ก็เห้นว่ามีเพื่อนรักนักอ่านเข้ามาค้นหา คำว่า วิธีใช้ elog แล้ววิ่งมายัง blog ก็ให้สงสัยว่าน่าจะเป็นเพื่อนๆชาวินโดว์มากกว่า เพราะถ้าหากว่า แฟนนิยมของ FreeBSD แล้ว แทบไม่ต้องถามถึงวิธีใช้กันเลยยังได้
แต่เอาเถอะน่ะ วันนี้วันสุข ก็จะขอบอกเล่าตามแบบแมวแมว ให้ได้เข้าใจ หากมีข้อสงสัยประการใดเพิ่มเติม ขอเรียนเชิญถามไถ่มาได้
จากที่ เคยลงมาแล้ว เมื่อย้อนไปดูอีกที ก็พบว่าได้ให้รายละเอียดไว้มากมาย จั้ดนักเจ๊า ยังนึกไม่ออกว่าจะเพิ่มเติมให้ในส่วนไหน
งั้นขอร่ายในเรื่องของการจัดแฟ้ม configuration หรือแฟ้ม elogd.cfg ก็แล้วกันน่ะ และระหว่างนี้ท่านสามารถ post คำถามมาได้ผ่านช่องทาง ความเห็น ที่ท้ายบทความนี้
แฟ้ม elogd.cfg นั้นเป็นแฟ้มเอกสารทั่วไป กล่าวคือเป็น plain ascii text files แหละครับ ไม่ใช่แฟ้มที่ต้องการ อะไร มาจัดรูปแบบ ให้พิสดารไป อย่างเช่น แฟ้มตระกูล pdf, doc, exe, xls อะไรพวกนี้เลย นี่หนึ่งล่ะ
แฟ้ม elogd.cfg เขาแบ่งส่วนต่างๆของเอกสารภายในด้วยอันที่เรียกว่า label โดย label เองจะอยู่ระหว่างวงเล็บสี่เหลี่ยม แบบนี้ [label] นี่หนึ่งล่ะ
label จะเริ่มต้นที่สดมภ์แรกเสมอ เอ จะเข้าใจมั้ยเนี่ย คือ มันต้องชิดซ้ายสุด แบบนี้
[global]
นั่นแหละ และก็อยู้โดดๆในบรรทัดนั้นของเขาเพียงอย่างเดียว อย่างตัวอย่างที่ยกมาให้ดูก็เป็นการเริ่มต้น label ที่ชื่อว่า global นั่นเองครับ นี่อีกหนึ่งล่ะ
การเริ่มต้นและสิ้นสุดของ label จะเริ่มดังได้กล่าวมาเมื่อครู่นี้ และสิ้นสุดเมื่อเริ่มต้น label ใหม่ หรือจบแฟ้มเอกสาร elogd.cfg นี่อีกหนึ่งล่ะ
label ที่ชื่อ global นั้นต้องมี นี่อีกหนึ่งล่ะ
ยกเว้น global แล้วเราอาจจะมองว่า label นั้นคือ logbook ก็ได้ นี่ก็อีกหนึ่งล่ะ
เพื่อให้พี่พี่เพื่อนๆ น้องๆได้เข้าใจมากขึ้น จากตัวอย่างของจริงที่ มะไฟ ยกมาให้ดู ในนั้นมีอยู่ ๔ label คือ global ปูมประจำัน งานเข้า รายงาน ตามลำดับ และ label ที่ชื่อว่า รายงาน เป็นอันสุดท้าย เน้าะ นี่ก็อีกหนึ่งล่ะ โดยรวมแล้ว เอกสารก็เป็นแบบนี้
[global]
....
[ปูมประจำวัน]
....
[งานเข้า]
....
[รายงาน]
.....
ใน label ทั้งหมด global ต้องมี และมีไว้สำหรับทุก logbook ที่ใช้งานกับ configuration นี้
รายละเอียดของแต่ละ label ซึ่งก็คือ logbook นั่นแหละ จะอยู่ในรูป
keyword = value
เช่น
port = 8080
ก็หมายถึงว่า ใช้ port สำหรับการติดต่อกับ server ที่หมายเลข 8080 ดังนี้ เป็นต้น
keyword ที่สำคัญคือ Attributes ซึ่งจะหมายถึง field ต่างๆที่เราต้องการจะเก็บ และค่าต่างๆของแต่ละ field นั้น เราสามารถระบุไว้ตายตัวเลย เป็นเบื้องต้นได้ ด้วย keyword ที่ชื่อ Options
เพื่อให้เกิดความกระจ่าง ตัวอย่างที่ยกมาจะเป็นบันทึก ใบลา เราก็สร้าง , ส่วนของ configuration file, elogd.cfg ดังนี้
[ใบลา]
Attributes = ชื่อ, วดป, ประเภท
โดยที่ ชื่อ ก็คือ ชื่อของคนที่ส่งใบลา และ วดป ก็หมายถึง วัน เดือน ปี ที่ส่งใบลา และ ประเภท ก็หมายถึง ประเภทการลาว่า ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาราชการ
ดังนี้แล้ว Attributes ที่ชื่อ ประเภท เท่านั้น ที่มาสามารถ ระบุไว้ล่วงหน้าได้ ด้วย Options ดังนี้
Options ประเภท = ลากิจ, ลาป่วย, ลาพักผ่อน, ลาราชการ
ซึ่งเมื่อรวมส่วนของ configuration file มาก็เป็นดังนี้
[ใบลา]
Attributes = ชื่อ, วดป, ประเภท
Options ประเภท = ลากิจ, ลาป่วย, ลาพักผ่อน, ลาราชการ
หวังว่าคงพอเข้าใจน่ะ
ทีนี้ บาง options เรากำหนดว่า ให้สามารถระบุเพิ่ม online ได้ แบบนี้แล้ว เราก็เพียงกำหนดด้วย keyword ที่ชื่อ extendable options ดังนี้
Extendable Options = ประเภท
และบางที เรากำหนดไปเลยว่า อย่างน้อยๆ ต้องบอกชื่อแน่นอน ไม่บอกไม่ได้ เราก็กำหนดด้วย keyword ชื่อ required attributes ดังนี้
Required Attributes = ชื่อ
ซึ่งเมื่อดูโดยรวมสำหรับใบลาแล้วก็จะเป็น
[ใบลา]
Attributes = ชื่อ, วดป, ประเภท
Options ประเภท = ลากิจ, ลาป่วย, ลาพักผ่อน, ลาราชการ
Extendable Options = ประเภท
Required Attributes = ชื่อ
Options ชื่อ = ไก่, นก, ปลา, ฝ้าย, น้อย, เอียด, เบียบ
Extendable Options = ชื่อ
แค่นี้เอง ง่ายมากเลย เน้าะ และ ๒ บรรทัดท้ายสุดนั้น เพิ่มมาเอง ลองคิดตามดูซิว่า ทำไม
สำหรับตัวอย่างใน blog ที่ มะไฟ ยกมานั้น มะไฟ hack เอาจาก demo และผ่านการทดลองแบบ ลองผิด ลองถูกมาพอควร เอาไปใช้ได้เลยน่ะ แต่ไม่รับรองในทุกเรื่อง
label หรือ logbook สมารถจัดให้อยู่ใน group เดียวกันได้ ด้วย keyword ที่ชื่อ Group ตัวอย่างเช่น
Group มะไฟ = ปูมประจำวัน, งานเข้า
Group KPI = รายงาน
ก็เพียงจัดกลุ่มเพื่อให้พอดูง่ายๆขึ้น เท่านั้นเอง ก็ลองลองดูน่ะครับ
keyword อื่นๆ ใน elogd configuration นั้นมันก็อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้วบ้างพอสมควร ไม่ยากเกินที่จะเข้าใจหรอกครับ ยกเว้นเรื่องที่ลึกๆเกี่ยวข้องกับเทคนิค ของคอมพิวเตอร์ล้วนๆ ซึ่งท่านต้องรู้เองเท่านั้น
แฟ้ม elogd.cfg เขาแบ่งส่วนต่างๆของเอกสารภายในด้วยอันที่เรียกว่า label โดย label เองจะอยู่ระหว่างวงเล็บสี่เหลี่ยม แบบนี้ [label] นี่หนึ่งล่ะ
label จะเริ่มต้นที่สดมภ์แรกเสมอ เอ จะเข้าใจมั้ยเนี่ย คือ มันต้องชิดซ้ายสุด แบบนี้
[global]
นั่นแหละ และก็อยู้โดดๆในบรรทัดนั้นของเขาเพียงอย่างเดียว อย่างตัวอย่างที่ยกมาให้ดูก็เป็นการเริ่มต้น label ที่ชื่อว่า global นั่นเองครับ นี่อีกหนึ่งล่ะ
การเริ่มต้นและสิ้นสุดของ label จะเริ่มดังได้กล่าวมาเมื่อครู่นี้ และสิ้นสุดเมื่อเริ่มต้น label ใหม่ หรือจบแฟ้มเอกสาร elogd.cfg นี่อีกหนึ่งล่ะ
label ที่ชื่อ global นั้นต้องมี นี่อีกหนึ่งล่ะ
ยกเว้น global แล้วเราอาจจะมองว่า label นั้นคือ logbook ก็ได้ นี่ก็อีกหนึ่งล่ะ
เพื่อให้พี่พี่เพื่อนๆ น้องๆได้เข้าใจมากขึ้น จากตัวอย่างของจริงที่ มะไฟ ยกมาให้ดู ในนั้นมีอยู่ ๔ label คือ global ปูมประจำัน งานเข้า รายงาน ตามลำดับ และ label ที่ชื่อว่า รายงาน เป็นอันสุดท้าย เน้าะ นี่ก็อีกหนึ่งล่ะ โดยรวมแล้ว เอกสารก็เป็นแบบนี้
[global]
....
[ปูมประจำวัน]
....
[งานเข้า]
....
[รายงาน]
.....
ใน label ทั้งหมด global ต้องมี และมีไว้สำหรับทุก logbook ที่ใช้งานกับ configuration นี้
รายละเอียดของแต่ละ label ซึ่งก็คือ logbook นั่นแหละ จะอยู่ในรูป
keyword = value
เช่น
port = 8080
ก็หมายถึงว่า ใช้ port สำหรับการติดต่อกับ server ที่หมายเลข 8080 ดังนี้ เป็นต้น
keyword ที่สำคัญคือ Attributes ซึ่งจะหมายถึง field ต่างๆที่เราต้องการจะเก็บ และค่าต่างๆของแต่ละ field นั้น เราสามารถระบุไว้ตายตัวเลย เป็นเบื้องต้นได้ ด้วย keyword ที่ชื่อ Options
เพื่อให้เกิดความกระจ่าง ตัวอย่างที่ยกมาจะเป็นบันทึก ใบลา เราก็สร้าง , ส่วนของ configuration file, elogd.cfg ดังนี้
[ใบลา]
Attributes = ชื่อ, วดป, ประเภท
โดยที่ ชื่อ ก็คือ ชื่อของคนที่ส่งใบลา และ วดป ก็หมายถึง วัน เดือน ปี ที่ส่งใบลา และ ประเภท ก็หมายถึง ประเภทการลาว่า ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาราชการ
ดังนี้แล้ว Attributes ที่ชื่อ ประเภท เท่านั้น ที่มาสามารถ ระบุไว้ล่วงหน้าได้ ด้วย Options ดังนี้
Options ประเภท = ลากิจ, ลาป่วย, ลาพักผ่อน, ลาราชการ
ซึ่งเมื่อรวมส่วนของ configuration file มาก็เป็นดังนี้
[ใบลา]
Attributes = ชื่อ, วดป, ประเภท
Options ประเภท = ลากิจ, ลาป่วย, ลาพักผ่อน, ลาราชการ
หวังว่าคงพอเข้าใจน่ะ
ทีนี้ บาง options เรากำหนดว่า ให้สามารถระบุเพิ่ม online ได้ แบบนี้แล้ว เราก็เพียงกำหนดด้วย keyword ที่ชื่อ extendable options ดังนี้
Extendable Options = ประเภท
และบางที เรากำหนดไปเลยว่า อย่างน้อยๆ ต้องบอกชื่อแน่นอน ไม่บอกไม่ได้ เราก็กำหนดด้วย keyword ชื่อ required attributes ดังนี้
Required Attributes = ชื่อ
ซึ่งเมื่อดูโดยรวมสำหรับใบลาแล้วก็จะเป็น
[ใบลา]
Attributes = ชื่อ, วดป, ประเภท
Options ประเภท = ลากิจ, ลาป่วย, ลาพักผ่อน, ลาราชการ
Extendable Options = ประเภท
Required Attributes = ชื่อ
Options ชื่อ = ไก่, นก, ปลา, ฝ้าย, น้อย, เอียด, เบียบ
Extendable Options = ชื่อ
แค่นี้เอง ง่ายมากเลย เน้าะ และ ๒ บรรทัดท้ายสุดนั้น เพิ่มมาเอง ลองคิดตามดูซิว่า ทำไม
สำหรับตัวอย่างใน blog ที่ มะไฟ ยกมานั้น มะไฟ hack เอาจาก demo และผ่านการทดลองแบบ ลองผิด ลองถูกมาพอควร เอาไปใช้ได้เลยน่ะ แต่ไม่รับรองในทุกเรื่อง
label หรือ logbook สมารถจัดให้อยู่ใน group เดียวกันได้ ด้วย keyword ที่ชื่อ Group ตัวอย่างเช่น
Group มะไฟ = ปูมประจำวัน, งานเข้า
Group KPI = รายงาน
ก็เพียงจัดกลุ่มเพื่อให้พอดูง่ายๆขึ้น เท่านั้นเอง ก็ลองลองดูน่ะครับ
keyword อื่นๆ ใน elogd configuration นั้นมันก็อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้วบ้างพอสมควร ไม่ยากเกินที่จะเข้าใจหรอกครับ ยกเว้นเรื่องที่ลึกๆเกี่ยวข้องกับเทคนิค ของคอมพิวเตอร์ล้วนๆ ซึ่งท่านต้องรู้เองเท่านั้น
No comments:
Post a Comment