Thursday, March 1, 2012
FlOSS และงานด้านวิทยาศาสตร์
และในที่สุด วิทยาศาสตร์เอง ที่ว่าต้องเผยแพร่ผลงานออกมานั้น กว่าจะเปิดเผยออกมาให้เป็นที่ยอมรับได้ มันต้อง ทำซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า แทบแม้กระทั้งว่า คนกวาดถนน ก็ยังทำซ้ำกับเจ้าของเรื่อง และให้ผลลัพธ์เหมือนกันด้วย
ข้อจำกัดทุกวันนี้ มีมากขึ้น เมื่อ งานด้านวิทยาศาสตร์ ต้องพึ่งพา คอมพิวเตอร์ ทั้งตัว hardare และ software แม้ว่าตัว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เอง ซึ่งที่สุดแล้ว ต้องตีพิมพ์ออกมาสู่สาธารณะนั้น กลับไม่ให้เปิดเผย
Reproducibility คืออะไรล่ะ อันนี้ นักวิทยาศาสตร์เองน่าจะให้คำตอบที่ดีที่สุดได้น่ะ
จากอุปสรรค หรือข้อจำกัด ด้านนี้ ทำให้ความต้องการที่จะใช้ Free & libre open source software มีมากขึ้น เพราะมันทำไม่ให้ขัด กับ หลักเกณฑ์ทางด้านวิทยาศาสตร์
ต่างประเทศ เขาเริ่มกันแล้ว ทั่วโลก บางส่วนนั้นก็ใช้กัน เพียงจำกัดกันในวงแคบๆ ในหมู่คณะที่ร่วมกันทำงาน เช่นที่ แคนาดา ที่ มะไฟ เคยไปรับทราบสักเมื่อร่วมยี่สิบปีที่แล้วมานั้น เขาก็ใช้ linux กัน หรือแม้กระทั่งเดี๋ยวนี้ หากพวกท่าน ท่านใดท่านนึง เคยได้ยินเพื่อนๆพูดว่า
ใช้กว้อคซิ
นั่นแหละ กว้อค ก็คือ gawk ซึ่งตัว g เองก็เป็นตัวเดียวกันกับ และแทน GNU นั่นเอง
ตื่นได้แล้วมั้ง ส่วนราชการไทย อย่ามัวแต่คุยโวโอ้อวดสรรพคุณผ่านทางตัวหนังสือ วิไสยทัด สาระพัด (สาระ)พัน(ธุร)กิจ เลย มันฟังไม่ขึ้นหรอก software แต่ละตัว มันแพง กลับไปซื้อ ทั้งที่ก็พอเขียนเองได้
ไม่อายรึไง
หลวงพ่อ Mitsuo ท่านเทศน์ให้ฟังเรื่องความอาย ที่เมืองกาญจน์ กลับไม่จำ น่ากลัวว่าคงต้องให้ ขี้แตกคากางเกง ซะล่ะกระหมั่งหนาถึงจะสำนึกรู้สึกตัว
คำสำคัญ:
awk(1),
FLOSS,
gawk,
reproducibility,
science
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment