Monday, February 9, 2009

การจัดการกากกัมมันตรังสี (๒)


พี่ ผมพาไป เออ มา ม้ะ เราไปด้วยกัน
มา...ม้ะ มาต่อกันไปอีก
หลังจากออกนอกทางไปเรื่องพื้นๆของการกำกับควบคุม ซะพักหนึ่ง
กำกับ ที่ไม่ได้กิน เพราะมัวแต่ควบคุม



จากจุดเริ่มต้นนั้น บวกกับที่ นโยบายเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ ของประเทศ ยังไม่ชัดเจน หากมีความคิด ที่จะมี นโยบายการจัดการกากกัมมันตรังสี ขึ้นมา มันก็เป็นเรื่องที่ เรียกได้ว่า laugh of the town ได้ดีทีเดียว ดีขนาดว่า ขำกลิ้ง ท้องคัดท้องแข็ง ตาเหลือก กรามค้าง น้ำลายฟูมปาก ก็แล้วกัน

อย่าทำเป็นดูหมิ่นดูแคลนไปเชียวนา จับตาดูกันให้ดีก็แล้วกัน เพราะมันเป็นทางเดียวที่จะไปได้ ปัดเอากฏกระทรวงมาเป็นงาน ก็ทำมาแล้ว แต่ทว่าเส้นทางนี้ ตันแล้ว

จะเอาดีทางด้านก่อสร้างรึ คงยาก เพราะลำพัง บริหารโครงการง่ายๆ ยังล้มเหลวไม่เป็นท่า หากถ้าสำเร็จ คงไม่มาทนนั่งอยู่ บางเขน ถึงทุกวันนี้ หรอกน่า

ส่วนที่ว่า จะซื้อ เทคโนโลยี รึ ในยามเช่นนี้ จะเอาตังมาจ่ายเป็น ค่าเงินเดือน ยังแทบย่ำแย่ นอกจากนี้ ที่ว่าจะซื้อน่ะ เข้าใจถ่องแท้รึเปล่า ของที่จะซื้อมานั่นหนะ ดังนั้น อย่าละเลยเส้นทางอื่น ซึ่งก็คือ นี่แหละ ที่ว่าขำกลิ้ง ขำกลิ้งนี่แหละ อาจจะ ขำไม่ออก ก็ว่าได้

สู่จุดหมาย
เอาล่ะ เข้าประเด็น

ในเรื่องของ การจัดการ กากกัมมันตรังสี แล้ว เขามี objective อยู่ สั้นๆแต่ได้ใจความมาก ดังนี้ และเพื่อไม่ให้เสียอรรถรส ของเนื้อความเดิม จะไม่ขอแปลออกมา เป็น ภาษาไทย เป็นอันขาด

The objective of radioactive waste management is to deal with radioactive waste in a manner that protects human health and the environment now and in the future without imposing undue burdens on future generations

ตัดมาจาก safety series no. 111-F: the principles of radioactive wastes management ซึ่งถือเอาว่าเป็น safety fundamental ในการปฏิบัติงานกับ กากกัมมันตรังสี และ จาก objective เดียวอันนี้ ยังแยกออกมาได้ เป็น fundamental principles of radioactive wastes management ได้ ๙ ข้อ ซึ่งขอนำมาเสนอจำเพาะแต่ หัวข้อเท่านั้น รายละเอียด คงต้องรบกวนให้ ท่านผู้ที่สนใจไปหาอ่านเอาเอง

fundamental principles of radioactive wastes management ทั้ง ๙ ข้อ มีดังนี้

  1. Protection of human health

  2. Protection of the environment

  3. Protection beyond national borders

  4. Protection of future generations

  5. Burdens on future generations

  6. National legal framework

  7. Control of radioactive waste generation

  8. Radioactive waste generation and management
    interdependencies

  9. Safety of facilities

ซึ่งทั้ง ๙ ข้อ ขอขมวดลงมาเหลือ ๕ ประเด็นหลัก คือ เรื่องของ คน เรื่องของ สิ่งแวดล้อม เรื่องของ กฏหมาย เรื่องของ การจัดการ และ เรื่องของตัว facilites เอง
กากใหญ่ๆ

