Saturday, August 8, 2009

FreeBSD: FDP ---> FreeBSD Documentation Project

FreeBSD เขามี source codes ให้ สำหรับผู้สนใจ นำไปพัฒนาcommands แยกเส้นทางออกมา เป็น สายการพัฒนา สำหรับตัวเอง โดย source codes ที่เขาให้มานั้น มีอยู่ ๓ ส่วนคือ

  1. โปรแกรมของระบบทั้งหมด ที่ทำให้เราสามารถสร้าง kernel และระบบของระบบปฏิบัติการ มาใช้เองได้
  2. ports tree ที่อนุญาตให้เรา สร้าง applications ต่างๆ มาใช้กับเครื่องของเราได้
  3. เอกสารทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น handbook, faq, บทความต่างๆ ที่เราสามารถอ่านได้ตรงๆ บนเครื่องของเรา โดยไม่จำเป็นต้องต่อกับ internet แต่อย่างไร และ หากว่าเราติดตั้ง apache ด้วยแล้ว เครื่องของเรา ก็สามารถเป็น mirrors ของ FreeBSD home page ได้

จะว่าไปแล้ว FreeBSD ก็นับว่า เป็นการปลดปล่อย ให้ผู้ฅน เป็นอิสระโดยแท้ ไม่จำเป็นที่เรา จะผูกมัดตัวเอง ไม่จำเป็นที่เรา จะนำตัวเองไปผูกมัด กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอาเถอะ เราหลบ ประเด็นนี้

ที่ใคร่ขอนำเสนองวดนี้ ก็ ข้อสุดท้ายของ source code ซึ่งก็คือเรื่องของเอกสาร เอกสารที่ สามารถบันดาล ให้คนธรรมดา กลายเป็น system administrators ได้โดยพลัน เอกสารที่ เป็นเรื่องที่ ต้องมี สำหรับผู้พัฒนา softwares

ในการที่จะสร้างชุดเอกสารนี้ เราต้องการ tools ซึ่งก็ไม่มีอะไร มากไปกว่า ports หนึ่งใน ports tree นั่นเอง กับ source codes ของชุดเอกสารนี้ พูดให้ชัดก็คือ tools ที่ต้องการ มีอยู่ ๒ อย่างคือ

  1. ports สำหรับสร้างเอกสาร จาก source codes และ
  2. ports สำหรับ ดูด หรือ ดึง source codes เอกสาร จากแหล่งเก็บ

เบื้องต้น จะแนะให้ติดตั้ง ports สำหรับสร้างเอกสาร อ้อสำหรับพี่พี่ ที่ยังไม่รู้เรื่อง ก็กรุณา มองๆทางด้านซ้ายมือที่ ป้ายกำกับ น่ะ ดูที่คำว่า ports แล้วกดไปเลย ท่านก็จะพบกับ links ที่เกี่ยวกับ ports ทั้งหมด ที่ blog นี้มีอยู่ ยังไงก็แล้วแต่ ตอนนี้ ขอให้ link ไปยัง ports ที่เขียนขึ้นน่ะ

การติดตั้งเครื่องมือแรก ก็ทำง่ายๆ ตามนี้น่ะครับ

# cd /usr/ports/print/teTeX
# make install
# make clean
# cd /usr/ports/textproc/docproj-jadetex/
# make install
# make clean
# cd /usr/ports/print/jadetex
# make install
# make clean

เครื่องมือแรก ก็ได้มาง่ายๆ วิธีนี้แหละ น่ะ เครื่องมือที่ ๒ ก็ติดตั้งผ่าน ports เหมือนกัน ก็เป็นเครื่องมือ สำหรับ ดูด หรือ ดึง เอกสารต้นฉบับ จากแหล่ง มายังเครื่องคอมพิวเตอร์เรา ง่ายๆ ตรงไปตรงมาเหมือนเดิม

# cd /usr/ports/net/cvsup-without-gui
# make install
# make clean

เมื่อได้เครื่องมือครบแล้ว ที่เหลือคือ การดูด เอกสารต้นฉบับ จากแหล่ง มายังคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งในการนี้ เราต้องการ การต่อเชื่อมกับ internet และ รู้แหล่งต้นฉบับ ที่จะดูดเอกสารมา กับแฟ้มที่โปรแกรม cvsup ต้องใช้

คำสั่งที่ใช้ ก็ ตามนี้เลยน่ะ

# cvsup -g -L 2 -h host doc-supfile

doc-supfile นั้น เป็นชื่อแฟ้ม ขอให้เปิดแฟ้ม แล้วให้มีรายละเอียด ไปตามนี้ก่อนน่ะ สงสัยค่อยถามมาอีกที

*default host=CHANGE_THIS.FreeBSD.org
*default base=/var/db
*default prefix=/usr
*default release=cvs tag=.
*default delete use-rel-suffix
*default compress
doc-all

ส่วน host นั้น ให้เลือกใช้ตามที่แนะไปในนี้ก่อนน่ะ ถามมาทีหลังอีกได้เช่นกัน

cvsup3.uk.freebsd.org
cvsup2.fr.freebsd.org
cvsup2.uk.freebsd.org

ให้เลือกเพียง host ใด host หนึ่งน่ะ

เมื่อได้ทุกอย่างครบแล้ว ก็ ลงมือสร้างเอกสารได้เลยน่ะ ภาษาของเอกสารที่จะสร้าง กำหนดด้วยตัวแปร DOC_LANG=en_US.ISO8859-1 ไว้ในแฟ้ม /etc/make.conf ก็ใช้ ทริค ที่แนะไว้ก็ได้ หรือจะเรียก editor มาแก้ไขแฟ้มเอาก็ได้ จากนั้น ก็ ตามนี้เลยน่ะ

# cd /usr/doc
# make  FORMATS=pdf   -DNICE_HEADERS  -DTWO_SIDE  -DBOOK_OUTPUT
# make  FORMATS=pdf   -DNICE_HEADERS  -DTWO_SIDE  -DBOOK_OUTPUT install

นานหน่อยน่ะ ที่สุด ท่านจะได้แฟ้มชื่อ book.pdf สำหรับในแต่ละเอกสารที่สร้างขึ้น ท่านสามารถ แวะเข้าไปอ่านดูได้ที่ /usr/share/doc/en_US.ISO8859-1 เลือกอ่านเอาได้ตามใจ ไม่ว่าจะเป็น books, articles ซึ่งก็มีอยู่ หลายเรื่อง ในแต่ละ ประเภท หรือ พี่ท่าน เลือกที่จะ พิมพ์ออกมาเป็น hard copy ใน รูปเล่ม สวยสวย ก็ยังได้

สำหรับคำถาม เช่น host หามาได้ยังไง หรือ รายละเอียดของแฟ้ม doc-supfile ทำไมต้องเป็นอย่างนี้ ฯลฯ เรียนเชิญถามมาได้เลยครับ

สำหรับ คำสั่งที่เพิ่มเติมด้วย สีแดงแดง ลงไปนั้น ท่านจะได้รูปเล่มที่มีสี และ พิมพ์ออก ๒ หน้า ครับ แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อค่ำ วันศุกร์ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๙ นาฬิกา ๔๐ นาฑี

Sun Aug 9 00:59:47 ICT 2009

4 comments:

dekdar said...

ไม่ได้มาคอมแมม แต่มาด้วยความคิดถึง
เป็นอย่างไรบ้างครับลุง สบายดีไหมครับ?
ไม่ได้ติดตาม(ตลอด)เสียนานเชียว
มัวแต่ทำระบบเครือข่ายของมหาวิทยลัย
ตอนนี้มีข่าวดีแล้วครับ ทุกตึกตอนนี้เริ่มเชื่อมกันแล้ว
ด้วยความช่วยเหลือจากๆ ทุกๆฝ่าย (อัลอัมดูลิละฮ์)

จากนี้คงได้เริ่มงานเราจริงเสียที อิอิ..
(และจะได้ติดตามบล็อกของลุงต่อ และตลอดไปครบ)
และขอคำปรึกษาลุงละกัน 555+

ขอให้ลุงสุขภาพแข็งแรงนะครับ
น้องบัช

มะขาม said...

ขอบคุณครับ ขอบคุณไม่ว่ากรณีไหนก็ ขอบคุณมาก
ก็สงสัยอยู่ว่า เอ ใครกันหนอ มาจาก ปัตตานี เข้ามาเยี่ยม blog เรา ที่แท้ก็ บัช นี่เอง

ขอบคุณกับความปราถนาดี และ ก็ขอให้ บัช สุขภาพดี งานการลุล่วงไปด้วยดีเช่นกันน่ะ

มะขาม/มะไฟ

dekdar said...

ขอบคุณคับลุง

มะขาม said...

บุญรักษาน่ะ


View My Stats