Thursday, November 22, 2012

ศัพท์นิวเคลียร์ ฉบับชาวบ้าน

ในช่วงต้นเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๕ นี้ มีงานออกพรรษา และระหว่าง ๓-๔ พย ก็ได้ไปทอดกฐินออกพรรษา แม้ว่าพี่ชาญ หรือพี่หน่อย ท่านจะว่าผ้าป่า แต่เราก็จะเรียกว่ากฐิน เอาเถอะ ได้บุญมาบอกเพื่อนๆด้วย แม้จะล่าไปโขอยู่ แต่เข้าใจว่าบุญยังพอมี ได้โปรดอนุโมทนาสาธุเอาเองน่ะครับ

 ก็ช่วงนั้นเอง ที่มีข่าวเกี่ยวกับการขนย้ายสารรังสีที่สงขลา และก็มีการฆ่ากันตายด้วย (เอาภาษาชาวบ้านๆน่ะครับ) ช่วงนั้นด้วยเช่นกัน ที่รองผู้ว่าจังหวัดสงขลา ท่านมาให้ข่าวสดสดทางทีวี และก่อนจบ ผู้ประกาศข่าว ก็เอ่ยว่า ...กระทุ้งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ... ทำเอาท่ารองฯ ถึงกับแย้งเอาสดสดเหมือนกันว่า โปรดอย่าใช้คำว่ากระทุ้งเลย ก็เป็นอันไม่มีการกระทุ้งมาอีก แต่ความเป็นจริง ปส. จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารรังสี ผู้ประกอบการหรือไม่นั้น ก็ไม่มีอันใดที่จะปกปิดกัน ส่วนที่ว่าจะมาประกาศให้ทราบกันทุกๆสามเดือน หกเดือนนั้น ก็คงต้องดูถึงความเหมาะสมกันอีกที เพราะ ปส. เป็นเพียงหน่วยงานที่ออกใบอนุญาต และกำกับควบคุมให้ปลอดภัย

แต่จะว่าไปแล้ว ผู้ประกอบการ และชุมชน ก็ควรมีส่วนร่วมด้วยน่ะ ซึ่งอันนี้เองมั้ง ที่มักจะทำให้ชาวบ้านฉุนขาดน้อตหลุดไปซะทุกที เมื่อมารู้เรื่องเอาทีหลัง ทั้งๆที่ก็ควรจะมีส่วนร่วม ในการ ให้-ไม่ให้-ไม่เห็นด้วย ... ฯลฯ ตั้งแต่ต้น

เอาเถอด ผ่านไปแล้วก็ผ่านไป แต่อย่าให้ซ้ำรอยเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ ในคราวโคบอลนั้นอีกก็แล้วกัน

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ใช้อักษรย่อชื่อหน่วยงานว่า ปส. งานที่สำคัญยิ่งคือ licensing process หรือการออกใบอนุญาต   ก็แล ปส. นี้ ตามตำราว่ากันแล้ว ก็คือ regulatory body นั่นแล ท่านเอย

เอกชนที่ใช้สารรังสีนั้น จะว่าไปก็น่า หากจะขยายความให้เขื่องกันแล้ว จะเป็น ผู้จัดการ nuclear facilities ก็ยังได้ ซึ่งก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการได้นี่ เขาต้องมีคุณสมบัติ สาระพัด สาระพัน หนึ่งในคุณสมบัติคือ ownership หรือความสามารถในการเป็นเจ้าของ ของสิ่งสิ่งนั้น เพราะเหตุที่ว่า โดยเมื่อผิดขึ้นมาแล้ว ต้องรับผิดอย่างเดียว

แต่ก็ไม่เคยเห็นใครรับผิดเต็มๆเลย(ว่ะ)

เอาเถอะยุติเอาไว้ตรงนี้ ประเดี๋ยวจะเตลิดเปิดเปิงไปกันใหญ่

ระหว่างที่พักที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว ยโสธรนั้น ไม่ได้ติดตามข่าวสารอะไรเลย เอาแต่มุ่ง ... ไปข้างหน้าอย่างเดียว

พอกลับมาบ้าน ก็ทราบว่า กระทรวงวิทย์ เขารื้อฟื้น ONRC Project ขึ้นมาใหม่ กะจะเอาให้ได้ 50MW รึเปล่า ไม่รู้ แล้วค่อยมาสะสางกันอีกทีละกัน แต่ที่อยากเรียนถาม สทน. ก็คือว่า เปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานจาก สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มาเป็น สำนักงานเทคโนโลยีนิวเคลียร์(สทน) แล้วหรือไร เพราะเห็นสื่อ มติชนรายวัน เขาลงเอาไว้ ในวันที่ ๔ พย. ๒๕๕๕ ในหน้า ๑๒ ว่าอย่างนั้น

นี่ ก็อีกเหตุหนึ่งน่ะ ที่สื่อ ควรเข้มแข็งกับเรื่องราวที่ตนเองนำเสนอกันบ้าง

กราบขออภัย หนังสือพิมพ์มติชนรายวันเอาไว้ ณ ที่นี้ด้วย มิได้มีเจตนาให้ท่านเสียหายแต่ประการใด  เพราะ มะไฟเอง ก็ยังเขียน ชื่อหน่วยงาน ตกหล่นไปเหมือนกันครับ ลืม แห่งชาติ ไป  แล้วก็ หัวเรื่องนั่น ฉบับ ก็เขียนเป็น ฉับบ   มาแก้แล้วหละครับ

วกกลับมาเรื่องที่ กระทรวงฯ มีความต้องการที่จะฟื้นโครงการนี้มาอีกครั้ง ยังไงก็ยกร่างสัญญาใหม่ให้หมดเลยเถอะ น่ะ อย่าให้ประเทศไทยเสียเปรียบอีกเลย นอกเหนือไปจากการที่ระบุความต้องการกำลังเครื่องปฏิกรณ์ให้สูงขึ้นแล้ว เอาให้พอดีกับอนาคตสิบปีข้างหน้าดีกว่า อย่าให้ล้ำหน้ามากไปนัก  อย่างเช่นกับการที่จะมี evaporators นั้น ก็ดูว่า เว่อไป เด้อ

แล้วอีกอย่าง การตั้งเตาเผากากกัมมันตรังสี เอาไว้ใกล้ๆกับอาคารผลิตไฮโซโทปนั้น ก็ดูว่ายากแก่การที่จะผ่านการประเมินน่ะ  ไม่ต้องใช้วิชาอะไรมากเลย สามัญสำนึกพื้นๆนี่แหละ

กราฟ ที่นำมาให้ดูนั้น ก็เพื่อจะบอกว่า จำนวนผู้เข้าชมที่พุ่งปรู้ดสูงนั้น เขาเข้ามาอ่าน ศัพท์นิวเคลียร์ ฉบับชาวบ้านกัน  หลังสัปดาห์ที่ไม่อยู่นั่นแหละครับ  เข้าใจว่า คงเป็นทีมงานของ ดร. อนุช หรือเปล่าก็ไม่แน่ใจนัก  แต่ มะไฟ ก็ขอขอบคุณเอาไว้ที่นี้ เป็นอย่างสูง ที่สละเวลาอันมีค่าของท่าน เข้ามาอ่านเอกสาร

_/\_

No comments:


View My Stats