Wednesday, July 14, 2010

นิสิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย แวะมาเยี่ยมชม ศจ. ก็ ซึมไป เมื่อทราบว่าเขาเหล่านั้น มาจากแหล่งเดียวกัน และ ดีใจเหมือนได้พบความชุ่มฉ่ำจากน้ำใจน้องพี่

ยินดีต้อนรับ ทั้งในฐานะส่วนตัว และ ในฐานะ ตัวแทน ศจ. สทน. ในครานี้

ก็บอกพวกเขาไปถึง objective ของการจัดการกากฯ, philosophy ของการจัดการกากฯคือ 4D2C ซึ่งเมื่อรวมกับอีก ๒-๓ อย่างแล้ว ก็คือการป้องกันอันตรายจากรังสีดีดีนั่นเอง กับบอกถึง basic steps ในการจัดการกากฯ

เป็นครั้งแรก ที่เราบรรยาย โดยยืนหันเข้าหาบอร์ด และให้ นิสิตผู้มาเยี่ยมชม ยืนหันหลังให้บอร์ด เพราะเขาจะมองแต่บอร์ด ถ้าเขายืนในตำแหน่งที่เรายืนบรรยายในวันนี้

จากนั้นพาไปชมโรงเก็บกากฯ

คำถามที่เขาถามไว้

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็ตอบว่ากากฯ หากปฏิบัติงาน ก็ไม่ต่างกัน แต่ที่เป็นปัญหา คือแท่งเชื้อเพลิง ซึ่งมองได้ ๒ มุม คือ มีค่า และ ทิ้งเป็นกากฯ
เก็บกากฯไว้นานเท่าไหร ก็บอกครึ่งอายุของสารรัสีที่ยาวที่สุดไป Cs-137
ปริมาณมากมั้ย ก็ว่า ประมาณเท่าที่เห็น ในรอบ สามสิบปี
กากฯจะระเบิดมั้ย ก็บอก ถึง disposal system และการ siting ซึ่งบอกต่อไปถึง criteria ในการคัดเลือก แล้วชี้ให้เห็นถึง การพังทลายลงของ facilities จากแผ่นดินไหว นอกนั้น ไม่ระเบิดหรอก เพราะไม่ได้มีความเข้มข้นสูงพอ กับไม่ใช่สารรังสีที่สามารถ ผลิตระเบิดขึ้นมาได้
เสริมสมรรถนะ ก็ตอบไปว่า คงเอามาจากคำ enrichment คือการทำให้ความเข้มข้นของ U-235 สูงกว่าธรรมชาติ ไปยังความเข้มข้นที่เราต้องการ ซึ่งก็หมายถึงว่า ปกติ ก็เอาไป ผลิตแท่งเช้อเพลิง นั่นแหละ

ยังมี positional codes ที่ยังไม่รวลลรวมไว้ให้น่ะ รอแป้บหนึ่งน่ะ

วันนี้ขากลับบ้าน เดินออกมาเจอ วา ก็ให้สงสัยว่า วา บรรยายให้น้องๆเขารึเปล่า แต่เธอกำลังยุ่งกับมืิถือ เลยไปถามนรินทร์แทน เขาก็ตอบว่า นิสิตเข้าไปชมเครื่องปฏิกรณ์จริงๆ แต่ วา ไม่ได้บรรยาย รูปนี้คือ อนุสรณ์ เอวานันท์


เสียดายน่ะ วา น่าจะได้บรรยาย เพราะน้องหากเขารู้ เขาก็จะแสดงความยินดีด้วยกับ นิสิตปริญญาโท จากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


และนี่ ไฟวา

No comments:


View My Stats