Thursday, September 3, 2009

FreeBSD: sysinstall ---> Allocating Disk Space(cont.)

สร้าง partition ด้วย disklabel

มาถึงตอนนี้ ท่านต้องสร้าง partiton ขึ้นมาบ้างหละ ก็ สร้างขึ้นใน slice ที่ เพิ่งจะสร้าง มาแล้ว หยกๆนั่นแหละ และขอให้จำไว้ว่า แต่ละ partition นั้นใช้อักขระ จาก a ถึง h และก็ partition b c d นั้น มี ความหมาย ลึกซึ้ง เชิงประวัติศาสตร์ แอบแฝงอยู่ ที่ท่านควรจะคำนึงไว้ด้วย

บางโปรแกรม สามารถใช้ประโยชน์ จากการจัดระบบ partition โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อท่านวาง partition ข้าม disk มากกว่า ๑ ก้อน อย่างไรก็ตาม สำหรับหรณีนี้ ที่ท่านติดตั้ง FreeBSD เป็นครั้งแรก ท่าน ก็ไม่จำเป็น ต้องครุ่นคิดอะไรมากนัก เพื่อที่จะวาง partition ในครั้งนี้ สิ่งที่สำคัญกว่า ก็คือ ท่านควรติดตั้ง FreeBSD และ เริ่มต้น ใช้งานมันมากกว่า ท่านสามารถ ติดตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง และ เปลี่ยนผัง partition เมื่อ ท่านคุ้นเคย กับ ระบบปฏิบัติการ ดีแล้ว

ผัง partition นี้ แสดงให้เห็น ๔ partition คือ — ๑ swap และ ๓ filesystem

ตาราง ผัง Partition สำหรับ Disk ก้อนแรก

PartitionFilesystemขนาดคำบรรยาย
a/512 MBนี่คือ root filesystem ซึ่งทุกๆ filesystem จะแขวนไว้ที่นี่ ไม่ในที่ใด ก็ที่หนึ่งแหละ ขนาด 512 MB ก็สมเหตุสมผลแล้ว สำหรับ filesystem นี้ เพราะท่าน ไม่ต้อง เก็บข้อมูล อะไรมากนัก โดยปกติ การติดตั้ง FreeBSD จะกินเนื้อที่ ประมาณ 128 MB. เนื้อที่ที่เหลือ จะเอาไว้ สำหรับ ใช้งานทั่วไป และ เผื่อไว้ ถ้าในอนาคต FreeBSD ต้องการเนื้อที่ใน /.
    
bN/A2-3 x RAM

เนื้อที่สำหรับ swap ของระบบ จะถูกเก็บไว้ใน partition b. การกำหนดขนาด ของเนื้อที่นี้ ออกจาก ไม่มีหลักอะไรนัก นอกจาก ประสาทสัมผัส จากการ คร่ำหวอดในงาน. แต่ก็มีกฏทื่อๆอยู่ คือว่า เนื้อที่ของ swap นั้น ควรมีขนาด ประมาณ ๒ หรือ ๓ เท่าของ ปริมาณหน่วยความจำ(RAM) ที่มีอยู่. แต่อย่างน้อย swap ควรเริ่มตั้งแต่ 64 MB, ดังนี้แล้ว ก็ถ้า เครื่องของท่าน มีหน่วยความจำน้อยกว่า 32 MB ก็สามารถกำหนดให้ swap มีขนาด 64 MB.

ในกรณีที่ ท่านมี hard disk มากกว่า ๑ ก้อน ท่านสามารถกำหนดให้แต่ละก้อน มีเนื้อที่ swap ได้. กิจกรรมการ swap ก็จะรวดเร็วขึ้น เพราะ FreeBSD เขาจะใช้ swap ในแต่ละก้อนนั้นแหละ ทำงานในหน้าที่นี้. ในกรณีเช่นนี้ ก็กะขนาดของ swap ที่ต้องการ, 128 MB, แล้วแบ่งเกลี่ย ให้กับ hard disk แต่ละก้อนเท่าๆกัน ซึ่งถ้ามี ๒ ก้อน ก็ได้ก้อนละ 64 MB.

