เรามาต่อกันในเรื่องของแฟ้ม /usr/local/etc/elogd.cfg กันให้หมดทั้งสามส่วนที่เหลือ คือ
[ปูมประจำวัน]
....
[งานเข้า]
...
[รายงาน]
ซึ่งคราวนี้จะขอยกไวยากรณ์ขึ้นมาอธิบายเป็นรายข้อๆไป
Theme = default
Comment = บันทึกงานทั่วไป คำขอรับบริจาค จากผู้ประสบภัยน้ำท่วม
บรรทักแรก อธิบายตัวเองดีอยู่แล้ว เป็นธีมของหน้า browsers ซึ่งทำให้คนที่แม้จะไม่เข้าใจคอมพิวเตอร์ ก็ยังสามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้ สำหรับบรรทัดที่ ๒ นั้น แม้จะเป็น Comment แต่ก็จะเป็นข้อความ ที่ปรากฏในหน้าแรก ภายใต้ ส่วน (section) นั้นๆ เพื่อให้เราเข้าใจว่า ส่วน นั้นๆ ทำอะไรบ้าง
Menu Commands = List, New, Edit, Delete, Reply, Duplicate, Find, Help
ก็บอกชัดเจนอีกเช่นกันว่า ใน ส่วน นี้มีคำสั่งอะไรที่สามารถใช้ได้บ้าง และ จะปรากฏอยู่ในรูปแบบของเมนู ขอให้ดูตรง New Edit และ List เอาไว้ด้วย มันก็อธิบายตัวเองอยู่ในตัวว่า เพิ่มของใหม่เข้ามา แก้ไข และ นำมาดูพร้อมๆกับรายการอื่น
Attributes = ผู้รับแจ้ง, บัตรประชาชน, ชื่อนามสกุล, ที่อยู่อาศัยเดิม, สถานที่พักพิงปัจจุบัน, ระดับความเดือดร้อน, ความเดือดร้อน, หมายเลขมือถือ, POC, สถานะความช่วยเหลือ, Rev
อันนี้แหละ ที่เคยบอกไว้ว่า ได้นำขอบเขตของเรื่องราวมากระจายลงในแต่ละ ส่วน ไว้ ก็ Attributes นี่แหละครับ
ท่านอาจจะแปลกใจว่า เมื่อมีหมายเลขบัตรประชาชนแล้ว ทำไมต้องมีชื่อด้วย จะเอาแต่ ชื่อ-นามสกุล เท่านั้น มาไม่ได้หรือ ขอเรียนชี้แจงว่า คนที่ชื่อ ไพรัช ศรีโยธา เท่าที่รู้ มี ๒ คนครับ ผู้ชายทั้งคู่ ต่างกันที่หมายเลขบัตรประชาชนเท่านั้น มันขำไม่ออกน่ะครับ
Locked attributes = Rev
อันนี้ ผมไม่ต้องการให้พี่ท่านมาเสียเวลากรอก รีวิชั่น แต่จะกำหนดเอาไว้ให้เลย มันจะมีประโยชน์ตอนแก้ไข records ครับ เวลาแก้ไขที field นี้ ก็จะเปลี่ยนค่าไปทุกทีโดยอัตโนมัติ ซึ่ง รูปแบบ จะปรากฏข้างล่างนี้
Subst on Edit Rev = $Rev<br>$date
อธิบายไว้แล้ว ข้างบนนั้น
Options ระดับความเดือดร้อน = คนป่วย, ภายใน ๑ ชั่วโมง, ภายในครึ่งวัน, ภายในวันนี้, ภายในสองวันนี้, ภายในสัปดาห์นี้
Options ความเดือดร้อน = ต้องการน้ำดื่ม, แบตเตอรีมือถือหมด, ผ้าอนามัยหมด, ผ้าห่ม, ประจุแบตเตอรี
Extendable Options = ความเดือดร้อน
เรากำหนดค่าต่างๆไว้ก่อน ให้กับแต่ละ field ด้วยไวยากรณ์ Options ครับ ส่วน field ไหนที่ คิดว่า สามารถเพิ่มอีกได้ ก็ให้กำหนดไว้ในไวยากรณ์ Extendable Options ตามที่ยกตัวอย่างมาให้ดูนี้แล้ว
เมื่อเข้าไปใช้งาน จะเห็นเป็นลักษณะ drop down selection สำหรับค่าที่กำหนดไว้แล้ว เราเลือกเอามาค่าใด ค่าหนึ่ง ซึ่งถ้าเห็นว่ามีค่าใหม่ ก็ไปกำหนดเพิ่มได้ ข้างๆกันนั้นแหละ และค่าที่กำหนดใหม่นี้ ก็จะไปเพิ่มให้เป็น ค่าที่กำหนดไว้แล้ว โดยอัตโนมัติ เลย
Reverse sort = 1
Required Attributes = ผู้รับแจ้ง, บัตรประชาชน, ชื่อนามสกุล, ที่อยู่อาศัยเดิม, สถานที่พักพิงปัจจุบัน, ระดับความเดือดร้อน, ความเดือดร้อน, หมายเลขมือถือ, POC, สถานะความช่วยเหลือ
Quick filter = Date, บัตรประชาชน
เรียงย้อน แต่จะทำให้ดูง่ายขึ้น
Attributes ที่ ยังไงก็ต้องใส่ ไม่ใส่ไม่ได้ เวลาใช้งาน จะเห็นดาวแดง กำกับไว้ด้วย
Quick filter ก็บอกว่า เอาไว้เรียงลำดับ ตาม field ที่กำหนดมา
สาระของแฟ้ม elogd.cfg เท่าที่ต้องใช้ เท่าที่ต้องรู้เป็นเบื้องต้น ก็มีเท่านี้ หากสนใจ สามารถศึกษาเอาเองได้ on line เลยครับ
อนึ่ง ที่ต้องรู้ และ ต้องจำไว้เลยคือ โปรแกรมนี้ เขาวิ่งด้วย user/group จำเพาะ ดังนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของแฟ้ม /usr/local/etc/elogd.cfg นี้ จึงควรกำหนด ให้สอดคล้องไปตามนั้นด้วย ไม่เช่นนั้น เวลาที่เรา เพิ่มเรื่องใน Attributes ที่สามารถเพิ่มได้อีก (ตรงที่ระบุไว้ใน Extendable Options), เช่น รายงานแรก หรือ ความเดือดร้อน, ไปจากที่ได้กำหนดไว้ให้แล้วนั้น มันจะมี errors เกิดขึ้น ทำนองว่า ไม่สามารถเขียนลงแฟ้มนี้ได้ ซึ่งทำได้ง่ายๆโดยสั่ง
# chown elog:elog /usr/local/etc/elogd.cfg
หนเดียวเท่านั้น ก็ใช้ได้ตลอดไป
Tuesday, November 1, 2011
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment