โรงงาน และ การปฏิบัติงาน
เมื่อหลายสิบปีก่อนนู้น ม.เกษตรศาสตร์ เขามีจักรยาน ให้ นิสิตเกษตรฯ ได้ขับขี่ไปทั่ว ในรั้วมหาวิทยาลัย เพราะอาณาบริเวณ นั้นกว้างขวางอยู่อักโข แต่ก็ทราบมาอีกด้วยเช่นกันว่า ที่เชียงใหม่ นักศึกษา ส่วนใหญ่เขาใช้มอเตอร์ไซด์กัน ความแตกต่าง ไม่ได้อยู่ที่พื้นที่กว้างใหญ่ แต่กลับอยู่ที่มันเป็นภูเขา
หากนักศึกษาปั่นจักรยานขึ้นเขา ก็ได้หนื่อยตายกันพอดี
จักรยาน กับ มอเตอร์ไซด์ มันต่างกันยังไง นั่นแหละ ความแตกต่างของ การทำงานแบบ manual และ automatic ล่ะ
ก่อนหน้านู้น ไปอีกนิด ทราบมาว่าเคยมี Little Honda ที่สามารถใช้เป็นทั้ง มอเตอร์ไซด์ได้ และใช้เป็นจักรยานได้ ในเครื่องเดียวกัน อันนี้ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของ เครื่องจักที่ทำงานแบบ automatic แล้วกลับมาทำงานแบบ manual ได้อย่างดี คือบอกได้ว่า นี่ไง ทำงานแบบ manual
อีกหนึ่งตัวอย่าง ก็ ในเครื่องบิน ที่ยังไงเสียก็บินแบบแมนน่วล ผู้โดยสารเขาถึงจะภูมิใจ และ รู้สึกปลอดภัยมากกว่าที่จะทราบว่า เป็นเที่ยวบินแบบ auto-pilot
ตัวอย่างหลังนี่ เพียงเพื่อให้รู้ว่า ยังไงเสีย แม้จะวิ่งด้วยเครืองยนต์กลไก แม้จะใช้คน operate แต่ ไม่ได้หมายความว่า การ operate แบบ manual นั้น คนต้องไปหมุนใบพัด หรือออกไปยืน คุมดูเครื่องยนต์ว่า ทำงานเต็มสปีดส์รึเปล่า อะไรทำนองนั้น เปล่าเลย คน ก็เพียงมาคุมที่ห้องนักบิน หรือ ค้อคพิต cockpit นั่นแหละ
เบ็ดเสร็จแล้ว การ operate เครื่องจักร หรือ โรงงานแบบ automatic นั่นหมายเอาถึงว่า คนผู้ที่ operate ปกติ ไปยืนที่ control console แล้วกดปุ่มสั่งงานไป เครื่องจักร มันก็ทำงานของมันไปเป็นปกติ โดยไม่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เพราะถ้า เกิดอาการเสีย ของหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ขึ้นมาแล้ว การดำเนินงาน ย่อมต้องหยุดลงทันควันทันที
ในโรงงาน ที่มีเพียงปั้มและไปป์ เป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนใหญ่นั้น หากบอกว่า ทำงานแบบแมนน่วลค่ะ อันนี้ไม่ได้หมายความเป็นอย่างอื่นหรอก นอกจากว่า องค์ประกอบของโรงงานมัน broken ซึ่งก็คือ มันไม่ทำงานนั่นแหละ
แล้วจะทำอย่างไรกับโรงงานที่มัน ทำงานแบบแมนน่วลค่ะ นี้ ทั้งๆที่รู้อยู่ดีว่ามันไม่ทำงาน หรือ เก่าแก่เกินซ่อมแซม การตีสำนวนแบบ ฟัดซีลอจกส์ ลอยหน้าลอยตาบอกว่ามันทำงานได้เนี่ย ....เกินไป
Tuesday, June 14, 2011
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment