู่ห่าง ๆ
วันนี้เลยได้กระจ่างเลย อิอิ เดี๋ยวไปนั่งอ่านหน่อยว่ามีอะไรบ้าง
ส่วนเปลือกหอยนี่ส่วนใหญ่ผมจะใช้ sh อ่ะ csh ไม่ค่อยได้ใช้ อิอิ
ขอบคุณมากครับ ที่แวะมาอ่านอยู่เสมอ
ปกติ csh ไม่ค่อยมีคนใช้นักหรอก แต่มันเป็นของ root น่ะ เลยแนะให้อ่านซะ ทั้ง ๒ คู่มือครับ
มาบ่อยๆน่ะครับ
ขอบคุณมาก
man 4 หอย ???
ปกติ ขอบกินมากว่าทำ
ผลสรุปก้อเลยเป็นตามที่ลุงว่านั้นแหละ
ต้องลองหาดูแล้วจิ ว่ามันเป็นอย่างไร ได้แต่ดูรูป
ยังไม่ได้คลำหาสักกะที
ลุง ไอ้หอย มันก้อคล้ายกันหรือป่าวคับ หรือ ต่างกันโดย
สิ้นเชิง
แน้
ลพบุรี อ็อย่าง ชลบุรี ก็อีกอย่าง ต่างกนันน่ั หอย ๒ ที่เนี่ย
Post a Comment