Wednesday, November 2, 2011

คำขอ จากผู้เดือดร้อน

ตอนนี้ เกือบสุดท้ายแล้ว เป็นการแนะนำถึง การใช้งาน

จะนำรูปภาพมาเสนอ ประกอบคำอธิบายสั้นๆ  รูปภาพ จับด้วยโปรแกรมประเภท screenshot และตัดแต่งอีกที ด้วย gimp โดย จิตรกรจำเป็น ดังนั้น บางรูปจึงดูทื่อมะลื่อ แต่ก็สอดคล้องกับที่ฝรั่งว่า KISS -- Keep It Simple and Stupid.

บนพื้นฐานว่า ขอบเขตงาน นั้นเป็นไปตามที่ได้ยกร่างมา และ ปรับแก้ไขแล้ว สุดท้าย ตามนี้น่ะครับ ตามข้างล่างนี้เลย

[global]
Max Content length = 125829120 ;; 128m
List Menu Commands = New, Find, Select, CSV Import, Help
Date format = %a, %B %d, %Y
Time format =  %a, %B %d, %Y %T
;; ปูมประจำวัน คือ คำขอ
Group น้ำท่วม = ปูมประจำวัน, งานเข้า
Group KPI = รายงาน
Welcome Title = <p><b>ปูมบันทึกงาน</b></p>
charset = utf-8
port=8000
Main Tab = บันทึกคำขอความช่วยเหลือ
Page Title = Thailand 2011 flooding

[ปูมประจำวัน]
Theme = default
Comment =  บันทึกงานทั่วไป คำขอรับบริจาค จากผู้ประสบภัยน้ำท่วม
Menu Commands =  List, New,  Edit, Delete, Reply, Duplicate, Find, Help
Attributes =  ผู้รับแจ้ง, บัตรประชาชน, ชื่อนามสกุล, ที่อยู่อาศัยเดิม, สถานที่พักพิงปัจจุบัน, ระดับความเดือดร้อน, ความเดือดร้อน, หมายเลขมือถือ, POC, สถานะความช่วยเหลือ, Rev
Locked attributes = Rev
Subst on Edit Rev = $Rev<br>$date
Options ระดับความเดือดร้อน = คนป่วย, ภายใน ๑ ชั่วโมง, ภายในครึ่งวัน, ภายในวันนี้, ภายในสองวันนี้, ภายในสัปดาห์นี้
Options ความเดือดร้อน = ต้องการน้ำดื่ม, แบตเตอรีมือถือหมด, ผ้าอนามัยหมด, ผ้าห่ม, ประจุแบตเตอรี
Extendable Options = ความเดือดร้อน
Options สถานะความช่วยเหลือ = มอบหมายผู้รับผิดชอบแล้ว, เริ่มดำเนินการ, เร่งด่วน, ติดตามงานครั้งที่ ๑, ติดตามงานครั้งที่ ๒, ลำเร็จ, ได้รับรายงานแรกแล้ว, งานสำเร็จ, รอมอบหมาย
Reverse sort = 1
Required Attributes = ผู้รับแจ้ง, บัตรประชาชน, ชื่อนามสกุล, ที่อยู่อาศัยเดิม, สถานที่พักพิงปัจจุบัน, ระดับความเดือดร้อน, ความเดือดร้อน, หมายเลขมือถือ, POC, สถานะความช่วยเหลือ
Quick filter = Date, บัตรประชาชน

[งานเข้า]
Theme =default
Comment = กำหนดผู้รับผิดชอบ เข้าคิวรอ มอบหมายงาน
Menu Commands =  List, New,  Edit, Delete, Reply, Duplicate, Find, Help
Attributes = ลำดับคำขอ, ระดับสำคัญ,  หัวหน้าทีม, สาระสั้นๆ, รายงานแรก, ผลลัพธ์, rev
Options ระดับสำคัญ = คนป่วย, ภายใน ๑ ชั่วโมง, ภายใน ๑ วัน, ภายใน ๒ วัน, ภายในสัปดาห์นี้
Options รายงานแรก = พบเป้าหมายแล้ว, พบ POC แล้ว
Extendable Options = รายงานแรก
Required Attributes = ลำดับคำขอ, ระดับสำคัญ,  หัวหน้าทีม, สาระสั้นๆ, รายงานแรก
Locked attributes = rev
Subst on Edit rev = $rev<br>$date
Reverse sort = 1

[รายงาน]
Theme = default
Comment = ผลลัพธ์การปฏิบัติงาน
Menu Commands =  List, New,  Edit, Delete, Reply, Duplicate, Find, Help
Attributes = ลำดับคำขอ, หัวหน้าทีม, เส้นทาง, อุปสรรค, ระยะเวลาการเข้าถึง, ผลลัพธ์, ข้อเสนอแนะ, rev
Locked attributes = rev
Subst on Edit rev = $rev<br>$date
Required Attributes = ลำดับคำขอ, หัวหน้าทีม, เส้นทาง, อุปสรรค, ระยะเวลาการเข้าถึง, ผลลัพธ์, ข้อเสนอแนะ


เรียกใช้งาน
 ภาพแรกนี้ เป็นการบอกถึงการเรียกใช้งาน ซึ่ง แม้จะรู้ๆกันอยู่ ก็ต้องบอก
ใช่แล้วครับ ให้เรียก web browser ยอดฮิตของท่าน แล้วไปที่ http://localhost:8000/ ตามที่ระบุไว้ในรูปนี้ คือ ถ้าท่านลงที่เครื่องไหน ก็ให้ใช้ที่เครื่องนั้นแหละ เอายังงี้ไปก่อน แม้ว่า จะสามารถต่อกับ internet ได้ก็ตามที อย่างตอนนี้ มะไฟ ก็เปิดทิ้งไว้อยู่ ถ้าต่อมา ก็อาจจะติด http://wmc.homeunix.org:8000/

รายละเอียดบางส่วนในหน้าแรก
รูปถัดมา แสดงให้เห็นถึง Group ต่างๆ ที่ระบุไว้ในส่วน [global] นั้น กลุ่ม KPI ก็คือตัวชี้วัดแหละ กลุ่ม น้ำท่วม ก็รวมเอา บันทึกของ ปูมบันทึกประจำวัน และ งานเข้า มาไว้ด้วยกัน



ส่วน หรือ section ต่างๆ
ขอให้สังเกตุว่า ข้างล่างของบันทึกนั้น จะมีข้อความอยู่ ซึ่งทำให้เราเข้าใจถึง บันทึก นั้นๆว่า เป็นบันทึกของอะไร ตรงนี้เอง ที่ปรากฏในแฟ้ม elogd.cfg เป็น Comment  ซึ่งดูว่าจะ mis leading อยู่บ้าง เน้าะ ว่ามั้ย

Welcome Title และ Page Title
 รูปถัดมาแสดงให้เห็นถึง ไตเติลต่างๆ ที่ระบุไว้ในแฟ้ม elogd.cfg ในส่วน [global] นั้น

หวังว่าพี่ๆ ทุกท่านคงพอได้แนวความคิดบ้าง เผื่อจะนำไปประกอบกับ ขอบเขตงาน ของพี่ท่านเอง น่ะครับ  ลำดับถัดมา มะไฟ จะเข้าไปในส่วน [ปูมประจำวัน] โดยการกด mouse ตรงตัวหนังสือนั้น มาให้ได้ดูกัน

ภายในส่วน [ปูมประจำวัน]
เมื่อพี่เข้ามาในนี้แล้ว ก็จะเห็น ภายใน ของบันทึก เป็นอย่างนี้ ทุก บันทึก เมื่อแรกเริ่ม จะเป็นแบบนี้ เหมือนกันหมด สำหรับการเข้ามาครั้งแรก จะต่างกัน ก็ ตรง Attributes เท่านั้นเอง
tab ต่างๆ
 รูปนี้ แสดงให้เห็นถึง tab เพื่อใช้สำหรับการ navigate ไปยังส่วนต่างๆ ของ บันทึก
ตามที่เรากำหนดไว้นั้น บันทึกนี้ มี ๒ Group กับ ๑ Main tab อันซ้ายสุดนั้น เมื่อเรากด มันจะนำเรากลับไปหน้าแรกทันที tab ที่เหลือ ถัดมา ก็จะบอกถึง Group ต่างๆที่มีที่จัดไว้

เนื่องจากเราเข้ามาด้วยการเลือก ปูมประจำวัน ดังนั้น tab น้ำท่วม กับ บันทึกชื่อ ปูมประจำวัน จึงถูก highlight ด้วยสีน้ำเงิน  ถ้าท่านย้อนไปดูแฟ้ม elogd.cfg ในส่วนของ [ปูมประจำวัน] นั้น ตรง Comment เขาเขียนว่าอะไร แล้ว มันอยู่ตรงไหน ในรูปล่าสุด ที่ชื่อ tab ต่างๆ นี้  คงพอเข้าใจแล้ว ใช่ไหมครับว่า มันทำหน้าที่อะไร Comment น่ะ

ขอบเขตงาน หรือ Attributes
รูปถัดมา บอกให้เรารู้ถึง ขอบเขตงาน ที่เราได้ยกร่างไว้ และ แก้ไขสุดท้ายแล้วนั้น มันมาอยู่ตรงไหนของบันทึก ใช่แล้วครับ ที่ปรากฏในแฟ้ม elogd.cfg ว่า Attributes ของแต่ละ ส่วน นั่นแหละ

เริ่มต้นบันทึก
บันทึกข้อมูล
ลำดับถัดไป, รูปชื่อ เริ่มต้นบันทึก, จะบอกว่า ถ้าเราจะเพิ่ม record หรือ เริ่มบันทึก จะทำอย่างไร ก็เพียงแค่ กดตรงเมนู ที่ชื่อ New นั้นแหละครับ ที่เมื่อกดเข้าไปแล้ว ก็จะพบกับกรอบสี่เหลี่ยม ให้เรากรอกข้อมูล บันทึกเรื่องราวลงไปทันที ตามรูปชื่อ บันทึกข้อมูลนี้

รายละเอียดต่างๆของหน้าบันทึกข้อมูล
รูปถัดมา เอาอวัยวะภายใน ของกรอบบันทึกข้อมูล มาแสดงให้ดู จะไม่อธิบายหละ เพราะในนั้น ก็บอกไว้แล้วค่อนข้างละเอียด ชัดเจนดี แต่ขอให้สังเกตุว่า Attributes นั้น มันตรงตามขอบเขตงาน ที่เราได้วางไว้เลย และ อันไหน ที่ต้องเติม ทิ้งว่างไม่ได้ ก็จะมีดาวแดงกำกับอยู่  อีกส่วนหนึ่ง ที่อยากให้สังเกตุ และถือเป็นหัวใจของการบันทึก ก็คือ เนื้อที่ว่างๆ ส่วนใหญ่ด้านล่างนั้น บริเวณนั้น ใช้สำหรับบันทึกเรื่องราว อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างข้อมูลที่บันทึกไว้
ข้อมูลที่ Submit แล้ว
ตัวอย่างของข้อมูล ที่กรอกไว้พอให้มี record , รูปชื่อ ตัวอย่างข้อมูลที่บันทึกไว้, เมื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ให้ท่านกด Submit ด้านล่างของ Comment  ในรูปชื่อ ตัวอย่างข้อมูลที่บันทึกไว้ นั่นแหละ

ถึงตอนนี้, รูปชื่อ ข้อมูลที่ Submit แล้ว, หากเห็นว่าต้องการแก้ไข ก็เพียงกดที่เมนู Edit เท่านั้น แต่จะไม่ขอแนะนำ เพราะการแก้ไข ทำให้เกิดข้อมูลเพิ่มเติม รุงรังขึ้นมาโดยไม่จำเป็น

หน้า List บันทึก
เรากลับไปหน้าแรกรับ คำขอบริการ ด้วยการกดเมนู List ในรูปชื่อ ข้อมูลที่ Submit แล้ว ที่อยู่ด้านล่าง Comment (เหมือนในตอน Submit ) ซึ่งที่สุดแล้ว เราก็กลับมา รอรับการบันทึกใหม่ พร้อมกับแสดงถึงข้อมูลที่ได้บันทึกไว้แล้ว ตามรูปชื่อ หน้า List บันทึก

หน้าแรก
เรากลับสู่ Main tab โดยการใช้ mouse กดไปที่ บันทึกคำขอความช่วยเหลือ ตรงด้านบนสุด ซ้ายสุด ในรูป หน้า List บันทึก นั้น มองเห็นมั้ยครับ บริเวณ ที่เคยบอกว่าเป็น แถบนำทาง ต่างๆ นั่นแหละ ซึ่งที่สุด เราจะเห็นหน้าแรกอีกครั้ง แต่คราวนี้ มีบันทึกเพิ่มมาแล้ว

มะไฟ เพียรอธิบาย การใช้งาน อย่างคร่าวๆด้วยภาพ เพียงเพื่อให้พี่ๆ น้องๆทั่วไป แม้ไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์เลย ก็น่าจะใช้งานได้ หวังว่า คงพอสร้างความเข้าใจ ในการใช้งานขึ้นมาบ้าง

ขอให้พี่ๆ ทดลองใช้งานดู หากมีข้อสงสัยอะไร โปรดอย่ารีรอ ถามมาเถอะครับ jotawski at gmail dot com

โปรแกรม elog นี้ สามารถปรับใช้งานได้หลายลักษณะ ตามที่ demo ให้ดูแล้ว หากเห็นว่าเกิดประโยชน์ ก็นำไปใช้งานได้โดยเต็มที่ เต็มกำลัง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายใดใด ส่วนเรื่องของ copy right copy left หรือ copy middle อะไรนั้น อย่าไปกังวลด้วยเช่นกัน เพราะเราไม่ได้ไปแตะ ในส่วนของ source codes เขา

ที่สุด มะไฟ ขอมอบเอกสารชุดนี้ ให้กับอาสาสมัคร ทุกท่าน ที่ลำบากตรากตรำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม อยู่ในขณะนี้ แม้ มะไฟ จะไม่สามารถ ออกไปช่วยภาคสนามได้ แต่ มะไฟ ก็พอมีปัญญา บ้างเล็กน้อย จึงใคร่ขออาสา ในส่วนที่ตนเองถนัด ด้วยวิธีนี้ 

หากจะพอมี คุณงามความดี อันใดมาบ้าง ขอยกให้กับ คุณแม่-คุณพ่อ ครูบาอาจารย์ แล ผู้อุปถัมภ์ค้ำชู ทุกท่าน  

ขาดตกบกพร่อง ผิดพลาดประการใด มะไฟ ขอน้อมรับไว้แต่โดยดี โดยผู้เดียว

_/\_

กรุณากดที่ elog ตรง คำสำคัญ ด้านล่างนี้ เพื่อดูเอกสารทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง

2 comments:

dekdar said...

ขอขอบคุณในความมีจิตอาสา และช่วยเหลือทุกๆ ท่านครับลุง

มะขาม said...

ครับผม
ก็ทำ เท่าที่ทำได้ ช่วย เท่าที่ช่วยได้ครับ
ทางใต้ ละครับ มากันรึยังครับ น้องน้ำน่ะ


View My Stats