โซล |
ใน ตอนล่าสุด ที่ผ่านไปก็เพียงแต่ลากเพื่อนๆเข้าไปดูรายละเอียดต่างๆในภายในของ ZMS ที่เราได้ Add ไปแล้ว เท่านั้นเอง
ZMI หลัก ที่เพิ่ม ZMS แล้ว |
ในรูปที่เห็น ตรงวงเขียวๆเส้นหนาๆนั้น ถ้าท่านลากสายตาไปทางขวาซึ่งกินเนื้อที่ส่วนมากของภาพ ท่านจะพบกับคำว่า Folder at /
ตรงนี้ ให้สังเกตุตรงเครื่องหมาย slash ให้ดี มันดูว่าเป็นเพียงแค่ขีดเอียงๆขีดเดียวเท่านั้น แต่ มันมีความหมายมากน่ะ เพราะมันคือ 1 object เลยทีเดียว เรื่องนี้ ท่านสมควรไปหาสาระลึกๆเอาเองได้น่ะครับ จะไม่เขียนในนี้หละ
ในรูป ที่นำมาให้ดู คงเห็นวงแดงๆ ทั้ง ๒ วงที่อยู่ใน ๒ ส่วนของภาพน่ะครับ นั่นแหละ ZMS ที่ท่านเพิ่ง Add ไปนั่นแหละครับ อันเดียวกันครับ อันเดียวกัน ทั้ง ๒ เป็น object เดียวกัน
ขอให้สังเกตุว่า ทางซ้ายมือ (ซึ่งต่อไปจะขอเรียกทางซ้ายมือ อันกินเนื้อที่ส่วนน้อยของภาพว่า ส่วนจัดการ ก็แล้วกันน่ะครับ) นั้น มีเครื่องหมายบวก แปะข้างหน้าคำ myInit อยู่ด้วย ... ลองดูซิครับ ลองกดที่เครื่องหมายบวกนั้นดู
เห็นคำว่า content พร้อมๆกับรูปกระต้อปเล็กๆที่แปะข้างซ้ายไหมครับ เห็นไหม ที่ มะขาม วงดำๆเอาไว้นั่นแหละครับ ..... ถ้าท่านกดตรงคำว่า content ท่านก็จะเห็นของที่เคยผ่านมาแล้ว
ขอให้สังเกตุคำว่า WWW-site เอาไว้ให้ดี
ให้ท่านกดไปที่ Tab Preview น่ะ กดเลยครับ นั่นแหละ zms ที่ท่านมีอยู่
เอาล่ะ ขยับไป ส่วนจัดการ กดตรง content อีกครั้ง แล้วกดที่ WWW-site นั่นครับ
ให้เข้าไปแก้ไขตรง Short title, Title, Description ซึ่งถ้าท่านตั้งใจทำกับงาน กับปัญหาจริงๆ ท่านก็ ได้งานจริง รึอย่ากจะทดลงอไปเรื่อยๆ ก็ไม่ว่ากัน ... กด Save ครับ แล้ว Preview ดูน่ะ
กด ส่วนจัดการ ที่ content อีกครั้งครับ แล้วเลื่อน scroll bar ทางขวามือ ลงมาด้านล่างๆ ตรง folder ทั้งหลายน่ะ พอเห็นไหมครับ จากรูป ที่เอามาให้ดู ตรงที่วงแดงๆไว้นั้นแหละ จะว่าไป ก็เป็น แถบนำทาง หรือ navigator น่ะ
แถบนำทาง |
ข่าว แนวคิดพื้นฐาน กรณีศึกษา ดาวโหลด ความร่วมมือทางวิชาการ บริการ
กับแต่ละ Folder เหล่านั้น คราวที่นำเสนอผลงานให้กับยอดคน ในครั้งหนึ่ง
อ้อ Galleria นั้น เอาไว้เก็บรูป ที่เกี่ยวข้องกับงาน รูปที่ท่านสามารถนำเสนอได้ ก็นำมาไว้ตรงส่วนนี้ได้
กับการที่ท่านทำงานด้วย ส่วนจัดการ และ เนื้อหา (เรียกกันรวมๆว่า zmi) ไปพร้อมกันเช่นนี้เอง ทำให้ zope มันพอมีเสน่ห์ในตัวอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อยหละ
ส่วนที่เหลือ ก็คงไม่ยากแล้ว กับทุกท่านที่ฉลาดเป็นกรดกันทั้งนั้น
ถ้าท่านอยากเห็นว่า หน้าตามันเป็นอย่างไรก็ใช้ web browser เรียกไปที่ http://localhost:8080/ หรือ port หมายเลขอะไรก็ตามแต่ที่ท่านได้กำหนดไว้ใน zope configuration นั้นๆ
มะฃาม นำ zope มาใช้งานครับ นำมาใช้งาน
อ้อ อย่าลืมไปดู log ด้วยน่ะ
ที่สุด ก็ขอขอบคุณท่านพี่ อ. วิริยะ กลิ่นเสาวคนธ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่กรุณาแนะนำ ให้ได้รู้จักกับ zope และช่วยในหลายเรื่องที่เกี่ยวกับการแสดงผลด้วยภาษาไทย ขอบขอบคุณอาจารย์ ไว้ ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง
มะฃาม ฅนเดินดิน
มะไฟ ฅนเหลิงฟ้า
เอาไว้กลับจากชนบท แล้วจะมาแก้ไขเล็กๆน้อยๆ ในส่วนที่บกพร่อง
No comments:
Post a Comment