e/var256 MB to 1024 MBสาระบบแฟ้ม /var จะเก็บแฟ้ม ที่แปรเปลี่ยนสม่ำเสมอ เช่น log และ แฟ้มงานบริหารระบบ. แฟ้มเหล่านี้ จะอ่านจาก หรือ เขียนลง ยังงานประจำวันที่ FreeBSD ทำทั่วๆไปนั่นเอง. ซึ่งการนำแฟ้มเหล่านี้ ไปไว้ยัง filesystem อื่น ทำให้ เข้าหาแฟ้มดังกล่าว ได้รวดเร็ว โดย ไม่กระทบกระเทือน ต่อแฟ้มอื่นๆ ในสาระบบแฟ้มอื่น ที่ไม่มี pattern การเข้าถึงเหมือนกัน.
f/usrเนื้อที่ ที่เหลือ (อย่างน้อย 2 GB)แฟ้ม ที่เหลืออื่นๆของท่าน จะถูกนำมาเก็บไว้ที่ /usr และ สาระบบแฟ้มย่อย ของมัน.

คำเตือน: ค่าตัวเลข ที่ยกมานั้น เป็นเพียงตัวอย่าง และเหมาะสำหรับ ผู้ที่มีประสบการณ์เท่านั้น สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ใคร่ขอแนะให้ใช้ การวางผัง partition ที่เรียกว่า Auto Defaults ซึ่งมีให้โดย FreeBSD partition editor.

ข้างบน เป็นข้อความจาก handbook ขนาดของแต่ละ partition นั้น ได้กล่าวไว้ในตอนแรกแล้ว

ถ้าท่านจะต้องติดตั้ง FreeBSD บน disk มากกว่า ๑ ก้อนแล้ว ท่านต้องสร้าง partition บน slice อื่นที่ท่าน กำหนดไว้แล้วนั้น ด้วย. วิธีที่ง่ายที่สุด คือ สร้าง ๒ partiton บน disk แต่ละก้อน คือ ๑ partition สำหรับ swap และอีก ๑ partition สำหรับ filesystem.

ตาราง 2-3 ผัง Partition สำหรับ Disks ก้อนในลำดับถัดๆไป

PartitionFilesystemขนาดคำบรรยาย รายละเอียด
bN/Aดูรายละเอียดใน คำบรรยายก็อย่างที่บอกไว้ ท่านสามารถ แยกเนื้อที่สำหรับ swap ข้าม disk แต่ละก้อน. แม้ว่าจะดูเหมือนว่า partition a จะว่างไม่ได้ใช้, แต่โดยประเพณีนิยม กำหนดไว้ว่า เนื้อที่ของ swap นั้นต้องอยู่บน partition b.
    
e/disknพื้นที่ ที่เหลือของ diskพื้นที่ ที่เหลือของ disk จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ชิ้นเดียว ซึ่งสามารถเอาไว้ใน partition a ก็ได้ แทนที่ที่จะเอามาไว้ที่ partition e. อย่างไรก็ดี ประเพณีนิยม บอกว่า partition a ในแต่ละ slice นั้น สำรองไว้จำเพาะ filesystem ที่จะใช้เป็น root (/)เท่านั้น. ท่าน ไม่จำเป็น ต้อง ดำเนินรอยตาม จารีต นี้ก็ได้ แต่ sysinstall เขาทำตาม ปฏิบัติตาม, ดังนั้น การ ยอมตาม ในกรณีนี้ ทำให้การติดตั้ง ราบรื่น เรียบง่ายขึ้น. ขณะเดียวกัน ท่านสามารถ เลือกที่จะ วาง filesystem นี้ไว้ที่ไหนก็ได้; แต่ตัวอย่างนี้ ใคร่ขอแนะให้วางไว้ที่ สาระบบแฟ้ม /diskn, เมื่อ n แทนหมายเลขของ disk ก้อนนั้นๆ. เอาเถอะ ยังไง ท่านก็สามารถ กำหนดเอาได้ ตามใจชอบ.

เมื่อท่านเลือกผัง partition ได้แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่จะสร้างมัน โดย sysinstall. ซึ่งท่านจะเห็นข้อความนี้:

                                 Message
 Now, you need to create BSD partitions inside of the fdisk
 partition(s) just created. If you have a reasonable amount of disk
 space (200MB or more) and don't have any special requirements, simply
 use the (A)uto command to allocate space automatically. If you have
 more specific needs or just don't care for the layout chosen by
 (A)uto, press F1 for more information on manual layout.

                                [  OK  ]
                          [ Press enter or space ]

ก็ให้กดปุ่ม Enter เพื่อเริ่มต้นเรียก partition editor ของ FreeBSD ที่มีชื่อว่า Disklabel มาทำงาน.

รูป 2-18 แสดงหน้าจอ เมื่อท่านเริ่มเรียก Disklabel มาเป็นครั้งแรก. ซึ่งหน้าจอ จะถูกแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน.

สองสามบรรทัดแรก แสดงให้เห็นถึง ชื่อ ของ disk ที่ท่านกำลังทำงานอยู่ ในขณะนี้ และ slice ที่มี partition ที่ท่านกำลังสร้าง (ซึ่ง Disklabel เรียกมันว่า Partition nameมากกว่า ที่จะเรียกว่า ชื่อของ slice). หน้าจอภาพนี้ ก็แสดง เนื้อที่ว่าง ภายใน slice กล่าวคือ เนื้อที่ ที่จัดแยกไว้ต่างหาก แต่ยังไม่ได้กำหนดว่า เป็นส่วนของ partition ใด.

ตรงส่วนกลางของ หน้าจอภาพ แสดงถึง partition ที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว, ชื่อของ filesystem ที่แต่ละ partition มีอยู่, ขนาดของมัน และ อ้อฝชั่น อื่นๆบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง filesystem.

ส่วนล่างสุด ซึ่งเป็นส่วนที่ ๓ นั้น แสดงให้ทราบถึง ปุ่มต่างๆ ที่สามารถใช้ร่วมกับ Disklabel ในงานนี้ได้.

รูป 2-18. Sysinstall Disklabel Editor

Disklabel สามารถสร้าง partition ให้กับท่าน พร้อมกันนั้น ก็กำหนดขนาด ให้ด้วย โดยอัตโมัติ. ขนาดที่กำหนดมาให้นั้น คำนวณโดย algorithm ภายใน ในการหาขนาดของ partition ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ ขนาดของ disk. ก็ลองดู ตอนนี้เลยก็ได้นี่ โดยการกัดปุ่มตัว A. ท่านจะเห็นภาพที่แสดง คล้ายๆกันกับ รูป 2-19. ขึ้นอยู่กับขนาดของ disk ที่ท่านกำลังใช้งานอยู่ ค่าปริยาย อาจจะ หรือ อาจจะไม่พอเพียง. แต่ก็ไม่สลักสำคัญอะไร ในเมื่อท่านไม่จำเป็นต้องยอมใช้ ค่าปริยาย ที่ให้มานี้.

บันทึกช่วยจำ: การวางผัง partition โดยปริยายนั้น กำหนด partition ให้กับ สาระบบแฟ้มของ /tmp เป็นเอกเทศ แทนที่จะเป็น ส่วนหนึ่งของ / partition. ซึ่งจะช่วยให้ หลีกเลี่ยง การใช้เนื่อที่ของ / partition กับแฟ้มชั่วคราว.

รูป 2-19. Sysinstall Disklabel Editor เมื่อใช้ค่าปริยาย Auto

ถ้า ท่านเลือกที่จะไม่ใช้ค่าโดยปริยาย และปราถนา ที่จะกำหนดค่าเอง, ให้ใช้ปุ่มลูกศร เพื่อเลือก partition แรก และกัดปุ่มตัว D เพื่อลบมันออกไป ก็ทำซ้ำๆเช่นนี้ เพื่อลบส่วนที่เหลือ.

เพื่อที่จะสร้าง partition แรก (a, วางไว้ที่ / — root), ก็ให้แน่ใจว่า เลือก slice จากด้านบนของจอ ได้ถูกต้อง แล้วกดปุ่มตัว C. หน้าต่างโต้ตอบจะ ปรากฏขึ้น ถามท่าน ขนาดของ partition ที่จะสร้างขึ้นใหม่ (ตามที่แสดงใน รูป 2-20). ตัวเลขของขนาดนี้ ท่านสามารถ กรอกเป็น จำนวน block ของ disk ที่ต้องการใช้ หรือ ตัวเลขตามด้วย M สำหรับ megabytes, G สำหรับ gigabytes, หรือ C สำหรับ cylinders.

รูป 2-20. เนื้อที่ว่าง สำหรับ Root Partition

ค่าปริยาย ที่แสดงนี้ จะสร้าง partition ที่กินเนื้อที่ ทั้งหมดของ slice เลย. ถ้าท่านใช้ ขนาดของ partition ตามตัวอย่างก่อนหน้านี้ ก็ลบตัวเลขที่ปรากฏอยู่ ด้วยปุ่ม Backspace, แล้วพิมพ์ลงไป 512M, ตามที่เห็นใน รูป 2-21. จากนั้น กด [ OK ].

รูป 2-21. แก้ไขขนาดของ Root Partition

เมื่อเลือกขนาดของ partition แล้ว ท่านก็จะถูกถามต่อไปอีก ว่า partition นี้จะใช้เป็น filesystem หรือ swap. หน้าต่างโต้ตอบ ก็แสดงให้ดูใน รูป 2-22. สำหรับ partition แรกนี้ จะใช้เป็น filesystem ดังนั้น ก็เลือก FS และกด Enter.

รูป 2-22. เลือกชนิดของ Root Partition

ที่สุดแล้ว เนื่องจากว่าท่านกำลัง สร้าง filesystem ดังนั้น ท่านต้องบอกกับ Disklabel ว่า จะเอา filesystem นี้ วางไว้ ที่ไหน. หน้าต่างโต้ตอบ แสดงประกอบ เพื่อความกระจ่าง ใน รูป 2-23. rootfilesystem ปกติ จะวางไว้ที่ /, ดังนี้แล้ว ก็ขอให้พิมพ์ลงไปว่า / แล้วกด Enter.

รูป 2-23. เลือกจุดที่จะใช้วาง Root

หน้าจอภาพ ก็จะปรับให้ทันกับ ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง เพื่อแสดง parttion ที่สร้างขึ้นมาใหม่. ท่านก็ทำซ้ำ เช่นนี้ ไปเรื่อยๆกับ partition อื่นที่เหลือ. เมื่อท่านสร้าง swap partiton ท่านจะ ไม่ได้รับคำถามว่า จะเอาไปวางไว้ที่ไหน เพราะ swap partition จะไม่มีการ วาง หรือ แขวนไว้ เลย. เมื่อท่านสร้าง partiton สุดท้าย , /usr, ท่าน สามารถรับค่าของ ขนาด ของ partition ได้เลย.

หน้าจอภาพแสดงการแก้ไข DiskLabel ของท่าน จะดูคล้ายๆกับ รูป 2-24, แม้ว่า ค่าต่างๆที่ท่านใช้ จะไม่เท่ากัน ที่สุด กดปุ่ม Q เพื่อจบงาน.

รูป 2-24. Sysinstall Disklabel Editor

Sat Sep 5 14:38:33 ICT 2009

4 comments:

dekdar said...

สงสัยต้องหาเพือ่นร่วมก๊วนแล้วล่ะ
ข้อผิดพลาดครั้งก่อนยังจับบ่ได้เลย อิอิอิ
ขออนุญาตลุง ไปประชาสัมพันธ์เว็ปที่
นี้แล้วกัน (linuxthai.org) แม้จะเน้นด้าน linux (ผู้ขอ+ใช้)
แต่ดูแล้วอบอุ่นดี และเว็ปอื่น หากมีโอกาส
แล้วที่ thaibsd.com ลุงเคยประชาสัมพันธ์อ่ะเปล่าวครับ

บทความนี้ ยังรออยู่เช่นเดิม นะจีะ ป๊ะป๋ามะขาม อิอิ..

มะขาม said...

ขอบคุณมากครับ ตามสบายเลย

ลองคิดดูน่ะ ถ้า เราเอาความรู้เหล่านี้ ไปให้นักโทษ น่าจะดีน่ะ เพราะเมื่อเขาพ้นโทษมา เขามีวิชาติดตัว ทำมาหากินโดยสุจริตแน่นอน และ ลงทุนน้อยที่สุดด้วย

dekdar said...

ประชาสัมพันธ์ไปแล้วละ
เตรียมตัวรับคอมเม้น ได้เลยละกัน อิอิ

มะขาม said...

แฮะๆ ขอบคุณคร้าบบบ


View My Stats