ซึ่งอันหลังสุดนี้ เกิดมีมาได้เพราะ ประเด็นมวลชน ล้วนๆเลย แต่ถ้าจะว่าไปแล้ว ก็อาจจะพูดได้ว่า หากว่า facilites เองยังดูโกโรโกโส จะพังมิพังแหล่ ชาวบ้านเขาคงไม่เชื่อหรอกน่ะ ว่า เรา (กองขจัดกากฯ (เดิม) หรือ ศูนย์จัดการกากฯ ในปัจจุบัน) จะจัดการให้ปลอดภัยได้

ในเรื่องของ คน กับ สิ่งแวดล้อม มันอธิบายตัวเองอยู่แล้ว ก็ผ่านไป แต่ในเรื่องของกฏหมายนั้น นอกจาก กรอบโครงสร้าง ขององค์กรแล้ว ยังเกี่ยวพันถึงเรื่อง การจำแนกประเภท การให้นิยาม ของ กากกัมมันตรังสี และ สาระอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย

สำหรับการจัดการนั้น เขาก็มี basic steps in radioactive waste management ให้ กล่าวคือ ถ้าดำเนินไปตามนั้น ซึ่งก็พื้นฐานสุดๆแล้ว รับประกันว่า ปลอดภัยแน่นอน อนึ่ง steps ที่ว่านี้แหละ ก็คือคำเดียวกันใน fundamental principle ข้อ ๘ นั่นเอง ที่ใช้ในคำ interdependencies among all steps นี่แหละ

basic steps นั้นประกอบด้วย pretreatment, treatment, conditioning และ disposal

การจัดการกากฯนั้น เริ่มจากพิมพ์เขียวความคิด ไปจนถึงกระทั่ง เปิดใช้สถานที่ทิ้งกากฯ เพื่อ สาธารณะประโยชน์ อีกครั้งหนึ่ง ในภายภาคหน้า ในอีก หลายร้อยปีให้หลัง ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่า จุดมุ่งหมายปลายทางของ การจัดการกากฯ นั้น อยู่ที่ disposal นั่นเอง
อีกนิด นิดหนึ่ง นิดเดียวเองน่า
คอยพบกันให้ได้น่ะ

3 comments:

dekdar said...

การกำจัดกากกัมมันตรังสี มีอยู่หลายๆวิธี แต่ผมว่า
ที่นิยมสำหรับผู้มีอันจะอำนาจนั้นคือ ไปคนอื่นรับผิดชอบ
นั้นแหละ โดยเฉพาะคนใหญ่คนโต ในโลกนี้ อ้างสารพัด
ปัญหา วิธีการ ให้ได้การมา แล้วเราได้คนตัวเล็กจะคิดเป็น
อย่างเขาไหมหนอ..

มะขาม said...

มันเป็นเรื่องที่ คนส่วนใหญ่ต้องจำยอมครับ
ปัญหาทางวิชาการ ที่ต้องแก้ด้วย การตัดสินใจทางการเมืองเท่านั้น จำเพาะเรื่องกากฯน่ะครับ

แต่ถ้าจะว่าไปแล้ว หากไม่มองว่ามันเป็นกากรังสี เรื่องกาก มันเกี่ยวข้องกันทุกฝ่ายครับ

ขอบคุณมาก

มะขาม said...

อืมมม
เพิ่งเห็นน่ะเนี่ย ว่า หัวข้อ เขียนผิดไปจังๆ
ที่ถูกน่ะ

การจัดการกากกัมมันตรังสี(๒)

แหมแหม มันน่าเข็กกะบาลจริงๆ อย่างนี้แหละครับ เขียนเอง ตรวจเอง ยังไงก็หาที่ผิดยาก ต้องผ่านไปนานหน่อย ถึงหาเจอ

ขอโทษครับ
และ ขอบคุณ ท่านผู้ที่ search มาหาหัวข้อนี้ ที่ทำให้ มะขาม พบที่ผิดพลาด ขอบคุณมาก


View My Stats