Friday, April 6, 2012

ยามภาษาไทย

ยามภาษาไทย
เคยได้อ่านหนังสือ จากสมาคมนิสิตเก่าฯ เขาส่งมาให้ ที่พูดถึง ยามภาษาไทย ยาม ที่หมายเอา ถึงการอยู่ยาม คอยตรวจ จับ สิ่งผิดปกตินี่แหละ (แต่ตอนนี้หนังสือเล่มนั้นคงจมอยู่กองไหนก็ไม่รู้แล้ว ช่วงที่น้ำท่วม เอาแต่จับโยนๆลงถุง พอซาลง จนป่านนี้ ยังคงเก็บออกไม่หมดเลย)

ขออนุญาต ไม่ใช้ราชาศัพท์น่ะครับ

เป็นความคิดของ รัชกาลที่ ๕ ท่าน มาเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๖ แล้วก็ดูว่าซบเซาไป

ก็ดูเหมือนว่า วันที่ ๒ ที่ผ่านมา ที่เตลิดเปิดเปิงไปไหว้พระแก้ว แต่ต้องแวะระหว่างทาง ที่ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เพราะเจ้ากรรมนายเวร เธอยืนเชิญชวนให้เข้าไป หลังจากออกมาจาก ที่ได้ไปพบลูกชาย ที่หอพักของนักศึกษาของ มจพ. แล้วนั้น

ได้เข้าไปชมเพียงชั่วครู่ แล้วหมายมั่นว่า ต้องไปอีกให้ได้ เพราะวันนั้น ต้องรีบเข้าไปในวัดพระแก้ว ก่อนที่เขาจะปิด ในวันนั้น ได้หนังสือมา ๑ เล่ม ชื่อ เล่าเรื่องพระจอมเกล้า อ่านแล้ว ได้สาระมาก เข้าใจดีด้วย

ในหน้า ๔๑-๔๒ มีเรื่องที่ ร.๔ ท่านเสนอให้ใช้คำ เยื่อเคย น้ำเคย แทนคำ กะปิ น้ำปลา แต่คนไทยเขาก็ยังใช้ กะปิ น้ำปลา จนในที่สุด ก็ต้องเปลี่ยนกลับมาใช้ กะปิ น้ำปลา ตามที่ชาวบ้านเขาใช้ในชีวิตประจำวัน

เมื่ออ่านหนังสือเล่มนั้นมาถึงตอนนี้ แล้วให้นึกถึงหนังสือเล่มที่ว่า ไม่รู้อยู่ไหนนั่นแล้ว นั้นขึ้นมาทันที เพราะเข้าใจเอาเองว่า ยามภาษา นี้ คงเชื่อมโยงกับเรื่องที่ ร.๔ ท่านคิดขึ้นมาด้วยรึเปล่า ทิ้งเอาไว้ให้เปนหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์เขาไปไล่เรียงความจริงออกมา ดีกว่า

ความจริง ภาษาไทยแท้นั้น เดี๋ยวนี้ กลับกลายเป็นคำหยาบคายไปแล้ว รึเปล่า เพราะดูว่า สั้นๆ ห้วนๆ โดดๆ เท่าที่นึกออกมาได้ จากที่เคยเรียนเมื่อ พ.ศ ๒๕๐๙-๒๕๑๑ ลักษณะภาษาไทยทุกวันนี้ มีภาษาอื่นเข้ามาเสริมแทนมากขึ้น นอกเหนือไปจากที่เราต้องใช้ ภาษาบาลี ปะปนอย่างเป็นทางการมากมายอยู่แล้ว ก็เลยทำให้ คำไทยแท้นั้น กลายเป็นคำ เถื่อน หยาบ ไปรึเปล่า ไม่รู้ได้เหมือนกัน

ลองดูซิ ความหมาย และ การใช้งานของคำว่า ซอง ว่าจะใช้แทนคำฝรั่งว่า package ได้หรือไม่ เมื่อ package ในที่นี้ หมายเอาถึง container ที่บรรจุ อะไร ลงไปไว้ในนั้น และ อะไร ที่ว่านี้ มีรูปแบบแน่นอนด้วย ใช่สักแต่ว่า จะจับทุกสิ่งทุกอย่างปะปนกัน โยนลงไป ก็หาใช่ไม่

waste package = ซองกาก

No comments:


View My Stats