Wednesday, August 18, 2010

syslog: The system events logger

commands
ต่อจาก ตอนแรก ที่หนุดไว้ตรง แฟ้มเอกสาร ที่ควบคุมพฤติกรรมการทำงานของ syslogd ที่เปรียบเสมือนเอกสารกำกับยา ที่ทุกคนที่รับยา พึงอ่าน

ตอนนี้ ใคร่ขอนำเสนอให้ได้สาระของแฟ้มดังกล่าวนั้น เท่าที่กำลังสติ ปัญญา จะอำนวยให้ (ที่นี่ มี สองท่าน ชื่อ ปัญญา แต่ สติ เนี่ย ของใคร ก็ของคนนั้น เด้อ)


จากท้ายตอนที่แล้วที่พูดถึงรูปแบบของแฟ้ม /etc/syslog.conf ที่เป็นแฟ้มเอกสารพื้นๆ, plain text, โดยอยู่ในรูป
selector<Tab>action
นั้น ได้ย้ำว่า <Tab> นั้น คือปุ่ม Tab บนแป้นพิมพ์เท่านั้น จะเป็น space หรืออย่างอื่นไม่ได้โดยเด็ดขาด ก็ขอให้ระมัดระวังในประเด็นนี้ให้มากด้วย มัน ปจฺจตฺตํ วิญฺญูหิ น่ะ ให้ลองดูเอง โดยเฉพาะพวกที่นิยม cut & paste นั้นแหละ ปวดหัวตายเอาง่ายๆ เพราะ หาที่ผิดพลาดไม่เจอ

ตัว selector เองนั้นจะมีไวยากรณ์เป็น facility.level ตัวอย่างเช่น
mail.info                /var/log/maillog
จะมีผลให้ข่าวสารจากระบบอีเล็กทรอนิคส์เมล์ ส่งไปเก็บไว้ที่แฟ้ม /var/log/maillog

นั่นคือ selector โดยเนื้อแท้แล้วก็คือ โปรแกรม, facility, ที่ส่งข้อมูลข่าวสาร และ ระดับความรุนแรงของข้อมูลข่าวสาร, level, ในรูปดังกล่าวมาแล้ว ซึ่ง ทั้งคู่นี้, facility & level ต้องเป็นชื่อที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้นเอง จะเขียน หรือ ผลิตมาเอามิได้เลย แลพอแยก facility ออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
  • กุล่มของ kernel
  • กลุ่มของโปรแกรมอรรถประโยชน์ทั่วไป
  • กลุ่มของโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาสำหรับใช้งานประจำเครื่องนั้นๆ
  • กลุ่มอื่นๆนอกไปจากนี้แล้ว รวมๆเรียกว่า user
นอกจากนี้ selector ยังสามารถใช้อีก ๒ คำ คือ * และ none ที่หมายถึง ทุกอย่าง หรือ ไม่เลยสักอย่าง

facility สามารถมีได้หลายตัว แต่ละตัว แยกกันด้วย comma ขณะเดียวกัน selector เอง ก็สามารถมีได้หลายตัวด้วยเช่นกัน โดยแยกกันด้วย semi-colon

ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ล้วนแต่เอามา OR กันทั้งนั้น ข้อมูลข่าวสารใดใด ที่มี selector ตรง กับที่กำหนดไว้ ก็จะถูกนำไปยัง หรือ ส่งไปที่ action นั้นนั้น ตัวอย่างของ facility ก็ได้แก่
  • kern
  • mail
  • daemon
  • auth
  • cron
  • mark
  • fpt
และตัวอย่างของ severity levels ก็ได้แก่
  • emerg
  • alert
  • crit
  • err
  • warning
  • notice
  • info
  • debug
ความหมายของแต่ละคำ ใคร่ขอรบกวนให้ท่านไปศึกษาเอาเองจากระบบของท่าน ยกตัวอย่างเช่น mark นั้น เขาเอาไว้สำหรับบันทึกวันเดือนปีเวลา ที่ช่วงระยะใดๆที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอันนี้ มีประโยชน์มาก เพราะอย่างน้อยก็ทราบว่า ปัญหาเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด มันแคบลงมามาก ซึ่งยังดีกว่าที่จะรู้ว่า มันเกิดขึ้นเมื่อคืนนี้ หากเราสามารถกำหนดได้ว่า เมื่อคืนนี้ ที่เกิดเรื่อง อยู่ระหว่างชั่วโมงไหน ดั่งนี้ เป็นต้น

ตำราเขาเล่าเรื่องขำขำแบบฝรั่งเอาไว้ว่า หลาย sites ทีเดียว ที่เกิดปัญหาลึกลับ เพราะเครืองมันดับเอากลางดึก ทุกคืน ต่อเมื่อสืบทราบความจริงจึงทราบว่า เป็นเพราะแม่บ้านทำความสะอาด เธอนำเครื่องดูดฝุ่นมาเสียบเข้ากับเต้าเสียบไฟฟ้า ที่ใช้ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ ผลน่ะหรือ ไฟฟ้าก็กระเพื่อมน่ะซี แล้วอีทีนี้ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์พ่วงอื่นๆ ก็พลอยดับ หรือ ล่ม ไป ก็เท่านั้นเอง, (อยู่ในหน้า ๒๐๙ เล่มแดง)

2 comments:

dekdar said...

ขอบคุณมากครับ ได้รู้ คำว่า LOG มากกว่า พรบ.เสียอีก

อิอิ(แอบกัดเค้าจนได้)

มะขาม said...

น้าาน ยางง้าน
อิอิ
ว่าแต่ ลงล้อครึยังล่ะ
ฮาาาาาาาา


View My Stats