Monday, June 23, 2008

shell

ขอเอ่ยถึงเรื่องของ shell สักเล็กน้อย ไม่งั้นไม่ได้ชื่อว่าเล่น unix แลเมื่อเอ่ยถึง shell แล้วก็หนีไม่พ้น Bourne shell (sh)

sh เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารระบบ ในการจัดการงานต่างๆ แม้ว่าปัจจุบันนี้ จะมีเครื่องมือช่วย ในลักษณะของ graphics ให้มากมายก็ตาม แต่ในยามคับขัน ที่ต้องกู้ระบบแล้ว ความรู้พื้นฐานเหล่านี้ กลับช่วยชีวิตผู้คนไว้ได้มากกว่า

sh เป็นทั้ง command interpreter ที่ท่านต้องใช้ เมื่อท่านเข้าสู่ single user mode และ programming language ที่สามารถทำให้ท่านเขียน script สั้นๆเพื่อ แบ่งเบา งานซ้ำซากสำหรับท่านได้

ข้อเขียนวันนี้ ขอนำเสนอในแง่หลัง ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบกับเรื่องของ ports(1) ที่ได้เสนอไปก่อนหน้านี้

sh เป็นแฟ้มเอกสารพื้นๆ จึงสะดวกที่ท่านสามารถใช้ vi หรือ plain text editors ยอดนิยมของท่าน มาเตรียมขึ้นโดยง่าย ในการเขียน sh script นั้นมีหลักยึดง่ายๆเลย คือ ให้เขียนไปทีละบรรทัด ทดสอบไปทีละบรรทัด ก็ดูง่ายๆ ตรงไปตรงมาดี โดยเริ่มต้นที่

#!/bin/sh


ขอยกตัวอย่างง่ายๆอันเป็นที่นิยมยกมาคือ Hello, world ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วก็ไม่มีอะไร นอกจากสั่งให้ข้อความดังกล่าว ปรากฏที่หน้าจอ ฟังก์ชั่นนั้นคือ echo ก็ลองเรียก editor ยอดนิยมของท่านมา แล้วเตรียมเอกสารชื่อ myhello โดยมีรายละเอียดในแฟ้มนั้นดังนี้ ตามนี้เลยนะ, สีแดงๆ ไม่ต้องระบายให้หรอก

#!/bin/sh

echo Hello, world

เมื่อเสร็จแล้วให้สั่งต่อไปอีก ตามนี้นะ
# chmod +x myhello
พอเสร็จแล้วก็สั่งต่อไปซี น่านะ
# ./myhello
คงไม่ต้องบอกหรอกว่าผลลัพธ์คืออะไร

ความจริงแล้ว ฟังก์ชั่น echo นั้นไม่มีอะไรมากเลย เราเขียนอะไรตามหลังคำนั้น เขาก็เขียนอันนั้นออกมาที่ standard output แต่ก็ใช่ว่า อักขระ ทุกตัวจะสามารถแสดงออกมาได้ ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น หากเราต้องการ แสดงอักขระนั้นๆ ก็ย่อมทำได้ โดย ปิดคุณสมบัติ ของอักขระนั้นๆเสีย เราใช้ escape character ปิด คุณสมบัติพิเศษต่างๆ
ตัว escape character นั้นได้แก่ \
ค่อยๆเรียนรู้ไปทีละตัวว่า อะไรแสดงได้โดยตรง อะไรต้องการ escape character
ลองพิมพ์ข้อความต่อไปนี้บนหน้าจอของท่านดูซิ

# echo #\!/bin/sh
# echo set -x
# echo

คงคุ้นๆกันอยู่กระหมั่งหนา และโปรดสังเกตุด้วยว่า ! นั้นต้องใช้ escape character เข้ามาช่วย เพื่อให้แสดงผลเป็น ! จริงๆ เพราะความหมายแท้จริงของเขาใน shell นั้นคือ negate
ทีนี้ แทนที่เราจะให้แสดงผลที่หน้าจอ เราก็ให้เก็บไว้ในแฟ้มใดแฟ้มหนึ่ง โดยวิธีที่ง่ายๆ สำหรับแฟ้มเล็กๆ (หรือแม้กระทั่งแฟ้มใหญ่ๆ ก็ยังคงใช้วิธีนี้ได้เช่นกัน)

# echo #\!/bin/sh > pkgs
# echo set -x >> pkgs
# echo >> pkgs

หากท่านอยากทราบว่า ข้อความดังกล่าว จะมีอยู่ในแฟ้ม pkgs หรือไม่ ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่ง cat โดยมิถึงกับต้องเรียก editor แต่อย่างไรเลย

# cat  pkgs

อนึ่ง หากท่านต้องการให้แฟ้มนี้ สามารถ ทำงานได้ ท่านต้องกำหนด permission ให้เป็น +x ด้วยคำสั่ง chmod ดังนี้

# chmod   +x  pkgs

เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถสร้าง shell ขึ้นมาใช้งานได้ง่ายๆ
ทิ้งท้ายด้วยคำถามชวนคิด จากเอกสารเรื่อง ports(1) ขอถามว่าคำสั่ง find ... นั้น แท้จริงทำอะไร ใครตอบได้ถูกต้อง มีรางวัลให้ก็แล้วกัน

No comments:


View My Stats