Tuesday, November 1, 2011

คำขอ จากผู้เดือดร้อน

จากกระทู้ที่แล้ว เมื่อคืนนี้ ไล่ๆดูแล้ว พบว่ายังมีแมลง หรือ bugs เพียบเลย แฟ้ม configurations ที่นำเสนอไปนั้น อย่าเพ่อนำไปใช้โดยไม่ปรับแก้ก่อนน่ะครับ นั่นแหละ เพียบเลย ที่ว่าก็อยู่ในแฟ้มนี้แหละ

ขอให้ดู พอให้ได้แนวคิดของการทำงาน และ เพื่อเพิ่มเติมเอาเองทีหลังเท่านั้นก่อนน่ะครับ

เท่าที่ได้แก้ไขแฟ้ม /usr/local/etc/elogd.cfg ไปนั้น ล่าสุดก็ตามนี้เลย


[global]
Max Content length = 125829120 ;; 128m
List Menu Commands = New, Find, Select, CSV Import, Help
Date format = %a, %B %d, %Y
Time format =  %a, %B %d, %Y %T
;; ปูมประจำวัน คือ คำขอ
Group น้ำท่วม = ปูมประจำวัน, งานเข้า
Group KPI = รายงาน
Welcome Title = <p><b>ปูมบันทึกงาน</b></p>
charset = utf-8
port=8000
Main Tab = บันทึกคำขอความช่วยเหลือ
Page Title = Thailand 2011 flooding

[ปูมประจำวัน]
Theme = default
Comment =  บันทึกงานทั่วไป คำขอรับบริจาค จากผู้ประสบภัยน้ำท่วม
Menu Commands =  List, New,  Edit, Delete, Reply, Duplicate, Find, Help
Attributes =  ผู้รับแจ้ง, บัตรประชาชน, ชื่อนามสกุล, ที่อยู่อาศัยเดิม, สถานที่พักพิงปัจจุบัน, ระดับความเดือดร้อน, ความเดือดร้อน, หมายเลขมือถือ, POC, สถานะความช่วยเหลือ, Rev
Locked attributes = Rev
Subst on Edit Rev = $Rev<br>$date
Options ระดับความเดือดร้อน = คนป่วย, ภายใน ๑ ชั่วโมง, ภายในครึ่งวัน, ภายในวันนี้, ภายในสองวันนี้, ภายในสัปดาห์นี้
Options ความเดือดร้อน = ต้องการน้ำดื่ม, แบตเตอรีมือถือหมด, ผ้าอนามัยหมด, ผ้าห่ม, ประจุแบตเตอรี
Extendable Options = ความเดือดร้อน
Options สถานะความช่วยเหลือ = มอบหมายผู้รับผิดชอบแล้ว, เริ่มดำเนินการ, เร่งด่วน, ติดตามงานครั้งที่ ๑, ติดตามงานครั้งที่ ๒, ลำเร็จ, ได้รับรายงานแรกแล้ว, งานสำเร็จ, รอมอบหมาย
Reverse sort = 1
Required Attributes = ผู้รับแจ้ง, บัตรประชาชน, ชื่อนามสกุล, ที่อยู่อาศัยเดิม, สถานที่พักพิงปัจจุบัน, ระดับความเดือดร้อน, ความเดือดร้อน, หมายเลขมือถือ, POC, สถานะความช่วยเหลือ
Quick filter = Date, บัตรประชาชน

[งานเข้า]
Theme =default
Comment = กำหนดผู้รับผิดชอบ เข้าคิวรอ มอบหมายงาน
Menu Commands =  List, New,  Edit, Delete, Reply, Duplicate, Find, Help
Attributes = ลำดับคำขอ, ระดับสำคัญ,  หัวหน้าทีม, สาระสั้นๆ, รายงานแรก, ผลลัพธ์, rev
Options ระดับสำคัญ = คนป่วย, ภายใน ๑ ชั่วโมง, ภายใน ๑ วัน, ภายใน ๒ วัน, ภายในสัปดาห์นี้
Options รายงานแรก = พบเป้าหมายแล้ว, พบ POC แล้ว
Extendable Options = รายงานแรก
Required Attributes = ลำดับคำขอ, ระดับสำคัญ,  หัวหน้าทีม, สาระสั้นๆ, รายงานแรก
Locked attributes = rev
Subst on Edit rev = $rev<br>$date
Reverse sort = 1

[รายงาน]
Theme = default
Comment = ผลลัพธ์การปฏิบัติงาน
Menu Commands =  List, New,  Edit, Delete, Reply, Duplicate, Find, Help
Attributes = ลำดับคำขอ, หัวหน้าทีม, เส้นทาง, อุปสรรค, ระยะเวลาการเข้าถึง, ผลลัพธ์, ข้อเสนอแนะ, rev
Locked attributes = rev
Subst on Edit rev = $rev<br>$date
Required Attributes = ลำดับคำขอ, หัวหน้าทีม, เส้นทาง, อุปสรรค, ระยะเวลาการเข้าถึง, ผลลัพธ์, ข้อเสนอแนะ


มีส่วนที่ต้องปรับขอบเขตงานออกบ้าง คือ ลำดับเรื่องนั้น เขากำหนดมาแล้ว เราไม่ต้องไปเดือดร้อนเลย เช่นเดียวกันกับ วัน เดือน ปี สิ่งที่เราต้องทำเพิ่ม มีเพียงเลือกใช้รูปแบบให้เหมาะสมกับที่เราต้องการ เท่านั้นเอง

ขอให้ดูในส่วนของ Attributes ของทุกๆ section ทั้งหมดน่ะครับ ว่าต่างไปจาก ขอบเขตงานเดิมที่ได้วางไว้อย่างไรบ้าง จากขอบเขตงานที่ได้ร่างๆไว้ เมื่อนำมาใช้ร่วมกับ elog ทำให้ต้องแยกงานออกเป็นสามส่วนคือ
  1. ปูมประจำวัน เพื่อรับงาน
  2. งานเข้า เพื่อจ่ายงาน และ
  3. รายงาน เพื่อสรุปงานที่ได้ทำไป ขณะเดียวกัน จะไปปรับสถานะงานในข้อแรกนั้นด้วย
และการที่ต้องมานั่งกำหนดรายละเอียดในแฟ้ม elogd.cfg นี้ ก็เพราะมันมีผลต่อรูปแบบของ human to computer interface ที่เราต้องทำงานด้วย เท่านั้นเอง

แฟ้มนี้ มีองค์ประกอบเป็นส่วนๆไป แต่ละส่วนจะใช้วงเล็บก้ามปูแยก เช่น [รายงาน] คือส่วนที่เรียกว่า รายงาน จะมีกี่ส่วนก็ได้  อย่างน้อยต้องมี [global]

แต่ละส่วนจะเริ่มด้วยการปรากฏของวงเล็บก้ามปู ดังกล่าว และจบเมื่อมี ส่วนใหม่
ภายในส่วนหนึ่งๆ จะมีไวยากรณ์ เป็นคำสำคัญ ที่เขียนในลักษณะ
key = value
โดยที่ key นั้น เป็นข้อกำหนดที่โปรแกรมได้กำหนดไว้แล้ว แต่ส่วน value นั้น เราในฐานะผู้ใช้ สามารถกำหนดเอาเองได้
บาง key อาจจะมี องค์ประกอบย่อยเสริม ก็ได้ เช่น Group ในส่วน global นั้น ก็พอจะเดาได้ว่า มันต้องเป็นชื่อ ที่ต้องตามคำ Group และ value นั้น มันก็ต้องกำหนดว่า เราจะเอา ส่วนไหน มาไว้ภายใต้ชื่อนี้ เช่น
Group น้ำท่วม = ปูมประจำวัน, งานเข้า
ก็บอกให้รู้ว่า เราเอา ส่วนปูมประจำวัน และ ส่วน งานเข้า มาไว้ภายใต้กลุ่มที่ชื่อ น้ำท่วม ดังนี้
นอกจากนี้แล้ว  ในแฟ้มนี้ ยังกำหนดให้มี comments ที่เริ่มต้นด้วย ;; ดังที่เห็นในส่วน global นั้น

โดยภาพรวม ส่วน หรือที่ใช้กันในคู่มือเขาว่า section ของแฟ้มนี้ มีดังนี้

[global]
....
[ปูมประจำวัน]
...
[งานเข้า]
...
[รายงาน]

ก่อนจากตอนนี้ ขออธิบาย ส่วน global แต่พอสังเขป ดังนี้
Max Content length = 125829120 ;; 128m
หมายถึงว่า สามารถเก็บข้อมูลได้ ทั้งสิ้น 128 MB
List Menu Commands = New, Find, Select, CSV Import, Help
หมายถึง บรรดาคำสั่ง ที่สามารถใช้ได้ ซึ่งใน ส่วน นี้ก็หมายถึงคำสั่งที่สามารถใช้ได้ทั้งหมด นั่นเอง เพราะเป็น ส่วน global
Date format = %a, %B %d, %Y
Time format = %a, %B %d, %Y %T
;; ปูมประจำวัน คือ คำขอ
Group น้ำท่วม = ปูมประจำวัน, งานเข้า
Group KPI = รายงาน

๒ บรรทัดแรก อธิบายตัวเองแล้ว ก็ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ตัวใหญ่ ตัวเล็ก ว่า แตกต่างกันตรงที่เป็น คำย่อ กับ คำเต็มๆ บรรทัดถัดมา เอามาให้ดูว่า comments นั้น สามารถมีได้ เขียนอธิบายรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม ที่อาจจะ ลืม เอาได้เมื่อผ่านเวลานานไป และ ๒ บรรทัดหลัง ก็บอกว่า เราจัดกลุ่ม ของ ส่วน ต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า น้ำท่วม และ KPI
Welcome Title = <p><b>ปูมบันทึกงาน</b></p>
อันนี้ ก็บอกตัวเองไว้ชัดเจนเช่นเดียวกันว่าเป็น title ที่ปรากฏใน browser เวลาทำงาน
charset = utf-8
บอกให้ทราบว่า เราต้องใช้ characters set นี้ เพราะไม้งั้น จะไม่สามารถแสดงผลภาษา non latin1 ได้
port = 8000
บอกให้ทราบว่า เราวิ่งที่ port หมายเลข 8000 นี้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ไปซ้ำกับ apache ที่เขาใช้ port 80 สำหรับงาน web servers ทั่วๆไป ในคู่มือ ที่เขาให้มา บอกเรื่องราวของการทำงานร่วมกันไว้อยู่บ้าง แต่ ใคร่ขอแนะให้ใช้ตามนี้ไปก่อน เพราะดูว่า เรียบ ง่าย (และโง่) ดี
Main Tab = บันทึกคำขอความช่วยเหลือ
ตรงนี้ จะมีผลให้ กลุ่ม ต่างๆที่เราจัดขึ้นมา สามารถมี tab คั่นได้   tab จะเรียง ตามลำดับที่เราจัดไว้ โดยเรื่องจาก Main Tab แล้วตามด้วย กลุ่ม ถัดๆมา จนครบทุก กลุ่ม และ ใน กลุ่ม ต่างๆนั้น ได้รวมเอา ส่วน ไหนไว้บ้าง ก็จะปรากฏ ในบรรทัดถัดมา ของหน้า browser เวลาเราเรียกมาทำงาน

ตัวอย่าง tab
ในรูปด้านซ้ายมือ มะไฟ เข้ามาด้วยการเลือก ปูมบันทึกประจำวัน ของกลุ่ม น้ำท่วม ดังนั้น จะเห็นว่า แถบนำทาง น้ำท่วม จะมีสีน้ำเงิน แสดงว่าถูกเลือกไว้ และ ข้างใต้แถบนำทางนี้ จะมี ส่วน ต่างๆ ที่อยู่ภายใน กลุ่ม น้ำท่วม นี้ปรากฏอยู่

และ สำหรับตัวนี้ เมื่อเราจะกลับมาที่หน้าหลัก หรือ ไปหน้าแรก มันก็จะลำบากเพียงกดไปที่ แถบ นี้ ที่วงสีแดงๆไว้ เท่านั้นเอง และ สุดท้าย
Page Title = Thailand 2011 flooding
บอกว่า ส่วนนี้ มีชื่อตามนี้น่ะ ที่บนแถบบนสุดของ browser เวลาทำงาน ชัดเจนดี ขอให้แยกให้ชัดเจน ระหว่างตัวนี้ กับ Welcome Title ให้ดี

No comments:


View My Stats