เมื่อราวๆปี ๒๕๑๔ มะไฟ จากบ้านที่บ้านนอกเข้ามาเมืองกรุง เพื่อมาศึกษาต่อ ได้มาอาศัยกับญาติ ท่านทำงานกับฝรั่งที่เข้ามาทำงานในไทย
ข้อสังเกตุ ที่ได้พบเห็นขณะนั้นคือ ฝรั่งทุกฅน ที่มาทำงานต่างประเทศนั้น เขาไม่ได้มามือเปล่า เขามาพร้อบกับตำราเป็นตู้ๆ ส่วนหนึ่งของความรู้ที่ มะไฟ แอบเรียนรู้มาคือ ดนตรี หมากรุกฝรั่ง แคลคูลัส ซึ่งอันหลังนี้ เป็นการเพิ่มปีกให้กับ มะไฟ ที่มีพื้นความรู้เมื่อสมัยร่ำเรียนอยู่ในชั้น มัธยมศึกษาระดับ ๕ มาแล้ว และทำให้คะแนน หรือ เกรด ที่ทำในขณะที่ร่ำเรียนอยู่ในระดับ มหาวิทยาลัยปี ๑, ๒ นั้น ไม่มีต่ำกว่า A
ที่เอ่ยมา มิได้มีเจตนาที่จะยกตนให้เด่นให้ดังแม้แต่น้อย
ราวราวปี ค.ศ 1982 ได้ช่องไปฝึกอบรมที่ Karlsruhe, Deutschland ที่นั่น ได้รู้จักกับนักเรียนไทยหลายคน ได้รู้จักกับเพื่อนต่างชาติก็หลายคน แต่ละคนต่างมีความเหมือนกันอยู่คือ ก่อนจะทำงาน เขาจะค้นคว้าไล่ล่าหาความรู้เรื่องนั้นๆให้ได้มากที่สุด ซะก่อน
ที่เอ่ยมา มิได้มีเจตนาที่จะยกตนว่าเก่ง รู้มาก แม้แต่น้อย
ที่เล่ามา เพียงเพื่อจะถามว่า หน่วยงานใหม่ๆที่แยกตัวออกมาเป็น (องค์การมหาชน) นั้น ทำไมไม่ค้นคว้าหาความรู้ จากแหล่งความรู้เดิมที่มีอยู่ หรือ ไล่ล่าหาความรู้ จากแหล่งความรู้อื่นๆภายนอก มาให้ได้มากที่สุดให้ได้ซะก่อน แต่กลับมาจับ มารีด ความรู้เอาทีหลัง แล้วมาเรียกเสียหรูให้เข้ากับกระแสว่า Knowledge Management มั่งละ Knowledge Capture มั่งละ
มะไฟ ไม่เชื่อนักว่า การทำเคเอ็มโดยไม่มีพื้นฐาน หรือการละเลยความรู้เดิมที่มีอยู่ จะทำให้องค์กรดีขึ้น วิเศษได้ภายในพริบตา ตราบเท่าที่องค์กรนั้น ไม่มี Knowledge Engineer อยู่เลยแม้แต่ฅนหนึ่ง
มะไฟ มิได้ต่อต้านความรู้ใหม่ๆเลย การกระทำของ มะไฟ ยืนยันได้เป็นอย่างดี มะไฟ มิได้ดันทุรังว่าวิธีการเดิมๆ โบราณๆ จะดีกว่าของใหม่แต่อย่างไร การกระทำที่มีสติ ใช้ปัญญา ต่างหากที่ มะไฟ นิยมยกย่อง ชมชื่น
การรักษาความรู้ของแหล่งความรู้ที่ยังชีวิตนั้น ดี แต่บางลักษณะ ก็ไม่ต่างจากการจับตัวมารีดไถ หรือเรียกค่าไถ่นัก แม้จะเรียกว่า Knowledge Capture ก็เหอะ
และที่อยากเรียนถามต่ออีกหนึ่งคำถามคือ รายงานการประชุม ที่พอจะนับได้ว่า เป็นการบันทึกความรู้ที่ได้จากองค์ประชุมนั้น มีสักกี่ฅนที่อ่านกัน และทำไมถึงอ่าน หรือ ไม่อ่านกัน
Wednesday, August 20, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment