ลพ๐
e mail, e mail addres
วันนี้ ขออนุญาตเขียนเรื่องโบราณๆกันสักนิด เขียนเป็นวิทยาทานสำหรับญาติๆถิ่นเกิด ถิ่นที่อยู่อาศัย พอให้ไม่ได้อายใครเขาเมื่อพูดถึง อีเมล์
แต่ก่อนอื่น ขอเริ่มที่แป้นพิมพ์ที่เป็นตัวอักษรโรมันกัน
ตัวอักษรโรมันนั้นได้แก่ตัว A,B,C,...,Z,a,b,c,...,x,y,z,0,1,2,3,4,5,6,7,8,9 และอักขระพิเศษบางตัวเช่น @ _ . $ & * พวกนี
ปกติแป้นพิมพ์ภาษาพวกนี้จะเป็นตัวเขียนเล็ก เวลาที่ต้องใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ต้องกดปุ่ม shift หรือ ยกแคร่ขึ้นสำหรับเครื่องพิมพ์ดีด เวลาเขียนเขาก็นิยมใช้ตัวเขียนเล็ก (ต่อไปจะเรียกว่า ตัวเล็ก) ต่อเมื่อขึ้นประโยคใหม่ หรือเป็นคำเฉพาะ จึงจะใช้ตัวพิมพ์ใหญ (ต่อไปจะเรียกว่า ตัวใหญ่)่
ถ้าเคยเขียนเรียงความ จะเข้าใจว่า ต่อเมื่อขึ้นประโยคใหม่เท่านั้นถึงจะใข้ ตัวใหญ่ เพียง 1 ตัว แล้วก็เป็น ตัวเล็กหมดทุกตัว จนจบประโยคด้วย period (หรือ บางทีก็ออกเสียงว่า dot) ซึ่งก็คือ จุด .
ตัวหนังสือพวกนี้ จะพอมีที่ทำให้สับสนบ้างบางครั้ง ก็มี ตัว l กับ เลข 1 ตัว o กับ เลข 0 ตัว l กับ ต้ว I (ตัว i ใหญ่) ต้ว s กับ เลข 5 ซึ่งเราต้องแยกให้ออกให้ได้
ท่านต้องผ่านตรงนี้ไปให้ได้ก่อน
รูปแบบการเขียน e mail
e mail หรือ e mail address นั้น มีรูปแบบการเขียนง่ายๆ สามส่วน ที่เขียนติดกันไปโดยไม่มีช่องว่างคั่น ดังนี้
<ชื่อ>@<โดเมน>
โดยที่ <ชื่อ> และ <โดเมน> นั้น เวลาใช้งาน ไม่ต้องมีวงเล็บแหลมเปิดหัวปิดท้าย ทั้งสองส่วน มีกฏในการกำหนดไว้ คร่าวๆดังนี้
<ชื่อ> กำหนดว่าตัวแรก ต้องเป็นอักษรเท่านั้น ต้วถัดมาจะเป็นอะไรก็ได้ รวมทั้ง _ และ . (จุด) ยกเว้น ตัวว่าง (space) กับ ตัวแอ็ด (@) และอักขระพิเศษอืนอีกบางตัว ที่มีไม่ได้
ภาษาอังกฤษนั้น เขาเขียนเป็นคำๆไป แต่ละคำ แยก กัน ด้วย ช่อง ว่าง จบ ประ โยค ด้วย จุด. ผิดกับภาษาไทยที่เขียนติดกันเป็นพรืดไปไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนอะไร ดังนั้น ตัวว่าง หรือ space จึงไม่สามารถใช้กับ <ชื่อ> ได้
ส่วน ตัวแอ็ด นั้น ใช้เป็นตัวแยกระหว่าง <ชื่อ> และ <โดเมน> การใช้ ตัวแอ็ด ในส่วนของ <ชื่อ> จึงทำให้ e mail address นั้นผิดไป
<โดเมน> รูปแบบมีเพิ่มเติมมาจากส่วนของ <ชื่อ> ดังนี้
<โดเมน> = <ชื่อโดเมน>.{TLD}.
<ชื่อโดเมน> นั้น ใช้กฏเกณฑ์เดียวกับการกำหนด <ชื่อ> แต่ตรงส่วนนี้ หากเราใช้บริการฟรี เราไม่ต้องยุ่งยากในการสร้างขึ้นมา ให้ใช้ของผู้ให้บริการฟรีนั้นได้เลย
. จุดน้้น ต้องเขียนเป็น . จะเขียนอย่างอื่นไม่ได้
{TLD} นั้น คือ Top Level Domain name ที่เขากำหนดมาแล้ว เราไม่ต้องวุ่นวายสร้างขึ้นมาใหม่ ที่คุ้นๆตากันดี ก็มีเข่น
com
org
net
mil
สมัยใหม่ ตรงส่วนนี้มี country code เพิ่มมาอีก ซึ่งไม่จำเป็นต้องรับทราบในตอนแรกนี้
สำหรับ . (จุด) อันหลังสุดที่อยู่ถัดจาก {TLD} นั้น ไม่เติมลงไปให้เต็ม ก็ได้ และส่วนใหญ่ก็ไม่มีคนธรรมดาทั่วไปเขาเติมลงไป ในนี้เพียงแค่บอกไว้ให้ครบส่วนเท่านั้น
ตัวอย่าง
เพื่อให้เห็นภาพ ขอยกตัวอย่างมาพอเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ ขอเริ่มจากส่วนของ <โดเมน> ก่อน เพราะมันคงที่ ไม่ต้องแก้ไขอะไร
หากท่านใช้บริการของ hot mail ตรงนี้จะเป็น hotmail และส่วนของ {TLD} จะเป็น com ดังนั้น <โดเมน> จึงสามารถเขียนลงไปได้เป็น
hotmail.com. หรือ
hotmail.com
หากท่านใช้บริการของ yahoo mail ตรง <ชื่อโดเมน> ก็เป็น yahoo และเช่นเดียวกับผู้ให้บริการฟรีทั่วไปที่ {TLD} มักจะเป็น com อันหมายถึง commercial ดังน้้น <โดเมน> จึงสามารถเขียนลงไปได้เป็น
yahoo.com. หรือที่ใช้กันทั่วไปเป็น
yahoo.com
สำหรับผู้ให้บริการที่รู้จักกันแพร่หลายขณะนี้เช่น google mail นั้น ตรง <ชื่อโดเมน> เขาใช้ gmail ด้วยเหตุผลเดียวกับผู้ให้บริการฟรีทั่วไป <โดเมน> จึงเขียนเป็น
gmail.com. หรือ
gmail.com
ก่อนที่จะก้าวต่อไป ขอขมวดสิ่งที่ได้เขียนมาเอาไว้ พอให้ได้ ภาพ ของ e-mail address ตามตัวอย่างที่ได้ยกมาดังนี้
<ชื่อ>@hotmail.com
<ชื่อ>@yahoo.com
<ชื่อ>@gmail.com
<ชื่อ>
ต่อไปเรามาดูในส่วนของ <ชื่อ> ส่วนที่เราสามารถกำหนดเองได้ ผมขอยกตัวอย่างของผมเองมาให้ดูก็แล้วกัน
ตัวผมเอง นามสกุล ศรีโยธา สะกดเป็นตัวโรมันเป็น sriyotha ตอนตั้ง e-mail นั้น ผมใช้นามสกุลนี่แหละ แต่สลับเอาคำแรกไปไว้ท้ายสุด เป็น yothasri
ความที่เป็นแฟนหมากรุกฝรั่งชนิดเข้าเส้นเลือด คำ sri จึงแผลงเป็น ski ไปซะ ดังนั้นส่วนของ <ชื่อ> ขณะนี้จึงเป็น
yothaski
แล้วก็แปลงร่างต่อไป จาก yothaski เป็น jotahski (ในเยอรมัน ตัว yo เขาออกเสียงไม่ได้ หากต้องการให้ได้เสียง โย เขาแนะให้ใช้ตัว jo แทน) และเป็น jotawski ในที่สุด ดังนั้น e-mail address ของผม เมื่อใช้บริการของ google mail จึงเป็น
jotawski@gmail.com
และที่นับว่าโชคมหาศาลคือ ชื่อนี้ ไม่มีใครใข้มาก่อน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงเกิดประโยชน์กับผู้ที่ยังไม่ประสาอะไรกับเรื่องนี้ บ้าง ไม่มากก็น้อย หากมีอันใดขาดตกบกพร่องไป ผมขอน้อมรับไว้ด้วยความเต็มใจยิ่ง ส่วนคุณงามความดีผมขอยกให้กับคุณแม่คุณพ่อทุกท่าน ครูบาอุปัชฌาจารย์ทุกท่าน เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลายที่ทำให้มี jotawski@gmail.com ขึ้นมา และที่จะขาดไม่ได้คือ "พระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย"
ข้อเขียนนี้ เขียนขึ้นด้วย text editor ของ android nexus 7 และแท้บเล็ตนี้ก็ได้รับเป็นของขวัญเมื่อราวๆห้าปีที่แล้ว
เนื้อหาสาระนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ลพ๐
ขอมอบเป็นวิทยาทาน ให้กับเพื่อนบ้านทั่วไป ให้กับทุกๆท่าน
No comments:
Post a Comment